Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31168
Title: การปรับปรุงระบบการจัดการพื้นที่ผลิต กรณีศึกษา โรงงานรีดพลาสติก พีวีซี
Other Titles: Improvement of shop floor management system: a case study of a PVC sheet calendering factory
Authors: บัญชา ธาราสายทอง
Advisors: ปารเมศ ชุติมา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Parames.C@chula.ac.th
Subjects: การควบคุมการผลิต
การกำหนดงานการผลิต
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงระบบการบริหารและควบคุมกิจกรรมบนพื้นที่ผลิตของโรงงานกรณีศึกษา ผู้ผลิตพีวีซีจากการรีด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานผลิตให้กับโรงงานกรณีศึกษา ซึ่งประสบปัญหาการส่งมอบงานล่าช้าในอัตราที่สูงและความสามารถในการผลิตต่ำ โดยแบ่งการดำเนินกิจกรรมออกเป็นกิจกรรมการจัดตารางการผลิต (Scheduling) การปล่อยงานเข้าสู่พื้นที่ผลิต (Dispatching) การเคลื่อนย้ายงานระหว่างหน่วยผลิต (Move between cells) การติดตามการผลิต (Monitoring) และการควบคุมการผลิต (Controlling) การดำเนินงานแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลัก คือ (1) การจัดทำฐานข้อมูลระยะเวลาการปรับตั้งเครื่องรีดและแนวทางการจัดตารางการผลิตของงานรีด โดยมุ่งเน้นให้เกิดระยะเวลาการปรับตั้งเครื่องรีดน้อยที่สุด (2) การมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบและจัดทำมาตรการในการปล่อยงานเข้าสู่พื้นที่ผลิตและเคลื่อนย้ายงานระหว่างผลิต เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของทรัพยากรและข้อมูลสำหรับการดำเนินงานตามแผนการผลิต (3) การปรับปรุงมาตรการในการติดตามการผลิตให้สามารถตรวจจับความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้โดยเร็วและปรับปรุงการเก็บบันทึกข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการดำเนินงานผลิต และ (4) การจัดทำมาตรการในการควบคุมการผลิตเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อการผลิต ผลการดำเนินงานพบว่า โรงงานกรณีศึกษามีความสามารถในการผลิตสินค้าตามแผนการผลิตเพิ่มขึ้นเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 16.69 ต่อเดือน และมีความสามารถในการส่งมอบสินค้าทันกำหนดเพิ่มขึ้นเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 15.26 ต่อเดือน
Other Abstract: The objective of this research is to improve shop floor management and control systems of a PVC sheet calendaring factory. The factory confronted with problems of delayed shipment and low production capability. The concept of shop floor management is implemented relating to production scheduling, dispatching, moves between cells, monitoring and controlling to this factory. Methodology for developing the shop floor management system is divided into 4 main parts: (1) collect setup-time data and considering a heuristic method for using in sequencing jobs for calendering process for an objective of set-up time minimization, (2) assigning responsibility and develop operation procedures for production dispatching and moves between cells rules using in shop floor for resources and information readiness preparation, (3) improve the procedure of production monitoring for instantly detect in problems occurred in shop floor and adjusting the collecting crucial data in production, and (4) implementing of production controlling system to prevent problems that may be occurred on shop floor and affect production plans. After the improvement process, the average monthly on-time shipment is increased from 60.39% to 75.65% and average monthly production efficiency is raised from 68.06% to 84.75%, respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31168
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.269
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.269
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
bancha_th.pdf2.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.