Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31171
Title: ความคาดหวังในการศึกษาต่อ และการประกอบอาชีพของนักเรียนชายมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดอุตรดิตถ์
Other Titles: The educational and occupational expectations of mathayom suksa 6 boy students in uttaradit province
Authors: ธงศักดิ์ บุญธนาธรรม
Advisors: ประเสริฐ แย้มกลิ่นฟุ้ง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาปัจจัยด้านฐานะเศรษบกิจและสังคมของบิดามารดา ความคาดหวังทางการศึกษาของบิดามารดา ความคาดหวังในการศึกษาต่อของเพื่อนสนิท และผลสัมฤทธิ์การเรียนของนักเรียน น่าจะมีผลต่อความคาดหวังในการศึกษาต่อของนักเรียน รวมทั้งศึกษาว่าความคาดหวังในสาขาวิชาที่ศึกษาต่อและความคาดหวังในการประกอบอาชีพของนักเรียนมีความสัมพันธ์กับฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของบิดามารดาอย่างไรบ้าง ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของบิดามารดามีผลต่อความคาดหวังในการศึกษาต่อของนักเรียน โดยนักเรียนที่บิดามารดามีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมสูงจะคาดหวังในการศึกษาต่อมากกว่านักเรียนที่บิดามารดามีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมต่ำ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะสามารถอธิบายถึงความแตกต่างของความคาดหวังในการศึกษาต่อของนักเรียนได้เป็นอย่างดี ส่วนปัจจัยด้านความคาดหวังทางการศึกษาของบิดามารดา ความคาดหวังในการศึกษาต่อของเพื่อนสนิท และผลสัมฤทธิ์การเรียนของนักเรียนมีผลต่อความคาดหวังในการศึกษาต่อของนักเรียน โดยมีข้อยกเว้นในกรณีของนักเรียนที่มาจากครอบครัวที่บิดามารดามีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมสูง สำหรับนักเรียนที่คาดหวังในการศึกษาต่อที่บิดามารดามีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมแตกต่างกันจะมีความคาดหวังในสาขาวิชาที่ศึกษาต่อและความคาดหวังในการประกอบอาชีพที่แตกต่างกัน นอกจากนี้พบว่านักเรียนที่ไม่ได้คาดหวังในการศึกษาต่อหลังจากจบการศึกษาจะมีความคาดหวังในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนมาก
Other Abstract: This research aims at studying concern the relationship between parents' socio-economic status, educational expectations, friends' educational expectations and the students' academic abilities on the one hand and the students' educational expectations on the other. It also collects data on the students' prefered fields of study and occupational expectations and analysis them in term of their relationship with parents' socio-economic status. The research results are as follow: Parental socio-economic status affects students' educational expectations. Students whose parents have higher socio-economic status have higher educational expectations than those whose parents have lower socio-economic status. Differences in students' educational expectations can be well explained in term of differences in family backgrounds. However, parents' and friends' educational expectations and students' academic abilities are found to have no effect on the students' expectations to continue their study at the higher level in the cases of those who come from families of high socio-economic status. Among students who plan to continue their study, their prefered fields of study and occupational expectations are found to be related with parents' socio-economic status. Most students who do not plan to continue their study choose agriculture as their as their expected occupation.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31171
ISBN: 9745685661
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thongsak_bo_front.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open
Thongsak_bo_ch1.pdf2.12 MBAdobe PDFView/Open
Thongsak_bo_ch2.pdf885.31 kBAdobe PDFView/Open
Thongsak_bo_ch3.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open
Thongsak_bo_ch4.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open
Thongsak_bo_ch5.pdf1.88 MBAdobe PDFView/Open
Thongsak_bo_ch6.pdf2.48 MBAdobe PDFView/Open
Thongsak_bo_ch7.pdf1.62 MBAdobe PDFView/Open
Thongsak_bo_ch8.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Thongsak_bo_back.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.