Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30978
Title: ปัญหาพฤติกรรมการออกเสียงเลือกตั้งในระบบการเมืองไทย : ศึกษา เฉพาะกรณีการเลือกตั้งทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2531
Other Titles: Problems of voting behavior in Thai politics : a case study of the geneal election in Bangkok Metropolis of July 24, 1988
Authors: ปิยะพันธ์ ปิงเมือง
Advisors: ปรีชา หงษ์ไกรเลิศ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: กรุงเทพมหานคร แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 24 เขต และแบ่งเขตเลือกตั้งเป็น 13 เขตเลือกตั้ง มีหน่วยเลือกตั้ง 2,926 หน่วย ในการเลือกตั้ง 24 กรกฎาคม 2531 ในเขตกรุงเทพมหานครมีประชาชนไปใช้สิทธิเลือกตั้งร้อยละ 37.50 มีผู้สมัครเข้ารับเลือกตั้ง 380 คน ชาย 293 คน หญิง 87 คน จาก 17 พรรคการเมือง มีผู้แทนราษฎรได้ 37 คน ชาย 34 คน หญิง 3 คน ประชาชนกรุงเทพมหานครเขตรอบนอก ไปใช้สิทธิเลือกตั้งมากกว่ากรุงเทพมหานครเขตรอบใน ประชาชนในเขตเลือกตั้งที่ 11 เขตภาษีเจริญ เขตบางกอกใหญ่ เขตหนองแขม ไปใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุดร้อยละ 44.32% เขตเลือกตั้งที่ 1 เขตดุสิต (ไม่รวมแขวงสี่แยกมหานาคและแขวงสวนจิตรลดา) ไปใช้สิทธิเลือกตั้งน้อยที่สุด ร้อยละ 31.52% เขตกรุงเทพมหานครรอบในมีแบบแผนนิยมเลือกพรรคและพิจารณาตัวบุคคลไปด้วยพร้อมๆ กัน จึงทำให้มีพรรคอื่นๆ เข้าผสมแทนที่จะเป็นพรรคใดพรรคหนึ่ง ส่วนกรุงเทพมหานครรอบนอกพิจารณา พรรคเป็นหลักสำคัญ ผู้สมัครจะได้เข้ามาในลักษณะยกทีม อย่างไรก็ตามในจำนวนสมาชิกสภาผู้แทน 37 คนนี้ พรรคประชากรไทยได้รับเลือกตั้ง 20 คน พรรคพลังธรรม ซึ่งเป็นพรรคเกิดใหม่ได้รับเลือกตั้ง 10 คน พรรคประชาธิปัตย์ได้รับเลือกตั้ง 5 คน พรรคกิจสังคมได้รับเลือกตั้ง 1 คน พรรคมวลชนได้รับเลือกตั้ง 1 คน ปัญหาในด้านกฎหมายของพฤติกรรมการออกเสียงเลือกตั้งกฎหมายเลือกตั้งมาตรา 32-34 ควรแก้ไขโดยเร่งด่วน โดยเฉพาะข้อกำหนดที่ให้ผู้สมัครใช้วงเงิน 350,000 บาท เป็นการกำหนดที่สวนกับความเป็นจริง สมควรแก้ไขโดยเร่งด่วน และบทลงโทษของผู้กระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งควรจะรุนแรงขึ้น สำหรับปัญหาการดำเนินงานนั้นการแบ่งเขตเลือกตั้งยังสับสนและมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยจนเกินไป การกระทำความผิดของประชาชนที่พบมากในวันเลือกตั้ง นั้นคือการขาย จำหน่าย จ่ายแจก เลี้ยงสุราในเวลาที่ต้องห้าม การประชาสัมพันธ์นั้นมีการรณรงค์เฉพาะบางเขต บางเขตก็มีการประชาสัมพันธ์น้อยควรระดมการประชาสัมพันธ์ให้ทั่วทุกเขต เพื่อกระตุ้นเตือนให้ประชาชนชาวกรุงเทพมหานครออกมาใช้สิทธิมากขึ้น
Other Abstract: In General Election in Bangkok Metropolis on July 24, 1988, there were 13 constituencies and 2,926 balloting booths in 24 districts. There were 380 candidates, which included 293 men and 87 women from 17 political parties. The result was that 37 representatives, were clected which included 34 men and 3 women, on 37.50 per cent. The finding of this study is that the voters in the outer Bangkok Metropolis participated their right more than those in the inner areas. As for in particular the constituency 11 comprising Pasicharoen, Bangkok Yai and Nong Khaem, it was the most turnout of 44.32 per cent, compared with the least turnout of 31.52 percent in the constituency 1 covering Dusit (excluding Si Yak Mahanak and Suan Chitraladda). The voters in the inner Bangkok regarded the parties and the candidates equally in there decision making criteria for choesing their candidates. While the outer Bangkok voters tended to consider only the parties more than the individual candidates. However, among 37 representatives, there were 20 from Prachakorn Thai Party, 10 from the debut Palang Dharma Party, and 5 from the democratic Party, while there were 2 candidates form other parties, one from Social Action Party and the other from Muan Chon Party. With reference to the problem of the Election Law, it was found out that the sections of 32-34 should be immediately revised. This is due to the fact that of funding of the election campaign within 350,000 baht was impractical to the actual expenditure. Moreover, the law should also revised to give heavier be penalty for those who break the election law. There also was a problem concerning the constituency arrangement which was too often changed and confused. It was also found out that the most violation against the law was that on the election day, there the restriction for was the sale and distribution of alcoholic drink during the curfew. As for public relations, there was insufficient publice relations programmes for all districts; some districts had done good public relations programmes while some other districts had little said programmes then should be a comprehensive campaigning programmes for all districts in ordes to encourage more eligible voters in Bangkok to exercise their rights.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30978
ISBN: 9745768111
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyapan_pi_front.pdf818.64 kBAdobe PDFView/Open
Piyapan_pi_ch1.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open
Piyapan_pi_ch2.pdf3.97 MBAdobe PDFView/Open
Piyapan_pi_ch3.pdf3.94 MBAdobe PDFView/Open
Piyapan_pi_ch4.pdf3.65 MBAdobe PDFView/Open
Piyapan_pi_ch5.pdf1.62 MBAdobe PDFView/Open
Piyapan_pi_back.pdf3.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.