Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31747
Title: | การกำจัดสีย้อมรีแอกทีฟจากน้ำเสียย้อมผ้าด้วยกระบวนการร่วม ของการดูดติดผิวและโคแอกูเลชัน |
Other Titles: | Reactive dye removal by the combined process of adsorption and coagulation |
Authors: | อภิชาติ หิรัญจิตต์ |
Advisors: | ประแสง มงคลสิริ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2539 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ได้ศึกษาถึงความสามารถของกระบวนการร่วมการดูดติดผิวและโคแอกูเลชันในการกำจัดสียอมรีแอกทีฟในน้ำเสียย้อมผ้า โดยใช้แอกติเวทเต็ดคาร์บอนผงและเถ้าลอยจากปล่องควันของโรงผลิตไฟฟ้าถ่านหินลิกไนต์เป็นสารดุดติดผิวในกระบวนการดูดติดผิว ใช้สารส้มเป็นโคแอกูแลนท์ และใช้โพลิเมอร์เป็นโอแอกูแลนท์เอด ประเภทของสีย้อมที่นำมาใช้ทดลองเป็นสีย้อมรีแอกทีฟ 2 โทนสี คือ สีแดง และสีน้ำเงิน ประสิทธิภาพกำจัดสีย้อมรีแอกทีฟในน้ำเสียย้อมผ้าด้วยกระบวนการดูดติดผิว โดยใช้แอกติเวทเต็ดคาร์บอนผงนั้น ขึ้นอยู่กับโทนสีของน้ำเสียและปริมาณแอกติเวทเต็ดคาร์บอนผง กล่าวคือ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพกำจัดสี 95% เท่ากัน น้ำเสียโทนสีแดงต้องการแอกติเวทเต็ดคาร์บอนผง 800 มก./ล. น้ำเสียโทนสีน้ำเงินต้องการแอกติเวทเต็ดคาร์บอนผง 600 มก./ล ขณะที่เถ้าลอยนั้นให้ประสิทธิภาพกำจัดไม่แน่นอนขึ้นกับตัวอย่างของเถ้าลอย เนื่องด้วยลักษณะของเถ้าลอยแต่ละตัวอย่างมีความแตกต่างกันสูงไปในแต่ละภาชนะบรรจุ และ ณ ระดับต่าง ๆ ของภาชนะที่บรรจุ เมื่อดูจากไอโซเอทร์มของแอกติเวทเต็ดคาร์บอนผง ได้แสดงให้เห็นว่าต่อหนึ่งหน่วยมวลแอกติเวทเต็ดคาร์บอนผงที่ใช้เท่ากัน สีแดงถูกกำจัดได้สูงกว่าสีน้ำเงินที่ทุกความเข้มข้นสีย้อม ณ จุดอิควิลเบรียมใด ๆ น้ำส่วนบนที่ได้จากการตกตะกอนหลังกระบวนการดูดติดผิวด้วยเถ้าลอยและแอกติเวทเต็ดคาร์บอนผงนั้นมีลักษณะแตกต่างกัน เถ้าลอยสามารถตกตะกอนเกือบหมดน้ำส่วนบนใสมากไม่จำเป็นต้องการสารส้ม หรือสารส้มร่วมกับโพลิเมอร์ในการช่วยในการตกตะกอน ส่วนแอกติเวทเต็ดคาร์บอนผงนั้นตกตะกอนได้ส่วนใหญ่เพียงบางส่วนที่เหลือแขวนลอยอยู่ในน้ำส่วนบนแต่ทำให้น้ำส่วนบนมีสีดำสูง ตะกอนของเถ้าลอยแน่นมากและจับตัวกันเป็นซีเมนต์แข็งถ้าทิ้งไว้ การกำจัดแอกติเวทเต็ดคาร์บอนผงแขวนลอยเหลือในน้ำส่วนบนที่ได้จากการตกตะกอนหลังกระบวนการดูดติดผิว ด้วยกระบวนการโคแอกูเลชันนั้น ต้องการสารส้มเพียง 30 มก./ล. สารส้มที่มากกว่านี้ไม่เพิ่มประสิทธิภาพกำจัด และโพลิเมอร์ที่เติมร่วมกับสารส้มไม่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพกำจัดแอติเวทเต็ดคาร์บอนผง แขวนลอยในน้ำเสีย และยังลดประสิทธิภาพจำกัดอีกด้วย การกำจัดสีย้อมรีแอกทีฟในน้ำเสียย้อมผ้าด้วยกระบวนร่วมของการดูดติดผิวด้วยแอกติเวทเต็ดคาร์บอนผง และโคแอกูเลชันด้วยสารส้มเท่านั้นที่มีความเป็นไปได้ทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม โดยน้ำเสียโทนสีแดงต้องการค่าใช้จ่ายสารเคมี 36.10 บาท/ลบ.ม. และน้ำเสียโทนสีน้ำเงินต้องการค่าใช้จ่ายสารเคมี 29.30 บาท/ลบ.ม. สรุปว่าไม่เหมาะจะนำไปประยุกต์ใช้งานจริง |
Other Abstract: | The efficiency of the combined process of adsorption and coagulation to remove the reactive dye from wastewater was conducted. Adsorbents used were powdered activated carbon and fly ash from the electricity power plant flue-gas stacks. Coagulant use was alum and anionic polyelectrolyte was used as a coagulant aid. 2 hues of red and blue were used in the synthetic wastewater, 10mg./l. for each hue. The reactive dye removal efficiency by the adsorption process depends on the type of adsorbents utilized. The highest efficiencies up to 95% by using the 800 and 600 mg/l. powered activated carbon treating the both red and blue were achieved. While the fly ash was unable to obtain the forecastable treatment. The isotherm of powdered activated carbon showed that red hue can be removed better than blue one, by weight to weight ratio at any equilibrium concentrations. The supernatant given from the sedimentation, after adsorption process, had the contrasty vision, by the powder activated carbon and fly ash was able to sediment become to high compact cementing sediment, and gave the low turbid transparent supernatant. But the powder activated carbon gave the dark hue supernatant although almost of suspended powder activated carbon be able to sediment too. To enhance the efficiency of sedimentation of suspended powder activated carbon in both hue wastewater, required 30 mg/l alum. The higher dose of alum disabled to increase the higher efficiency of sedimentation. In the case using 30 mg/l alum, needed not anion polyelectrolyte as coagulant aid. The anion polyelectrolyte could reduce the efficiency of sedimentation of suspended powder activated carbonIn the case of sedimentation enhancement of suspended fly ash, due to high transparent supernatant be given entailed alum sole or alum with polyelectrolyte be needed not Reactive dye removal by the combined processes of adsorption using powder activated carbon and coagulation by alum solely was feasible in environmental engineering aspects. Red hue wastewater incurred 36.10 baht/cu.m. and blue hue wastewater required 20/30 baht/cu.m. for chemical expenditure merely. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31747 |
ISBN: | 9746336835 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Apichart_hi_front.pdf | 1.03 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Apichart_hi_ch1.pdf | 930.04 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Apichart_hi_ch2.pdf | 3.16 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Apichart_hi_ch3.pdf | 1.49 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Apichart_hi_ch4.pdf | 3.84 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Apichart_hi_ch5.pdf | 2 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Apichart_hi_ch6.pdf | 474.9 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Apichart_hi_back.pdf | 6.9 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.