Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30949
Title: การใช้สื่อวิทยุกระจายเสียงในการแก้ไขความขัดแย้ง ศึกษาเฉพาะกรณีการแก้ไขความขัดแย้งเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ ในจังหวัดกาญจนบุรี ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
Other Titles: The utility of radio for conflict resolution : A case study of conflict resolution on hydro power plant development in Kanchanaburi of the Electricity Generating Authority of Thailand
Authors: ธาตรี ริ้วเจริญ
Advisors: ศิริชัย ศิริกายะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัยในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เพื่อทราบถึงลักษณะและวิธีการใช้สื่อวิทยุกระจายเสียงในการแก้ไขความขัดแย้ง และความสัมพันธ์ของผลการใช้สื่อวิทยุกับผลของการใช้สื่อต่างๆ ในการแก้ไขความขัดแย้ง ซึ่งสื่อที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขความขัดแย้งในกรณีนี้ประกอบด้วย การใช้สื่อหนังสือพิมพ์ การใช้ข่าวแจกสื่อมวลชน การใช้จดหมายชี้แจงสื่อมวลชน การใช้เอกสารเผยแพร่ การใช้สื่อวิทยุกระจายเสียง การใช้สื่อบุคคล และตัวแปรที่เกี่ยวข้องอื่นๆ คือ พฤติกรรมของผู้ได้รับผลกระทบจากความเสียหาย พฤติกรรมของฝ่ายคัดค้าน การดำเนินการของรัฐบาล และผลของการแก้ไขความขัดแย้ง รวมทั้งสิ้น 10 ตัวแปร โดยใช้วิธีการศึกษา 2 วิธี คือ การวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งได้ศึกษาจากข้อมูลเอกสาร รายงานต่างๆ อย่างละเอียดเกี่ยวกับกรณีความขัดแย้งที่เกิดขึ้นและการใช้สื่อเพื่อการแก้ไขความขัดแย้ง ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลการใช้สื่อในการแก้ไขความขัดแย้ง และพฤติกรรมของผู้ได้รับผลกระทบจากความเสียหาย พฤติกรรมของฝ่ายคัดค้าน การดำเนินการของรัฐบาล ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย เทคนิค Path Analysis โดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นเพื่ออธิบายถึงผลของการใช้สื่อต่างๆ ที่มีผลต่อการแก้ไขความขัดแย้ง นอกจากนี้ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ยังได้เสนอแผนการใช้สื่อวิทยุเพื่อการแก้ไขความขัดแย้งสำหรับโครงการพัฒนาแหล่งผลิตไฟฟ้าพลังน้ำในอนาคตอีกด้วย ซึ่งแผนดังกล่าวเป็นแผนระยะ 5 ปี (2528-2532) จากการวิเคราะห์ข้อมูลการใช้สื่อวิทยุเพื่อการแก้ไขความขัดแย้งการพัฒนาแหล่งผลิตไฟฟ้าพลังน้ำในจังหวัดกาญจนบุรี สรุปได้ดังนี้ 1. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยใช้สื่อวิทยุในการแก้ไขความขัดแย้ง โดยดำเนินใน 2 แนวทางคือ จัดทำรายการวิทยุของตัวเองในชื่อรายการว่า "ไฟฟ้าปริทรรศน์" ออกอากาศเป็นประจำทุกสัปดาห์ในจังหวัดต่างๆ จำนวน 34 สถานี ความยาวครั้งละ 30 นาที ส่วนอีกแนวทางหนึ่งคือ จัดทำข่าววิทยุส่งให้แก่สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ เพื่อออกอากาศในรายการภาคข่าวซึ่งถ่ายทอดไปยังสถานีวิทยุกระจายเสียงในประเทศไทยทุกสถานี 2. ลักษณะเนื้อหาของข่าวสารที่นำเสนอในรายการวิทยุจำแนกได้ 2 ลักษณะคือ เป็นการมุ่งผลที่จะแก้ไขความขัดแย้งโดยตรงด้วยการเสนอข้อเท็จจริงเพื่อแก้ความเข้าใจผิดจากการที่ประชาชนได้รับข่าวสารจากฝ่ายคัดค้า อีกลักษณะหนึ่งเป็นการให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องความสำคัญและความจำเป็นที่ต้องพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการผลิตไฟฟ้า เพื่อสร้างหลักความคิดที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องเขื่อนให้แก่ประชาชน 3. การใช้สื่อวิทยุเพื่อการแก้ไขความขัดแย้ง ใช้ในลักษณะช่วยเสริมการใช้สื่ออื่นๆ ทั้งนี้เพราะสื่อวิทยุมีประสิทธิผลในแง่การสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นต่อผู้ฟังมากกว่าการที่จะเปลี่ยนความคิดของคน