Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31135
Title: พัฒนาการของการอนุรักษ์จำนวน การเพิ่ม และการลดจำนวนของเด็กไทยวัยก่อนเรียน ที่เป็นลูกพ่อค้าและไม่ใช่ลูกพ่อค้า ในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Development in number conservation addition and subtraction in Thai preschool children of merchants and non-merchants in Bangkok metropolis
Authors: อมรรัตน์ สุทธิพินิจธรรม
Advisors: ชุมพร ยงกิตติกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพัฒนาการด้านการอนุรักษ์จำนวนการเพิ่ม และการลดจำนวนของเด็กไทยวัยก่อนเรียนที่เป็นลูกพ่อค้า และไม่ใช่ลูกพ่อค้า ในเขตกรุงเทพมหานคร (2) เปรียบเทียบความสามารถด้านการอนุรักษ์จำนวน การเพิ่มและการลดจำนวนระหว่างเด็กไทยวัยก่อนเรียนที่เป็นลูกพ่อค้าและไม่ใช่ลูกพ่อค้า ในเขตกรุงเทพมหานคร (3) ศึกษาการตัดสิน การอนุรักษ์จำนวน การเพิ่ม และการลดจำนวน และแนวทางการให้เหตุผลของเด็กไทยวัยก่อนเรียนที่เป็นลูกพ่อค้าและไม่ใช่ลูกพ่อค้า กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักเรียนอนุบาลมาสินี และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนไตรรัตน์ศึกษา รวมเป็น 160 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 ประเภท คือ นักเรียน ลูกพ่อค้า และไม่ใช่ลูกพ่อค้า โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มตามระดับอายุ 3, 4, 5 และ 6 ปี กลุ่มละ 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลใช้วิธีการของพีอาเจท์โดยทดสอบทีละคน ผลการวิจัยพบว่า 1. พัฒนาการความสามารถด้านการอนุรักษ์จำนวนของเด็กไทยวัยก่อนเรียนที่เป็นลูกพ่อค้าและไม่ใช่ลูกพ่อค้า ในเขตกรุงเทพมหานครมีพัฒนาการเพิ่มขึ้นตามระดับอายุ 2. พัฒนาการความสามารถด้านการเพิ่ม และการลดจำนวน ของเด็กไทยวัยก่อนเรียนที่เป็นลูกพ่อค้าและไม่ใช่ลูกพ่อค้า ในเขตกรุงเทพมหานคร เพิ่มขึ้นตามระดับอายุ 3. พัฒนาการด้านการอนุรักษ์จำนวน การเพิ่มและการลดจำนวนระหว่างเด็กไทยวัยก่อนเรียนที่เป็นลูกพ่อค้าและไม่ใช่ลูกพ่อค้า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ผลการเปรียบเทียบการอนุรักษ์จำนวน การเพิ่มและการลดจำนวนของเด็กไทยวัยก่อนเรียนในระดับอายุต่าง ๆ ในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า เด็กอายุ 3 ขวบ และ 4 ขวบมีความสามารถด้านการอนุรักษ์จำนวนไม่แตกต่างกัน แต่มีความแตกต่างกับเด็กอายุ 6 ขวบ และเด็กอายุ 5 ขวบ มีความสามารถด้านการอนุรักษ์จำนวนไม่แตกต่างกับเด็กอายุ 3 ขวบ 4 ขวบ และ 6 ขวบ เด็กอายุ 3 ขวบมีความสามารถด้านการเพิ่มจำนวน และการลดจำนวน แตกต่างกับเด็กอายุ 4 ขวบ 5 ขวบ และ 6 ขวบ เด็กอายุ 4 ขวบ และ 5 ขวบ มีความสามารถไม่แตกต่างกันแต่เด็กอายุ 4 ขวบ มีความสามารถด้านการเพิ่มและลดจำนวนต่ำกว่าเด็กอายุ 6 ขวบ 5. การตัดสินการเพิ่มและการลดจำนวนของเด็กไทยวัยก่อนเรียนที่เป็นลูกพ่อค้าและไม่ใช่ลูกพ่อค้า ใช้ความยาวเป็นเครื่องช่วยในการตัดสินจำนวนมากกว่าใช้ความทึบแน่น
Other Abstract: The purposes of this study were (1) to investigate the development of Number Conservation, Addition and Subtraction in Preschool Children of Merchants and Non-Merchants in Bangkok Metropolis (2) to Compare the development of Number Conservation, Addition and Subtraction between Preschool Children of Merchants and Non-Merchants in Bangkok Metropolis (3) to investigate the reasoning pattern judging Number Conservation, Addition and Subtraction used by Preschool children of Merchants and Non-Merchants. A total of 160 preschool children of Merchants and Non-Merchants in Bangkok Metropolis comprised the sample of this study. The sample was drawn from a list of children, whose age were 3, 4, 5 and 6 years, enrolled in Malini Nursery School and Trirat school. There were 20 boys and 20 girls in each age group. The instruments used for collecting data were Piaget’s measures of number conservation. The children were tested individually. The main findings of this study were as follows : 1. The Development of Number Conservation in Preschool children of Merchants and Non-Merchants in Bangkok Metropolis increased with age. 2. The Development of Addition and Subtraction in Preschool children of Merchants and Non-Merchants in Bangkok Metropolis increased with age. 3. The Development of Number Conservation, Addition and Subtraction of Preschool Children of Merchants and Non-Merchants in Bangkok Metropolis at all age levels did not differ at the .01 level. 4. The result of Number Conservation showed that there was no difference between 3 and 4 year old children in Bangkok Metropolis but they were the different from the 6 year old children. The ability of 5 year old children was not different from the 3-4 and 6 year old children. The 3 year old children were found to have abilities in Addition and Subtraction that was different from the 4-5 and 6 year old children. There was no difference between 4 and 5 year old children but the 4 year old children had lesser ability than the 6 year old children. 5. Preschool children of Merchants and Non-Merchants used length more often than density in judging the Addition and the Subtraction.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31135
ISBN: 9745640034
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Amornrat_su_front.pdf6.23 MBAdobe PDFView/Open
Amornrat_su_ch1.pdf5.04 MBAdobe PDFView/Open
Amornrat_su_ch2.pdf20.8 MBAdobe PDFView/Open
Amornrat_su_ch3.pdf5.3 MBAdobe PDFView/Open
Amornrat_su_ch4.pdf9.38 MBAdobe PDFView/Open
Amornrat_su_ch5.pdf3.77 MBAdobe PDFView/Open
Amornrat_su_ch6.pdf2.52 MBAdobe PDFView/Open
Amornrat_su_back.pdf8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.