Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30738
Title: อนาคตภาพรูปแบบสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์เชิงบวกสำหรับชุมชน
Other Titles: The scenario of a learning society model toward a positive paradigm shift for communities
Authors: สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล
Advisors: อาชัญญา รัตนอุบล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Archanya.R@Chula.ac.th
Subjects: การเรียนรู้ -- แง่สังคม
เศรษฐกิจฐานความรู้
นโยบายกำลังคน
ชุมชน
กระบวนทัศน์ (ทฤษฎีความรู้)
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยเรื่อง อนาคตภาพรูปแบบสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์เชิงบวกสำหรับชุมชน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาอนาคตใช้เทคนิคการวิจัยแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์และสังเคราะห์หลักการ แนวคิดเกี่ยวกับสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์เชิงบวกสำหรับชุมชนจากเอกสารงานวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ ระหว่างปี พ.ศ. 2540 ถึง พ.ศ. 2554 2) ศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการพัฒนาอนาคตภาพสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์เชิงบวกสำหรับชุมชน จำนวน 32 คน และการศึกษาภาคสนาม 5 กรณีศึกษาที่ดี 3) พัฒนาอนาคตภาพรูปแบบสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์เชิงบวกสำหรับชุมชน และ 4) นำเสนออนาคตภาพรูปแบบสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์เชิงบวกสำหรับชุมชน โดยการสนทนากลุ่มเพื่อพิจารณาและประเมินผลการวิจัยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 20 คน ซึ่งแบ่งได้เป็นสองกลุ่ม คือ การสนทนากลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องในระดับนโยบาย จำนวน 10 คน และผู้ที่เกี่ยวข้องในระดับปฏิบัติการ จำนวน 10 คน รวมกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ทั้งสิ้น 52 คน ผลการวิจัย พบว่าอนาคตภาพรูปแบบสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์เชิงบวกสำหรับชุมชนประกอบด้วย เนื้อหาหลักสำหรับการพัฒนา 5 ประการ ได้แก่ 1) องค์ประกอบสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์เชิงบวกสำหรับชุมชน 2) หลักการสำคัญสำหรับการพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ฯ 3) กระบวนการในการพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ฯ 4) ยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ฯ และ 5) ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ซึ่งแต่ละองค์ประกอบมีรายละเอียดเนื้อหาย่อยสำหรับการนำไปปฏิบัติจริง รูปแบบสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์เชิงบวกสำหรับชุมชนเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติโดยชุมชน อย่างอิสระ มีความเป็นพลวัตและพัฒนาอย่างต่อเนื่องอย่างไม่มีที่สิ้นสุด มีการเรียนรู้ตลอดชีวิตและวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นหัวใจที่สำคัญ ซึ่งชุมชนสามารถเลือกใช้องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะบริบทและภูมิสังคมที่แตกต่างกัน อนาคตภาพรูปแบบสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์เชิงบวกสำหรับชุมชนจะไปส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ในระดับบุคคล กลุ่มบุคคล ชุมชนและเครือข่ายสังคมอย่างมีคุณค่า ให้สามารถเข้าถึงความจริง ความดี ความงามที่มีอยู่ ยกระดับเสรีภาพและอิสรภาพทางการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ เกิดการเปลี่ยนแปลงภายใน วิธีคิด ความเชื่อ ระบบคุณค่า และการเรียนรู้ที่ทำให้เกิดสุขภาวะทางจิตวิญญาณนำไปสู่การแก้ปัญหาและสนองความต้องการโดยรวมอย่างสมดุล ยั่งยืนและมีความสุข อันเป็นกลไกการขับเคลื่อนชุมชนไปสู่วิถีการพัฒนาที่ถูกต้องเพื่อประโยชน์สุขร่วมกันอย่างแท้จริง
Other Abstract: The research on “the scenario of a learning society model toward a positive paradigm shift for communities” is a prospective qualitative research where the EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) technique is used. The research aims to: 1) analyze and synthesize learning society model that promotes a positive paradigm shift for communities from both local and global literatures, academic articles and research studies from 1997 to 2011; 2) explore the experts’ perspectives on the development of a learning society toward a positive paradigm shift for communities from the in-depth interviews with thirty-two experts and the study visits of five best practices; 3) develop a learning society model toward a positive paradigm shift for communities; and 4) propose the scenario of a learning society model toward promoting a positive paradigm shift for communities. The group discussions, held to review and evaluate the research results, were joined by twenty experts. There were two focus group discussions, one for the ten experts at the policy levels and another one for the ten experts at the operational levels. The research included the total samples of fifty-two persons. The learning society model toward promoting a positive paradigm shift for communities consists of five main components: 1) the components of a learning society toward a positive paradigm shift for communities, 2) the principles for development of a learning society toward a positive paradigm shift for communities, 3) the development processes of a learning society toward a positive paradigm shift for communities, 4) the strategies for the development of a learning society toward a positive paradigm shift for communities, and 5) key success factors. All components comprise details that can really be put into practice. The learning society model that promotes a positive paradigm shift for communities should be freely implemented, in natural ways, by the communities. The model should ideally be dynamic and developed on a continuous basis. The lifelong learning and the knowledge sharing culture are among essential elements of the learning society model. The communities may appropriately apply the knowledge gained from this research in accordance with their contexts and social conditions. The scenario of a learning society model toward a positive paradigm shift for communities will help enhance learning processes among individuals, groups of individuals and social networks in valuable ways. The model will also lead all parties to reach the existing truth, virtue and goodness. It can also raise the people’s ability to freely learn in creative ways. Further, the model will eventually cause the ways of thinking, beliefs, social value and learning to be changed in positive ways. Then, the people will live in good and positive frame of mind that should enable them to overcome any problems and meet overall needs in balanced, sustainable and happy ways. With positive paradigm shifts, the communities will see the right way of development encouraging the community members to live in harmony. Finally, the scenario of a learning society model toward promoting a positive paradigm shift for communities as the guideline for action ensures the enhancement of the quality of life of the individual and moves the communities and societies toward the sound equilibrium, fairness and sustainability.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การศึกษานอกระบบโรงเรียน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30738
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1235
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1235
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
suwithida_ch.pdf7.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.