Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30715
Title: | การวิเคราะห์คุณภาพงานวิจัยเพื่อเลื่อนวิทยฐานะของครูระดับชำนาญการพิเศษ |
Other Titles: | An analysis of the quality of teacher research for academic rank promotion of senior professional teachers |
Authors: | ปัทมา จันทร์แก้ว |
Advisors: | วรรณี แกมเกตุ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Wannee.K@Chula.ac.th |
Subjects: | การศึกษา -- วิจัย ครู -- การเลื่อนขั้น ครู -- ผลงานวิจัย การประเมินผลงาน |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะงานวิจัยของครูที่ผ่านและไม่ผ่านเกณฑ์ การเลื่อนวิทยฐานะระดับชำนาญการพิเศษ 2) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพงานวิจัยของครูที่ผ่านและไม่ผ่านเกณฑ์การเลื่อนวิทยฐานะระดับชำนาญการ และ 3) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพงานวิจัยของครูกับการผ่านเกณฑ์การเลื่อนวิทยฐานะระดับชำนาญการพิเศษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ รายงานวิจัยของครูที่ใช้เป็นผลงานทางวิชาการเพื่อเลื่อนวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ จำนวน 120 เล่ม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกคุณลักษณะงานวิจัย และแบบประเมินคุณภาพงานวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ความถี่ ร้อยละ สถิติทดสอบที สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล การวิเคราะห์ตารางไขว้ และการทดสอบไค-สแควร์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คุณลักษณะงานวิจัยของครูที่ผ่านเกณฑ์การเลื่อนวิทยฐานะระดับชำนาญการพิเศษในด้านภูมิหลังของครู ส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยของครูเพศหญิง และมีวุฒิการศึกษาสูงสุดระดับปริญญาโท ในด้านเนื้อหาสาระของงานวิจัย ส่วนใหญ่ทำการศึกษาในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1, 3, 4 และ 5 มีประเด็น/เป้าหมายการทำวิจัยเกี่ยวกับการอ่าน และการฟัง ในด้านวิธีวิทยาการวิจัย ส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยที่มีสมมติฐานแบบมีทิศทาง เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง นวัตกรรมเป็นคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ตาราง สำหรับคุณลักษณะงานวิจัยของครูที่ไม่ผ่านเกณฑ์การเลื่อนวิทยฐานะระดับชำนาญการพิเศษในด้านภูมิหลังของครู ส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยของครูเพศชาย และมีวุฒิการศึกษาสูงสุดระดับปริญญาตรี ในด้านเนื้อหาสาระของงานวิจัยส่วนใหญ่ทำการศึกษาในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพละศึกษา ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในด้านวิธีวิทยาการวิจัย ส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยที่ไม่มีสมมติฐาน ศึกษาจากกลุ่มประชากร นวัตกรรมเป็นเอกสารประกอบการสอนและแบบฝึกทักษะ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสังเกต 2. คุณภาพงานวิจัยของครูที่ผ่านเกณฑ์การเลื่อนวิทยฐานะระดับชำนาญการพิเศษสูงกว่างานวิจัยของครูที่ไม่ผ่านเกณฑ์การเลื่อนวิทยฐานะระดับชำนาญการพิเศษอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งคุณภาพงานวิจัยในภาพรวม คุณภาพงานวิจัยด้านความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ด้านการปริทัศน์เอกสารและการกำหนดกรอบแนวคิด ด้านวิธีการดำเนินการวิจัย ด้านการสรุปอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ และด้านการนำเสนอรายงาน 3. คุณภาพงานวิจัยของครูมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการผ่านเกณฑ์การเลื่อนวิทยฐานะระดับชำนาญการพิเศษอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ 0.98 |
Other Abstract: | The purposes of this research were 1) to analyze research characteristics of teacher research for rank promotion of teacher senior professional 2) to compare quality of teacher research for rank promotion of teacher senior professional and 3) to analyze correlation between research quality and criterion of rank promotion of teacher senior professional. The 120 teacher research studies for rank promotion of teacher senior professional were subjects of this study. The research instruments were the research characteristics coding form and the research quality evaluative form. The data were analyzed by using frequency, percentage, t-test, point biserial correlation coefficient, cross tabulation analyses and chi-square tests. The results of the study were as follows : 1. The research studies that passed criteria of rank promotion of teacher senior professional in teacher background were mostly conducted by the female teachers who earned a master’s degree. In terms of the content, most of the studies were from the fields of mathematics and arts, at the Prathomsuksa 1, 3, 4 and 5, there studies focused on reading and listening. In terms of research methodology, most of the hypotheses were direction, at employing purposive sampling, and innovations in computer assisted instruction, the research instruments were questionnaires, and the findings were presented in tables. The teacher research studies that did not pass criteria of rank promotion of teacher senior professional in teacher background were mostly conducted by male teachers who earned a bachelor’s degree. In terms of the content, most of the studies were from the fields of thai languages and physical education, at the Prathomsuksa 6. In terms of research methodology, most of the hypotheses were not direction, at employing study population, and innovations in instructional materials and exercises, research instrument used was observation. 2. Quality of teacher research studies which passed criterion rank promotion of teacher senior professional classified by research quality overall, statement of the problem, review of related literature and conceptual framework, research method, conclusions discussion and recommendation and research presentaion had higher quality than the teacher research studies which did not pass criterion rank promotion of teacher senior professional at .05 level of statistical significance. 3. Quality of teacher research and criterion of rank promotion of teacher senior professional were positively correlated at .05 level of statistical significance. The correlation coefficient were 0.98. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30715 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1221 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.1221 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
pathama_ch.pdf | 2.18 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.