Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31323
Title: การใช้เรื่องเล่าผีปู่และย่า : ศึกษาเฉพาะกรณีชาวบ้านป่านป้าจี้
Other Titles: The pu sae ya sae spirits narrative in practice : a case study of pa chi villagers
Authors: ธนันท์ เศรษฐพันธ์
Advisors: อมรา พงศาพิชญ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2536
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้ต้องการแสดงถึงการใช้เรื่องเล่าผีปู่และย่าแสะของชาวบ้านป่าจี้ โดยใช้แนวคิด “Ethnography of Speaking” ของ Dell Hymes แนวคิดนี้พิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้เรื่องเล่า อันได้แก่ ผู้เล่า ผู้ฟัง รูปแบบสาร ช่องทางการสื่อสาร สัญลักษณ์ หัวข้อและฉากในการใช้เรื่องเล่า ผู้เล่าเรื่องมีอายุมากกว่าผู้ฟัง พวกเขาเล่าด้วยปากโดยใช้ภาษาคำเมือง และเล่าเรื่องเล่าแบบเรื่องเล่าร้อยแก้ว ชาวบ้านใช้เรื่องเล่านี้อ้างอิงถึง “ประวัติ” หรือ ตำนานของผีปู่แสะย่าแสะและพิธีกรรมเลี้งผีปู่แสะย่าแสะ เรื่องเล่านี้มีคุณค่าในแง่ที่เป็นประวัติของผีปู่แสะย่าแสะและพิธีกรรมเลี้ยงผีปู่แสะย่าแสะ เรื่องเล่าและพิธีกรรมจึงมีบทบาทเชื่อมโยงอดีตครั้งพุทธกาลกับปัจจุบันและตอกย้ำความเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดในปัจจุบัน บริบททางสังคมของหมู่บ้านได้เปลี่ยนไป มีคนนอกชุมชนเข้าไปติดต่อสัมพันธ์ด้านพิธีกรรมเลี้ยงผีมากขึ้น ทำให้คุณค่าและบทบาทของเรื่องเล่าเปลี่ยนไปด้วย จากที่เรื่องเล่าที่ทำหน้าที่สื่อ “เนื้อหา” หรือ “สาร” เกี่ยวกับผีปู่แสะย่าแสะและพิธีกรรมเลี้ยงผีปู่และย่าแสะในฐานะเป็นส่วนของวัฒนธรรมกลายเป็นเรื่องเล่าและพิธีกรรมมีหน้าที่บทบาทเฉพาะเพื่อแสดงถึงความเก่าแก่ของชุมชนและรากเหง้าของวัฒนธรรม บทบาทของเรื่องเล่าและพิธีกรรมในชีวิตประจำวันลดความสำคัญลงไปมาก เพราะความเปลี่ยนแปลงของบริบททางสังคม เรื่องเล่าและพิธีกรรมไม่ได้มีบทบาทในวิถีชีวิตของชาวบ้านเหมือนกับในอดีตที่ผ่านมา
Other Abstract: The objective of this thesis is to show the Pu Sae Ya Sae spirits folklore in practice by examining, usage, value and function in the context Pa Chi Village. The author uses Dell Hymes "Ethnography of Speaking" to analyze the narrative composing of sender, receiver, message form, channel, code, topic and setting. In narrating, the sender, who present content of the folklore are older than the receivers. They narrate, face to face, using Kham Muanq (Lanna Language). Pu Sae Ya Sae spirits and Pu Sae Ya Sae spirits ritual are told and performed in the village setting and are viewed as "history" or tamman of the villagers. The value of the narrative is the historical content of Pu Sae Ya Sae spirits and Pu Sae Ya Sae spirits ritual. The narrative and ritual link the past since the time of the Buddha to present, and supporting belief in past lives and reincarnation. At present, the social context of the village is changing. Outsiders come to the village to watch the ritual and the narrative's value and the functions changed from being the "means” or "media" in sending the message to becoming the representation of the villagers historical identity and cultural heritage. While this function becomes more important recently because of the rapid socio-economic changes taking place, the function of the narratives and rituals as part of the village way-of-life did not receive attention of the villagers as has been seen in the past.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536
Degree Name: มานุษยวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31323
ISBN: 9745824143
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thanan_se_front.pdf836.72 kBAdobe PDFView/Open
Thanan_se_ch1.pdf1.88 MBAdobe PDFView/Open
Thanan_se_ch2.pdf2.38 MBAdobe PDFView/Open
Thanan_se_ch3.pdf2.76 MBAdobe PDFView/Open
Thanan_se_ch4.pdf2.96 MBAdobe PDFView/Open
Thanan_se_ch5.pdf1.63 MBAdobe PDFView/Open
Thanan_se_ch6.pdf706.65 kBAdobe PDFView/Open
Thanan_se_back.pdf687.39 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.