Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31456
Title: พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษ ของพระมหากษัตริย์ไทย
Other Titles: The royal prerogative of pardon in Thailand
Authors: เพ็ญจันทร์ โชติบาล
Advisors: ธงทอง จันทรางศุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ประเพณีไทยแต่ยุคโบราณถือสืบทอดกันว่า พระมหากษัตริย์เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษ โดยมีพื้นฐานจากคติสากลที่ว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่มาของความยุติธรรมแนวความคิดดังกล่าวได้สอดประสานกันกับแนวคิด “ธรรมราชา” พ่อกับลูก และ “เจ้าชีวิต” อันเป็นคติเก่าแก่ที่ใช้ในการปกครองประเทศมาแต่ปางบรรพ์ พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษตามแนวคิดทั้งสี่ประการข้างต้นได้วิวัฒน์ไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองในแต่ละช่วงเวลา นับตั้งแต่ยุคกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงรัตนโกสินทร์ จวบจนถึงยุคเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 อันเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของแนวความคิดเกี่ยวกับการใช้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ โดยปรับเปลี่ยน”รูปแบบ” เข้ากับสภาวะการณ์ของบ้านเมืองที่เปลี่ยนแปรไปในแต่ละยุคสมัยได้อย่างสนิทสนมกลมกลืนโดยที่ยังสามารถคง “เนื้อหา” ความอิสระเด็ดขาดของพระราชอำนาจอันมีมาแต่บรรพกาลไว้ได้โดยมั่นคงไม่เสื่อมคลายทั้งยังปรากฏว่าบทบาทของการใช้พระราชอำนาจดังกล่าวได้ทวีความสำคัญขึ้นเป็นลำดับโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน อาจกล่าวได้ว่า พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษของพระมหากษัตริย์ไทยเป็นพระราชอำนาจโดยโบราณราชนิติประเพณีอันมีลักษณะเฉพาะตัวแตกต่างไปจากประมุขของนานาประเทศซึ่งการใช้พระราชอำนาจดังกล่าวได้ลดบทบาทลงเป็นเพียง “แบบพิธี” เพื่อให้เกิดผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย เหนือสิ่งอื่นใด การใช้พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษมิได้เป็นเพียงเครื่องมือในการแก้ไขความผิดพลาดของขบวนการยุติธรรมหรือขจัดปัดเป่าความทุกข์เข็ญของราษฎรเท่านั้น หากยังเป็นเสมือน “ห่วงทอง” ที่คล้องสานความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับพสกนิกรของพระองค์ให้กระชับแน่นแฟ้นดังที่เคยเป็นมาอย่างยาวนานนับพันปี
Other Abstract: The king is the source of the Royal Prerogative of Pardon through ancicnt Thai convention and custom, while in principle the king is the fountain of justice through the universal legal custom. Both assumptions of legal power are in line with Thai political concepts in the old days, namely “Dharmaracha” “Praternalism” and “Lord of Life”, all of which quided the royal execution of the state affairs through ancient time. In accordance with said political concepts, the exercise of the Royal Prerogative of Pardon has been transformed in response to political variables in the state, during the period of Sukhothai, Ayudhaya, Rattanakasin, and particularly Democracy B.E. 2475, which is widely recognized as the crossroad of the concept of the Royal Prerogative of Pardon in Thailand. Through time, the royal Prerogative of Pardon can survive mostly by adjusting its own “scope and extent” to political variables with tactfulness, and partly by maintaining its own “nature”, which incovporates the aspect of independence and the absolute administration of the monarch. Furthermore, there is an evidence that the Royal Prerogative of Pardon has continued to play its more significant role at present. It should be concluded that the Royal Prerogative of Pardon in Thailand is absolutely based on ways of Practice through ancient royal legal custom, which differs from that of other state leaders, whose the Royal Prerogative of Pardons is somewhat ceremonial. Above of all, Thailand’s thousand-year history shows that the king exercises the Royal Prerogative of Pardon, either as an effective machinery to solve miscarriage of justice and to remedy his subjects’ suffering or as a “cordial string” to blind the monarch and his subjects together.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31456
ISBN: 9745776173
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Penchan_ch_front.pdf1.41 MBAdobe PDFView/Open
Penchan_ch_ch1.pdf693.29 kBAdobe PDFView/Open
Penchan_ch_ch2.pdf4.59 MBAdobe PDFView/Open
Penchan_ch_ch3.pdf8.65 MBAdobe PDFView/Open
Penchan_ch_ch4.pdf6.1 MBAdobe PDFView/Open
Penchan_ch_ch5.pdf7.74 MBAdobe PDFView/Open
Penchan_ch_ch6.pdf3.31 MBAdobe PDFView/Open
Penchan_ch_ch7.pdf1.38 MBAdobe PDFView/Open
Penchan_ch_back.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.