Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32040
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorประคอง กรรณสูต
dc.contributor.authorเอกศักดิ์ อินทร์ประสิทธิ์
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2013-06-07T09:19:33Z
dc.date.available2013-06-07T09:19:33Z
dc.date.issued2534
dc.identifier.isbn9745790419
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32040
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ ศึกษาตัวแปรที่มีความสัมพันธ์และส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทั้งทางด้านวิชาการ และไม่ใช่วิชาการของนักเรียนมัธยมศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนพระภิกษุสามเณรชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 116 รูป และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 297 รูป เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติสร้างขึ้น ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่าย และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบ Enter และ Stepwise ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สติปัญญา ความรู้เดิม แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ นิสัยและทัศนคติในการเรียน การศึกษาของบิดา และการสนับสนุนเงินเป็นค่าบำรุงการศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านวิชาการ และ เวลาที่ใช้ในการเดินทางไปโรงเรียนมีความสัมพันธ์ทางลบกับผลสัมฤทธิ์ด้านวิชาการ ส่วนนิสัยและทัศนคติในการเรียน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และความรู้เดิม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ไม่ใช่วิชาการ เวลาที่ใช้ในการเดินทางและจำนวนวันที่ขาดเรียนมีความสัมพันธ์ทางลบกับผลสัมฤทธิ์ที่ไม่ใช่วิชาการ ในบรรดาตัวแปรอิสระทั้ง 5 ตัวที่นำมาวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณนั้น มีตัวแปรที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านวิชาการ 4 ตัวแปร คือ สติปัญญา ความรู้เดิม แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ เวลาที่ใช้ในการเดินทางและความรู้เดิม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สติปัญญา ความรู้เดิม แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ นิสัยและทัศนคติในการเรียน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านวิชาการ และอายุมีความสัมพันธ์ทางลบกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านวิชาการ ส่วนนิสัยและทัศนคติในการเรียน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และการสนับสนุนเงินเป็นค่าบำรุงการศึกษา มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ที่ไม่ใช่วิชาการ จากตัวแปรทั้ง 15 ตัวที่นำมาศึกษา มีตัวแปรที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของด้านวิชาการจำนวน 3 ตัวแปร คือ สติปัญญา ความรู้เดิม และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ส่วนตัวแปรที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของผลสัมฤทธิ์ที่ไม่ใช่วิชาการมี 4 ตัวแปรคือ นิสัยและทัศนคติในการเรียน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ อายุ และสติปัญญา
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study variables related to and affected cognitive and noncognitive, learning achievement of ecclesiastical school students at secondary education level in Bangkok metropolis. The samples were 116 and 297 ecclesiastical students in Mathayom three and Mathayom six respectively. The data were collected by using six sets of questionnaires constructed by office of the National Education commission and were analyzed by means of the arithmetic mean, standard deviation, simple coefficient correlation, Enter and stepwise multiple regressions. The findings were as follws: For Mathayom three students: For Mathayom three students Intelligence, educational background, achievement notivation, learninghabits and attitude towards study, father’s education and financial support were positively related to the cognitive learning achievement while time taken for going to schools was negatively related to the cognitive learning achievement. Learning habits and attitude towards study and educational were positively related to the noncognitive learning achievement, while time taken for going to schools and a number of days absent from schools were negatively related to it. Among the five variables chosen for analyzing multiple regressions, the intelligence, educational background, achievement motivation and time taken for going to schools are the important factors of cognitive learning achievement. Also, the four variables, learning habits and attitude towards study, achievement motivation, time taken for going to schools and education background, are the important factors of noncognitive learning achievement. For mathayom six students. Intelligence, educational background, achievement notivation, learning habits and attitude towards study were positively related to cognitive learning achievement while age was negatively related to noncognitive learning achievements. However, learning habits and attitude towards study, achievement motivation and financial support were positively related to noncognitive learning achievement. Among the fifteen variables which chosen for study, intelligence, educational background and achievement motivation are the three important factors of cognitive learning achievement. Also, theage, intelligence, achievement motivation and learning habits and attitude towards study are the four important factors of noncognitive learning achievement.
dc.format.extent5876066 bytes
dc.format.extent6578341 bytes
dc.format.extent17016800 bytes
dc.format.extent5938170 bytes
dc.format.extent19461041 bytes
dc.format.extent6983055 bytes
dc.format.extent9672364 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการศึกษาตัวแปรที่สัมพันธ์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeA study of variables related to learning achievement of ecclesiastical school students at secondary education level, Bankok Metropolisen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ekasak_in_front.pdf5.74 MBAdobe PDFView/Open
Ekasak_in_ch1.pdf6.42 MBAdobe PDFView/Open
Ekasak_in_ch2.pdf16.62 MBAdobe PDFView/Open
Ekasak_in_ch3.pdf5.8 MBAdobe PDFView/Open
Ekasak_in_ch4.pdf19 MBAdobe PDFView/Open
Ekasak_in_ch5.pdf6.82 MBAdobe PDFView/Open
Ekasak_in_back.pdf9.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.