Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30673
Title: การลดเวลาในการปรับตั้งลูกอัดสำหรับการผลิตไม้ฝาสังเคราะห์
Other Titles: Time reduction for forming roll set up in artificial wood plank manufacturing
Authors: โกสินทร์ เจริญวรเกียรติ
Advisors: จิตรา รู้กิจการพานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Jittra.R@Chula.ac.th, fieckp@eng.chula.ac.th
Subjects: วิศวกรรมการผลิต
การควบคุมกระบวนการผลิต
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและลดเวลาการปรับตั้งลูกอัดสำหรับการเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ในการผลิตไม้ฝาสังเคราะห์ โดยปัญหาดังกล่าวเกิดจากการมีขั้นตอนการทำงานที่เกินความจำเป็นหรือไร้ประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้เสียเวลาและเกิดความสูญเสียของทรัพยากรขึ้น ทั้งนี้งานวิจัยนี้ได้ใช้ความรู้ในด้านการศึกษาเวลา การศึกษาวิธีการทำงาน และการวิเคราะห์ด้วยวิธีผังก้างปลา ซึ่งจะทำให้ทราบถึงสาเหตุในการปรับตั้งลูกอัดที่ใช้เวลาเกินความจำเป็นและไร้ประสิทธิภาพ จากนั้นจึงนำเทคนิคการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรสำหรับการปรับตั้งเครื่องจักรหรือ SMED (Single Minute Exchange of Die) มาประยุกต์ใช้เพื่อออกแบบและปรับปรุงกระบวนการปรับตั้งลูกอัดเพื่อลดเวลาในการปรับตั้งลูกอัด ในการดำเนินการได้ทำการคัดแยกกิจกรรมภายในเป็นกิจกรรมภายนอก ทำให้ลดเวลาลงได้ 54 นาที และทำการปรับปรุงโดยแบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอน ซึ่งเป็นการปรับปรุงกิจกรรมภายใน 5 ขั้นตอนและกิจกรรมภายนอก 1 ขั้นตอน ดังนี้ (1) กำจัดกิจกรรมการปรับตั้งที่เกินความจำเป็นทำให้ลดเวลาลงได้ 20 นาที (2) ปรับปรุงกระบวนการจัดเตรียมการปรับตั้งเป็นกิจกรรมภายนอกทำให้ลดเวลาลงได้ 13 นาที (3) ปรับปรุงกระบวนการปรับตั้งเป็นกิจกรรมภายนอกทำให้ลดเวลาลงได้ 7 นาที (4) ปรับปรุงกระบวนการทดสอบเป็นกิจกรรมภายนอกทำให้ลดเวลาลงได้ 8 นาที (5) ปรับปรุงกระบวนการปรับตั้งภายในทั้งหมดทำให้ลดเวลาลงได้ 33 นาที (6) ปรับปรุงกระบวนการปรับตั้งภายนอกทั้งหมดทำให้ลดเวลาลงได้ 20 นาที โดยไม่นับรวมกับการปรับตั้งภายใน หลังปรับปรุงทำให้ลดเวลาในการปรับตั้ง 135 นาที ซึ่งผลที่ได้ภายหลังการปรับปรุงในเครื่องจักร 6 เครื่องที่ศึกษา พบว่าสามารถลดเวลาในการปรับตั้งลูกอัดลงจาก 300.40 นาที เป็น 165.20 นาที ต่อการปรับตั้งลูกอัดต่อครั้ง คิดเป็นเวลาที่ลดลงร้อยละ 45.01
Other Abstract: The objective of this research is to reduce the time of forming roll set up process in the artificial wood plank manufacturing . This process consumes much time more than other processes because of its unnecessary or inefficient steps leading to time and resource losses. The search for this cause of unnecessary or inefficient time in the set up process is based on the knowledge of time study , working process study and fishbone graph after that improvement this process with adaptive technique called “ SMED (Single Minute Exchange of Die) ’’ . In process is change internal activity to external activity leading to reduce 54 minutes and improvement process can be classified in 6 steps . Improve internal activity 5 steps and improve external activity 1 step .(1) Unnecessary set up activities are eliminated leading to reduce 20 minutes. (2) Improve preparation activity to external activity leading to reduce 13 minutes. (3) Improve set up activity to external activity leading to reduce 7 minutes. (4) Improve adjustment activity to external activity leading to reduce 8 minutes. (5) Improve overall internal set up activity leading to reduce 33 minutes. (6) Improve overall external set up activity leading to reduce 20 minutes by not include internal set up time . After improvement the set up time has reduced 135 minutes . Finally of 6 machines in this research , the set up time has reduced from 300.40 minutes to 165.20 minutes per time or about 45.01% .
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30673
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.239
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.239
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kosin_ch.pdf3.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.