Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30890
Title: การรับการกลมกลืนฐานกรณ์เสียงพยัญชนะท้ายนาสิกตามเสียงที่ตามมาในภาษาญี่ปุ่นของผู้เรียนคนไทย : การศึกษาตามแนวทฤษฎีอุตมผล
Other Titles: Acquisition of Japanese nasal place assimilation by Thai learners : an optimality theoretical account
Authors: ธนศักดิ์ ศิริคะเณรัตน์
Advisors: พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Pittayawat.P@Chula.ac.th
Subjects: การรับภาษา
ทฤษฎีอุตมผล (ภาษาศาสตร์)
ภาษาญี่ปุ่น -- การออกเสียง
ภาษาญี่ปุ่น -- การกลมกลืน
ภาษาระหว่างกลาง
Language acquisition
Optimality theory (Linguistics)
Japanese language -- Pronunciation
Japanese language -- Assimilation
Interlanguage ‪(Language learning)‬
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาการรับการกลมกลืนเสียงพยัญชนะท้ายนาสิกตามเสียงที่ตามมาในภาษาญี่ปุ่นของผู้เรียนคนไทยโดยใช้ทฤษฎีอุตมผล (Optimality theory) เป็นกรอบในการวิเคราะห์ข้อมูลการออกเสียงจากการทดลอง โดยมีสมมติฐานว่า พฤติกรรมการออกเสียงของผู้เรียนคนไทยจะแตกต่างกันไปตามแต่ละช่วงของพัฒนาการทางระบบเสียง และความแตกต่างดังกล่าวเกิดจากการเรียงลำดับข้อบังคับ (constraint ranking) ที่แตกต่างกัน ผลจากการวิเคราะห์พบว่า การออกเสียงของผู้เข้าร่วมการทดลองสามารถจัดกลุ่มได้เป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่หนึ่ง ออกเสียง /N/ เป็นเสียง [n] ทุกคำ กลุ่มที่สอง ออกเสียง /N/ เป็นเสียง [n] หรือ [ŋ] เท่านั้น และกลุ่มที่สาม ออกเสียง /N/ เป็นทั้ง 3 เสียง ได้แก่เสียง [m], [n] และ [ŋ] ผลจากการทดลองพบว่า ไม่มีผู้เข้าร่วมการทดลองคนใดเลยที่ออกเสียง /N/ เป็นเสียง [m] เมื่อมีเสียงปุ่มเหงือกหรือเสียงเพดานอ่อนตามมา จากการวิเคราะห์การเรียงลำดับข้อบังคับพบว่า มีเพียงกลุ่มที่สามเท่านั้นที่มีการกลมกลืนเสียง ในขณะที่การออกเสียงของผู้เข้าร่วมการทดลองในกลุ่มที่หนึ่ง เกิดจากการเรียงลำดับข้อบังคับแบบภาษาไทย คือให้ความสำคัญข้อบังคับความเหมือน (faithfulness constraint) มากที่สุด และการออกเสียงของผู้เข้าร่วมการทดลองในกลุ่มที่สอง เกิดจากการเรียงลำดับข้อบังคับลักษณะแปลกเด่น (markedness constraint) ของฐานกรณ์ที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ จากการวิเคราะห์การเรียงลำดับข้อบังคับ ยังทำให้สามารถสรุปพัฒนาการของการรับการกลมกลืนเสียงของผู้เข้าร่วมการทดลองในแต่ละกลุ่มได้ว่า กลุ่มที่หนึ่งอยู่ในช่วงแรกของพัฒนาการ กลุ่มที่สองอยู่ในช่วงกลางของพัฒนาการ และกลุ่มที่สามเป็นกลุ่มที่มีพัฒนาการมากที่สุด พฤติกรรมการออกเสียงของผู้เรียนคนไทยแตกต่างกันไปตามพัฒนาการการรับระบบเสียงในแต่ละช่วง และความแตกต่างดังกล่าวเกิดจากการเรียงลำดับข้อบังคับที่ต่างกันดังที่ตั้งสมมติฐานไว้
Other Abstract: To study the acquisition of Japanese nasal place assimilation by Thai learners within optimality-theoretical framework using experimental data. It is hypothesized that outputs produced by participants vary according to the constraints ranking in each developmental stage. Results show that participants can be divided into 3 groups according to their outputs. First, a group which produces only [n]. Second, a group which produces only [n] and [ŋ]. The last group, produces all sounds, including [m], [n] and [ŋ]. However, no participants in this research produce /N/ as [m] when followed by alveolar and velar sounds. The analysis also reveals only the third shows assimilation. Outputs of participants in the first group and the second groups show effects of faithfulness constraints and markedness constraints respectively. Moreover, constraint ranking in each group suggests that the participants in the first group represent the initial stage of development, the second group the intermediate stage, and the third group the most developed stage. This research thus supports the hypothesis that outputs produced by participants vary according to different constraints ranking in each stage of development.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30890
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1412
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1412
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thanasak_si.pdf2.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.