Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31034
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวีระพงษ์ บุญโญภาส-
dc.contributor.authorอัญชลี ฉายสุวรรณ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2013-05-17T06:15:07Z-
dc.date.available2013-05-17T06:15:07Z-
dc.date.issued2534-
dc.identifier.isbn9745786748-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31034-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534en
dc.description.abstractเมื่อมีอาชญากรรมเกิดขึ้น เหยี่ออาชญากรรมหรือผู้เสียหายในคดีอาญา ย่อมตกเป็นผู้ได้รับผลร้ายจากการกระทำนั้น และบุคคลเหล่านั้นย่อมมีสิทธิตามกฎหมายในอันที่จะได้รับการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นจากผู้กระทำความผิด แต่โดยที่ฐานะทางเศรษบกิจของผู้กระทำความผิดโดยทั่ว ๆ ไปไม่เอื้ออำนวยต่อการชำระหนี้ค่าสินไหมทดแทน รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีข้อบกพร่องอยู่มากมาย อันทำให้การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวไปไม่อาจกระทำได้สมดังเจตนารมณ์ของกฎหมาย ความเสียหายที่เหยื่ออาชญากรรมหรือผู้เสียหายได้รับนั้น สมควรที่จะมีการเยียวยาแก้ไขให้ได้มากที่สุด แต่ด้วยเหตุผลในเรื่องอุปสรรคและปัญหาของการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนของผู้กระทำความผิดดังกล่าว ภาระหน้าที่ในการเยียวยานี้จึงควรตกอยู่กับรัฐ โดยการที่รัฐรับเป็นผู้จ่ายค่าทดแทน (Compensation) ให้แก่เหยื่ออาชญากรรมหรือผู้เสียหายแทนผู้กระทำความผิด นอกเหนือไปจากการลงโทษทางอาญาแก่ผู้กระทำความผิด ซึ่งหลักการจ่ายค่าทดแทนให้แก่เหยื่ออาชญากรรมหรือผู้เสียหายโดยรัฐ ดังกล่าวนี้อยู่บนพื้นฐานของหลักการ 3 ประการ คือ 1. รัฐปฏิบัติหน้าที่ในการป้องกันมิให้เกิดอาชญากรรมขึ้นในสังคมบกพร่อง 2. ผู้ที่ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมเป็นบุคคลที่ได้รับผลร้ายแทนสมาชิกอื่นในสังคม สังคมจึงต้องมีส่วนช่วยเหลือบุคคลนั้น 3. เป็นการขยายบริการทางด้านสวัสดิการสังคม วิทยานิพนธ์นี้จึงมุ่งศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการนำเอาระบบการจ่ายค่าทดแทนให้แก่เหยื่ออาชญากรรมหรือผู้เสียหายโดยรัฐนี้มาใช้ในประเทศไทย ทั้งนี้เพื่อให้เหยื่ออาชญากรรมหรือผู้เสียหายได้รับการเยียวยาแก้ไขความเสียหายที่เขาได้รับให้ได้มากที่สุด และเพื่อให้ประเทศไทยอยู่ในฐานะเช่นรัฐ สวัสดิการ (State Welfare) ต่อไปในอนาคต ทั้งนี้ โดยในการวิจัยนี้ได้เสนอให้มีการนำเอาระบบการจ่ายค่าทดแทนดังกล่าวมาใช้ในประเทศไทยในฐานะเป็นสวัสดิการสังคมของรัฐ รวมทั้งการแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในเรื่องการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาเพื่อเป็นมาตรการเสริมให้แก่เหยื่ออาชญากรรมหรือผู้เสียหายในการเรียกให้ผู้กระทำความผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ตน ตลอดจนข้อเสนอแนะในทางอาชญาวิทยา และสังคมเพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ในด้านศาสตร์ว่าด้วยเหยื่ออาชญากรรม (Victimology) ให้แก่ประชาชนทราบไปพร้อม ๆ กันอีกด้วย-
dc.description.abstractalternativeWhere a crime is committed, the victim of that crime is certainly the one who actually suffers. Although, in law, the victims of crime may be entitled for restitutions from the offenders, the latter, in reality, normally have no financial mean to pay. Furthermore, there are still some faults in the Criminal Procedure Code B.E. 2477 which make it difficult for the victims to claim for the damages. In order to overcome the unpleasant problem, it is suggested that besides the duty to punish the offenders, the state should have the obligation to compensate the victims in this respect. This idea derives from three main concepts. Firstly, the state has the duty to prevent crime. Secondly, the victims of crime are just the unfortunate persons who have to experience the losses which can happen to anyone else. Therefore, the society as a whole should help the victims as well. Thirdly, every state should expand its welfare service which should include setting up a compensation scheme. It is the aim of this thesis to study on the possibility of the introduction of the state compensation scheme as a part of the welfare service in Thailand so as to ensure that the victims will recover as much as possible. The thesis does recommend the criminal procedure law reform in respect of the legal process in filing any civil cases in connection with criminal cases in order to assist the victims. Furthermore, the research also recommends criminology and sociology recommendations in order to explains the main concept of the Victimology to the public.-
dc.format.extent1008273 bytes-
dc.format.extent498165 bytes-
dc.format.extent5692614 bytes-
dc.format.extent2965191 bytes-
dc.format.extent3536578 bytes-
dc.format.extent1902906 bytes-
dc.format.extent1116616 bytes-
dc.format.extent2911561 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการทดแทนค่าเสียหายแก่ผู้เสียหายในคดีอาญาหรือเหยื่ออาชญากรรมโดยรัฐen
dc.title.alternativeCompensation to victims of crimeen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Aunchalee_ch_front.pdf984.64 kBAdobe PDFView/Open
Aunchalee_ch_ch0.pdf486.49 kBAdobe PDFView/Open
Aunchalee_ch_ch1.pdf5.56 MBAdobe PDFView/Open
Aunchalee_ch_ch2.pdf2.9 MBAdobe PDFView/Open
Aunchalee_ch_ch3.pdf3.45 MBAdobe PDFView/Open
Aunchalee_ch_ch4.pdf1.86 MBAdobe PDFView/Open
Aunchalee_ch_ch5.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open
Aunchalee_ch_back.pdf2.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.