ดังนั้นการแก้ไขความขัดแย้งนี้จึงเป็นลักษณะของการเลือกใช้สื่อต่างๆ ประสานกันอย่างมีระบบตามคุณสมบัติและขีดความสามารถของสื่อประเภทต่างๆ 4. จากการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า สื่อที่มีผลต่อการแก้ไขความขัดแย้งมากที่สุดคือ สื่อบุคคล รองลงมาคือสื่อวิทยุกระจายเสียงและการใช้ข่าวแจกสื่อมวลชนตามลำดับ ส่วนตัวแปรที่มีผลต่อการแก้ไขความขัดแย้งน้อยที่สุด คือ พฤติกรรมของผู้ได้รับผลกระทบจากความเสียหาย และพฤติกรรมของฝ่ายคัดค้านตามลำดับ 5. ผลที่มีต่อกันและกันของการใช้สื่อต่างๆ ในการแก้ไขความขัดแย้งพบว่า การใช้สื่อบุคคลมีผลต่อพฤติกรรมของผู้ได้รับผลกระทบจากความเสียหายมากที่สุด รองลงไปคือ ผลของพฤติกรรมของผู้ได้รับผลกระทบจากความเสียหายที่มีต่อพฤติกรรมของฝ่ายคัดค้าน อันดับที่สามคือ ผลของการใช้ข่าวแจกสื่อมวลชนที่มีต่อการนำไปใช้ในการผลิตรายการวิทยุกระจายเสีย 6. ในการใช้ข่าวแจกสื่อมวลชนและจดหมายชี้แจงสื่อมวลชนพบว่า มีผลกับการเสนอข่าวของหนังสือพิมพ์โดยที่การใช้ข่าวแจกสื่อมวลชนมีผลมากกว่า ทั้งนี้เนื่องจากปริมาณการใช้ข่าวแจกสื่อมวลชนมีมากกว่าการใช้จดหมายชี้แจงสื่อมวลชน ส่วนการใช้เอกสารเผยแพร่พบว่าไม่มีผลต่อการเกิดความเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของฝ่ายคัดค้าน แต่พบว่ามีผลต่อการดำเนินการต่างๆ ของรัฐบาลซึ่งรัฐบาลใช้เป็นข้อมูลสำคัญในการศึกษารายละเอียดเพื่อการพิจารณา 7. อัตราส่วนที่ตัวแปรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขความขัดแย้งสามารถอธิบายถึงผลของการแก้ไขความขัดแย้งได้มีค่าเท่ากับ .513 ในการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้น สำหรับแผนการใช้สื่อวิทยุเพื่อการแก้ไขความขัดแย้งที่เสนอในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นแผนระยะ 5 ปี ตั้งแต่ปี 2528-2532 โดยมีสาระสำคัญของแผน คือ ให้เพิ่มเครือข่ายรายการไฟฟ้าปริทรรศน์ในต่างจังหวัด 9 สถานี เพื่อให้รายการสามารถเข้าถึงผู้ฟังได้ร้อยละ 65 ของผู้ฟังทั้งประเทศ โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายคือประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ มีโครงการที่จะดำเนินการในอนาคตและบริเวณใกล้เคียง และตามแผนยังกำหนดให้มีเครือข่ายรายการในกรุงเทพมหานคร 1 สถานี โดยมีกลุ่มเป้าหมายต่อกลุ่มนักวิชาการ นักศึกษา และสื่อมวลชน กำหนดให้เสนอเนื้อหาของรายการ 2 ลักษณะคือ เป็นการรายงานข่าวความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์ต่างๆ และอักแบบหนึ่งเป็นการจูงใจด้วยการใช้รูปแบบของรายการที่ดึงดูดความสนใจของผู้ฟัง พร้อมทั้งกำหนดให้มีการประเมินผลการดำเนินงานทุกสิ้นปีเพื่อนำผลไปปรับแผนในปีต่อๆ ไป
Other Abstract: The main objective of this research is to study the format and strategy of radio utility for conflict resolution and the correlation between radio and other media. There are 10 variables in order to explain the result of this thesis that include the utility of newspaper, press release, newsletter, booklet, radio, interpersonal communication, behavior of the effect group and of the opponent. The research design is both qualitative and quantitative types. In the quantitative research, data analysis is done by using Path analysis technique to analyse correlative regression of each variable. For the qualitative study, the researcher has collected documents and reports that concerned the conflict resolution. Besides, in this research, radio utility plan is proposed for conflict resolution in hydro power plant development