Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32023
Title: การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ : เปรียบเทียบกรณีตัวอย่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
Other Titles: Cost analysis of undergraduate programme in engineering : a comparative study of Chulalongkorn University, Kasetsart University and Kingmongkut's institute of technolegy ladkrabang
Authors: เสาวภาคย์ พินิจศักดิ์
Advisors: วัฒนา สุวรรณแสง จั่นเจริญ
จุฑา มนัสไพบูลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงต้นทุนการผลิตนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ประกอบด้วยต้นทุนของสถาบันและต้นทุนส่วนตัวของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า เครื่องกล และคอมพิวเตอร์ เพื่อทราบถึงองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ต้นทุนการผลิตนักศึกษาของ 3 สถาบันแตกต่างกัน การวิเคราะห์ต้นทุนของสถาบันได้พิจารณาในแง่การใช้ปัจจัยการผลิตบัณฑิต คำนวณออกมาในรูปของต้นทุนต่อหน่วย กรณีที่วัดออกมาเป็นตัวเงินได้พบว่า ต้นทุนในการผลิตบัณฑิตคณะวิศวกรรมศาสตร์กรณีที่ไม่นำค่าที่ดินมาร่วมพิจารณาในปัจจัยการผลิตพบว่า ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า เครื่องกล และคอมพิวเตอร์ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีก 217, 837.53 304, 391.35 367,891.24 บาทตามลำดับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คือ 193,551.44 228,005.90 193,509.40 บาท ตามลำดับ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังคือ 246,282.40 313,410.68 277,899.43 บาท ตามลำดับ สำหรับกรณีที่นำค่าที่ดินมาร่วมพิจารณาพบว่า ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า เครื่องกล และคอมพิวเตอร์ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 705,139.23 781,827.88 854,454.46 บาท ตามลำดับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์คือ 585,944.41 595.856.10 574,500.03 บาท ตามลำดับ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังคือ 274,419.25 340,984.63 305,452.26 บาท ตามลำดับ สำหรับต้นทุนส่วนตัวของนักศึกษาได้ทำการคำนวณค่าใช้จ่ายในแต่ละหมวดโดยเฉลี่ยต่อปี จากนั้นนำค่าที่ได้ไปทำการวิเคราะห์ความแปรปรวน พบว่าผลที่ได้เป็นไปตามสมมติฐานคือ ต้นทุนส่วนตัวของนักศึกษาและในแต่ละภาควิชาและมหาวิทยาลัยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยต้นทุนส่วนตัวของนักศึกษาขึ้นอยู่กับภาควิชาและมหาวิทยาลัยที่นักศึกษาเรียนอยู่ ต้นทุนส่วนตัวของนักศึกษาโดยเฉลี่ยต่อคนต่อปีในภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า เครื่องกล และคอมพิวเตอร์ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 25,541.41 26,578.73 22,992.51 บาท ตามลำดับ หาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คือ 26,741.67 24,213.30 31,851 บาท ตามลำดับ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คือ 31,581.23 30,842.50 24,176.28 บาท ตามลำดับ เมื่อพิจารณาต้นทุนส่วนตัวของนักศึกษาตามหมวดรายจ่ายปรากฏว่าหมวดที่แตกต่างกันนั้นคือ หมวดค่าใช้จ่ายระหว่างการศึกษา ได้แก่ ค่าอาหาร ค่าเดินทางไป-กลับมหาวิทยาลัย ค่าเครื่องแต่งกาย และหมวดค่าใช้จ่ายที่เสียเป็นครั้งคราว ได้แก่ ค่าพักผ่อนหย่อนใจและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ 705,139.23 781,827.88 and 854,454.46 Baht respectively for EE, ME and CE. Were 274,419.25 340,984.63 and 305,452.26 Baht respectively for KM. เมื่อพิจารณาต้นทุนการผลิตรวมที่ใช้ในการผลิตนักศึกษาสาขาวิศวกรรมศาสตร์พบว่ารัฐบาลเป็นผู้อุดหนุนทางการศึกษาเป็นส่วนใหญ่
Other Abstract: The purpose of this thesis was to analyze the production cost of engineering programme in Electical (EE), Mechanical (ME) and Computer Engineering (CE) at Chulalongkorn university (CU), Kasetsart University (KU) and Kingmongkut’s Instutute of Technology Ladkrabang (KM), The total cost consists of government cost and student’s private cost. The government cost excluding land value per graduate engineer from CU were 217,837.54, 304,391.35 and 367,894.24 Baht for EE, ME and CE respectively. For KU, the government cost were 193,551.44, 228.005.90 and 193,509.40 Baht for EE, ME and CE respectively. The government cost for EE, ME and CE at The Kingmongkut’s Institute of Technology Ladkrabang were 246,282.40 313,410.68 and 277,899.43 Baht. When land value was considered, the government cost per graduated engineer form CU were 705.139.23 781.827.88 and 854.454.46 Baht respectively for EE, ME and CE. The government cost were 585,944.41, 595,856.10 and 574,500.03 Baht for EE, ME and CE respectively at KU. Finally, the government cost of EE, ME and CE were 274,419.25, 340,980.63 and 305,452.26 Baht respectively for KM. The student’s private cost for different departments and institutuions were statistically and significantly different. The student’s private cost per year for EE, ME and CE were 25,541, 26,478.73 and 22,992.51 Baht respectively for CU. While the private cost per year of EE, ME and CE form KU were 26,741.67, 24,213.30 and 31,851 Baht respectively. For KM, the student’s private cost for EE, ME and CE were 31,581.23, 30,842.50 and 24,176.28 Baht respectively. The student’s private cost of each department and institution were differed in the following items : food expenses, tran-sportation cost to university, clothes and leisure expenses and others. The total cost of engineering program were significantly supported by the government.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32023
ISBN: 9745794988
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saovapak_pi_front.pdf5.53 MBAdobe PDFView/Open
Saovapak_pi_ch1.pdf5.39 MBAdobe PDFView/Open
Saovapak_pi_ch2.pdf5.26 MBAdobe PDFView/Open
Saovapak_pi_ch3.pdf14.22 MBAdobe PDFView/Open
Saovapak_pi_ch4.pdf17.84 MBAdobe PDFView/Open
Saovapak_pi_ch5.pdf6.32 MBAdobe PDFView/Open
Saovapak_pi_back.pdf22.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.