Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32028
Title: ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการอายัดที่ดิน
Other Titles: Legal Problems Concerning Land Attachment
Authors: เอกพล ยวงนาค
Advisors: ไพฑูรย์ คงสมบูรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2536
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นศาลปัจจุบัน เมื่อจำเลยแพ้คดี จำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งได้มีบทบัญญัติเรื่องการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง อย่างไรก็ดี ก่อนหน้าที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น จำเลยซึ่งไม่สุจริตและคาดเห็นได้ว่าตนจะต้องถูกบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาล ก็อาจจะทำการจำหน่าย จ่าย โอน ทรัพย์สินของตนออกไป เพื่อมิให้ตกเป็นทรัพย์สินที่อยู่ในข่ายของการบังคับคดีได้ ดังนั้น กฎหมายจึงได้มีบทบัญญัติเรื่องวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดมีขึ้นก่อนศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งได้ การที่โจทก์มีคำขอให้ศาลอายัดทรัพย์สินของจำเลยหรือของบุคคลภายนอกซึ่งถึงกำหนดชำระแก่จำเลย เป็นวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาที่คุ้มครองประโยชน์ของโจทก์วิธีการหนึ่ง ซึ่งในส่วนของทรัพย์สินอันได้แก่ที่ดินนั้น นอกจากโจทก์จะขอคุ้มครองโดยอาศัยบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งได้แล้ว ตามประมวลกฎหมายที่ดิน ยังมีบทบัญญัติเรื่องการอายัดที่ดินเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของบุคคลผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินอันอาจจะฟ้องบังคับให้มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนได้อีก ผู้วิจัยจึงเห็นว่าการอายัดที่ดินในส่วนวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษานี้ เป็นเรื่องที่แตกต่างกับการอายัดสิทธิเรียกร้องหรือทรัพย์สินอย่างอื่น ซึ่งได้มีการศึกษาในรายละเอียดแล้วพบว่า บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ยังก่อให้เกิดปัญหาทั้งในทางทฤษฎีและปฏิบัติ ผู้วิจัยได้ศึกษาถึงหลักเกณฑ์ของกฎหมายและได้วิเคราะห์ถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ผู้วิจัยเห็นว่า บทบัญญัติของกฎหมายควรมีการแก้ไขเพื่อให้ชัดเจนยิ่งขึ้น และสามาระยืดหยุ่นเข้ากับสภาวการณ์ที่เกิดขึ้นได้ เพื่อที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สำหรับผู้เกี่ยวข้องและผู้สนใจศึกษาในเรื่องดังกล่าวต่อไป
Other Abstract: According to the present procedures in court, when the defendant is defeated in a civil case, the defendant is responsible to take action according to the court’s judgments or orders. However, before the court has judgment, the ill-intent defendant may decide to sell or transfer their properties to prevent the legal execution. Therefore it is necessary for the provisions measures before judgment in order to prevent any damage that may occur before judgment. One of the measures before judgment is request by the plaintiff to the court to attach property of the defendant or other persons. One of the certain kind of property, land, not only the protection is provided under the civil procedures code, the similar provisions in the land acts also provide protection by attach land to protect rights of persons concerned. The researcher believes that, in theory and in reality, this provisions is possible to cause problems. The researcher has analysed the criteria set forth by the law and also problems that may occur. The researcher proposed that this provision should be revised in order to be clearer and more flexible than in present situation.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32028
ISBN: 9745827487
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ekkapon_yu_front.pdf3.62 MBAdobe PDFView/Open
ekkapon_yu_ch1.pdf2.82 MBAdobe PDFView/Open
ekkapon_yu_ch2.pdf7.26 MBAdobe PDFView/Open
ekkapon_yu_ch3.pdf40.21 MBAdobe PDFView/Open
ekkapon_yu_ch4.pdf13.7 MBAdobe PDFView/Open
ekkapon_yu_ch5.pdf7.61 MBAdobe PDFView/Open
ekkapon_yu_back.pdf6.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.