project of The Electricity Generating Authority of Thailand in the future. Data analysis of radio utility for conflict resolution in hydro power plant development of EGAT in Kanchanaburi province can be summarized as follows: 1. The radio medium has been used by EGAT for conflict resolution in two ways: firstly, to produce its own weekly 30 minute radio program for nationwide broadcasting through Radio Thailand, secondly, to distribute press release to Radio Thailand for broadcasting in its news program. 2. The content of the radio program can be divided into two types: firstly, information and facts from EGAT so as to correct the public misunderstanding, secondly, the importance and necessity to develop water resource for power generating, in other words, to help create the right concept of building dams. 3. Apart from other media, radio is served as supporting medium since it is the most effective means of giving information to the public rather than changing their ideas. Therefore, conflict resolution is done by systematically selecting various kinds of media according to their characteristics and potentials. 4. Interpersonal communication is more effective in conflict resolution than radio and press release, respectively. The variables which have the least correlation with conflict resolution are correlation with the effect group and with the opponent respectively. 5. Regarding causal relation of variables, it was found that interpersonal communication is most effective to the behavior of the effect group. 6. The utility of press release is more effective to newspaper than newsletter. The utility of booklet is not effective to the behavior of the opponent but effective to the performance of the government. 7. The ratio of correlation variables that can describe conflict resolution is moderate, i.e. 0.513 of regression analysis. As for the utility of radio for conflict resolution plan shown in the end of this thesis, the duration is 5 years (1985-1989) by adding more network of radio program to reach the target audien up to 65 percent. This target group lives in the area where EGAT will implement its operating in the future as well as in the densely populated area. The plan also aims at such target audience as academicians, student, and mass media by adding one more radio worker in Bangkok. The content of the program is presented into 2 forms: in an informative from such as news presentation, and in an emotive form that attracts the audience. The plan evaluation is also carried out annually so as to improve the following plan.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประชาสัมพันธ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30949
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tatree_ri_front.pdf5.71 MBAdobe PDFView/Open
Tatree_ri_ch1.pdf10.06 MBAdobe PDFView/Open
Tatree_ri_ch2.pdf17.03 MBAdobe PDFView/Open
Tatree_ri_ch3.pdf9.04 MBAdobe PDFView/Open
Tatree_ri_ch4.pdf14.92 MBAdobe PDFView/Open
Tatree_ri_ch5.pdf6.3 MBAdobe PDFView/Open
Tatree_ri_ch6.pdf8.4 MBAdobe PDFView/Open
Tatree_ri_ch7.pdf1.86 MBAdobe PDFView/Open
Tatree_ri_back.pdf1.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.