Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31994
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมพัฒนาฐานอำนาจโดยตำแหน่ง ฐานอำนาจส่วนบุคคล การรับรู้ต่อความยึดมั่นต่อกันภายในกลุ่มวิชาชีพ กับการรับรู้สัมพันธภาพในการร่วมกันทำงานของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลศูนย์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
Other Titles: Relationship between position power base developmental behavior, personal power base developmental behavior, perception of professional group cohesion, and perception of collaborative relationship of head nurses, regional hospital and medical centers under the jurisdiction of the ministry of public health
Authors: เสาวลักษณ์ พัวพัฒนกุล
Advisors: พวงรัตน์ บุญญานุรักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้สัมพันธภาพในการร่วมกันทำงานของหัวหน้าหอผู้ป่วย และตัวแปรที่มีความสัมพันธ์และสามารถร่วมกันพยากรณ์การรับรู้สัมพันธภาพในการร่วมกันทำงาน ได้แก่ พฤติกรรมพัฒนาฐานอำนาจโดยตำแหน่ง พฤติกรรมพัฒนาฐานอำนาจส่วนบุคคล การรับรู้ต่อความยึดมั่นต่อกันภายในกลุ่มวิชาชีพ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในวิชาชีพ ประสบการณ์ในตำแหน่ง และการอบรมด้านการบริหาร ประชากรที่ศึกษาเป็นหัวหน้าหอผู้ป่วยจำนวน 194 คน โรงพยาบาลศูนย์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข เครื่องมือวัดการรับรู้สัมพันธภาพในการร่วมกันทำงาน การรับรู้ต่อความยึดมั่นต่อกันภายในกลุ่มวิชาชีพ พฤติกรรมพัฒนาฐานอำนาจโดยตำแหน่ง และพฤติกรรมพัฒนาฐานอำนาจส่วนบุคคล เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นแล้วให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจความตรงตามเนื้อหาก่อนนำไปทดลองใช้ ค่าความเที่ยงของเครื่องมือคือ .92, .81, .87 และ .94 ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า 1. การรับรู้สัมพันธภาพในการร่วมกันทำงานของหัวหน้าหอผู้ป่วยทั้งกับแพทย์ และกับบุคลากรอื่น ๆ ในทีมสุขภาพอยู่ในระดับดี 2. พฤติกรรมพัฒนาฐานอำนาจโดยตำแหน่ง พฤติกรรมพัฒนาฐานอำนาจส่วนบุคคล และการรับรู้ต่อความยึดมั่นต่อกันภายในกลุ่มวิชาชีพ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้สัมพันธภาพในการร่วมกันทำงานทั้งกับแพทย์ และกับบุคลากรอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. กลุ่มตัวแปรพยากรณ์ที่สามารถร่วมกันพยากรณ์การรับรู้สัมพันธภาพในการ่วมกันทำงานกับแพทย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ การรับรู้ต่อความยึดมั่นต่อกันภายในกลุ่มวิชาชีพ กับพฤติกรรมพัฒนาฐานอำนาจโดยตำแหน่ง สามารถร่วมกันอธิบายการรับรู้สัมพันธภาพในการร่วมกันทำงานกับแพทย์ได้ร้อยละ 24.98 (R2 = .2498) 4. กลุ่มตัวแปรพยากรณ์ที่สามารถร่วมกันพยากรณ์การรับรู้สัมพันธภาพในการร่วมกันทำงานกับบุคลากรอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ การรับรู้ต่อความยึดมั่นต่อกันภายในกลุ่มวิชาชีพ กับพฤติกรรมพัฒนาฐานอำนาจโดยตำแหน่ง สามารถร่วมกันอธิบายการรับรู้สัมพันธภาพในการร่วมกันทำงานกับบุคลากรอื่น ๆ ได้ร้อยละ 24.02 (R2 =.2402)
Other Abstract: The purposes of this research were to study the perception of head nurses concerning the collaborative relationship, and to search for the variables that would be correlated and be able to predict the collaborative relationship. Those variables were defined as follows: position power base developmental behavior, personal power base developmental behavior, perception of professional group cohesion, educational level, work experience, head nurse experience and administration training. The subject of this study was 194 head nurses in regional hospital and medical centers under jurisdiction of the ministry of public health. The questionnaires on collaborative relationship, perception of professional group cohesion, and position and personal power base developmental behavior developed by investigator were tested for content validity and reliability which were .92, .81 .87 and .94 respectively. The findings were as the following : 1. Head nurses had perceived high level of collaborative relationship with doctors and other personnel in health care team. 2. Position power base developmental behavior, personal power base developmental behavior and perception of professional group cohesion were positively related to perception of collaborative relationship at the .01 significant level. 3. Perception of professional group cohesion and position power base developmental behavior had contributed to effective predictions of perception of collaborative relationship with doctors. These predictors accounted for 24.98 percent at the .01 significant level. 4. Perception of professional group cohesion and position power base developmental behavior had contributed to effective predictions of perception of collaborative relationship with other personnel. These predictors accounted for 24.02 percent at the .01 significant level.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31994
ISBN: 9745789607
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saowalak_pu_front.pdf5.15 MBAdobe PDFView/Open
Saowalak_pu_ch1.pdf6 MBAdobe PDFView/Open
Saowalak_pu_ch2.pdf32.85 MBAdobe PDFView/Open
Saowalak_pu_ch3.pdf6.26 MBAdobe PDFView/Open
Saowalak_pu_ch4.pdf9.96 MBAdobe PDFView/Open
Saowalak_pu_ch5.pdf12.22 MBAdobe PDFView/Open
Saowalak_pu_back.pdf20.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.