Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31114
Title: หลักความระมัดระวังของกรรมการบริษัท
Other Titles: Duty of care of company directors
Authors: พิพัฒน์ วุฒิชัยสารานนท์
Advisors: พิเศษ เสตเสถียร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพิจารณาถึงกฎหมายเกี่ยวกับหลักความระมัดระวังของกรรมการบริษัทในกฎหมายไทยว่า ควรจะแปลความหรือตีความกฎหมายอย่างใดให้เกิดความเป็นรูปธรรมแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า ปัจจุบันยังไม่ปรากฎความชัดเจนในการแปลความหรือตีความกฎหมายไทยตามหลักความระมัดระวังของกรรมการบริษัท ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาในการปรับใช้กฎหมายให้ถูกต้องเหมาะสมกับคดีที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และจากการศึกษาหลักการและเหตุผลตลอดจนแนวทางตามกฎหมายต่างประเทศเปรียบเทียบกับกฎหมายไทย เพื่อแก้ไขสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นหรืออาจจะเกิดขึ้นในประเทศไทย ผู้วิจัยพบว่า ควรจะได้แปลความหรือตีความหลักกฎหมายในเรื่องนี้ว่า กรรมการควรจะทำการจัดการบริหารบริษัทด้วยความระมัดระวังในระดับที่บุคคลค้าขายพึงกระทำ สำหรับกรรมการที่มิได้เป็นผู้ทำหน้าที่จัดการบริหารในแต่ละวันเป็นประจำก็ยังคงต้องมีหน้าที่ให้ความเอาใจใส่ในการจัดการบริหารไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการตามสมควร หรือการให้ความเอาใจใส่ต่อการทำหน้าที่ของกรรมการที่จัดการบริหารในแต่ละวันเป็นประจำ นอกจากนั้นกรรมการควรมีสิทธิมอบความไว้วางใจแก่ผู้อื่นเพื่อช่วยจัดการบริหาร ซึ่งบุคคลนั้นอาจได้แก่ พนักงาน ผู้เชี่ยวชาญ หรือคณะอนุกรรมการ เป็นต้น แต่บุคคลเหล่านั้นจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมให้มอบความไว้วางใจเช่นนั้น และในท้ายที่สุดควรจะได้มีการขยายการปรับใช้บทกฎหมายในเรื่องหน้าที่ตามหลักความระมัดระวังให้คลุมถึงพนักงานระดับผู้บริหารซึ่งเป็นบุคคลที่มีบทบาทหน้าที่ในการจัดการบริหารอย่างแท้จริงด้วย
Other Abstract: The purpose of this research is to explore the principle concerning the duty of care of corporate directors under Thai laws on how it should be conceretely construed or applied to all the person involved. The result of this research reveals that there is no clear construction in Thai law which is applicable to the corporate directors on their duty of care. Lack of such construction may cause problem in applying the law to the case to be occurred in the future. In a comparative study with foreign laws, the researcher found that it is advisable to regard that the directors should manage the company's business with the care of a prudent businessman. For the non-executive directors who are not involved with the company's day-to-day business, they still have the duty to participate in the company's management including attending the board of directors meeting and overseeing with the executive directors's performance. Moreover, the directors should be entitled to delegate their duties to other persons to assist them such as the employees, outside experts, or sub-committees provided that these persons must be qualified for such delegate works. In conclusion, it is recommendable that the legal principle of the duty of care should also apply to the company's officers as well.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31114
ISBN: 9746341049
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pipat_wo_front.pdf906.53 kBAdobe PDFView/Open
Pipat_wo_ch1.pdf760.43 kBAdobe PDFView/Open
Pipat_wo_ch2.pdf3.7 MBAdobe PDFView/Open
Pipat_wo_ch3.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
Pipat_wo_ch4.pdf3.14 MBAdobe PDFView/Open
Pipat_wo_ch5.pdf954.56 kBAdobe PDFView/Open
Pipat_wo_back.pdf763.12 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.