Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32047
Title: การให้ความคุ้มครองความลับทางการค้าในประเทศไทย
Other Titles: Protection of Trade Secrets in Thailand
Authors: พีรพล ศรีสิงห์
Advisors: ธัชชัย ศุภผลศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2536
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะทำการศึกษาถึงลักษณะของความลับทางการค้าและมาตรการในการให้ความคุ้มครองแก่ความลับทางการค้าในประเทศไทย โดยจะทำการศึกษาเปรียบเทียบกับการให้ความคุ้มครองความลับทางการค้าของประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศที่มีการให้ความคุ้มครองความลับทางการค้าอย่างจริงจังมากกว่าประเทศอื่น ๆ เพื่อให้ได้ปรากฏผลที่ชัดเจนในลักษณะของความลับทางการค้า ทั้งโดยลักษณะทั่วไปและลักษณะแห่งสิทธิจำเป็นอย่างไร แตกต่างหรือคล้ายคลึงกันกับทรัพย์สินทางปัญญาชนิดอื่น ๆ อย่างไร และในต่างประเทศนั้น ใช้หลักการทางทฤษฎีกฎหมายใด มาพิจารณาให้ความคุ้มครอง แล้วนำผลที่ได้มาพิจารณาเปรียบเทียบกับกฎหมายที่อยู่ในขอบข่ายที่จะสามารถให้ความคุ้มครองต่อความลับทางการค้าของไทยในขณะนี้ ผลของการวิจัยพบว่า ความลับทางการค้าเป็นข้อมูลลับชนิดหนึ่ง ที่ระบบกฎหมายอังกฤษและสหรัฐอเมริกาถือว่าเป็นสิทธิทางทรัพย์สิน อย่างไรก็ดี ยังปรากฏว่ายังมีหลักกฎหมายที่ปรับแต่เรื่องนี้อยู่หลากหลาย และสำหรับประเทศไทยแล้วพบว่า บทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองแก่ความลับทางการค้า มีเพียงที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 323 และ 324 เท่านั้น จึงมีข้อจำกัดในการให้ความคุ้มครองเป็นอย่างมาก ทั้งด้วยชนิดของความลับที่จะได้รับความคุ้มครอง รวมทั้งตัวบุคคลที่จะได้รับโทษในทางอาญาด้วย และนอกจากนี้ยังส่งผลไปถึงความรับผิดทางแพ่ง สำหรับบุคคลผู้ที่เปิดเผยหรือใช้ความลับทางการค้าของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตอีกด้วย แต่สำหรับในส่วนของบทบัญญัติของกฎหมายวิธีบัญญัตินั้น เพียงพอที่จะให้ความคุ้มครองแก่การพิจารณาคดี และการเก็บรักษาความลับทางการค้าที่จะต้องมีการเปิดเผยในระหว่างการพิจารณาคดีแล้ว วิทยานิพนธ์นี้ได้เสนอทางเลือก เพื่อให้การคุ้มครองความลับทางการค้าไว้ 4 ประการด้วยกันคือ 1. โดยการแก้ไขปรับปรุงประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดบทบัญญัติรับรองสิทธิของความลับทางการค้าให้มากยิ่งขึ้น 2. ให้ศาลเป็นผู้วินิจฉัยคดีความลับทางการค้าเพื่อสร้างหลักกฎหมายขึ้นมาด้วยตนเอง 3. บัญญัติเป็นกฎหมายฉบับพิเศษเพื่อคุ้มครองความลับทางการค้าโดยตรงหรือร่วมกับความลับชนิดอื่น ๆ 4. บัญญัติเป็นส่วนหนึ่งในกฎหมายว่าด้วยการค้าที่ไม่เป็นธรรม ที่จะนำมาใช้บังคับในอนาคตเร็ว ๆ นี้
Other Abstract: This research is intended to study the nature of trade secret and the measure of providing protection for trade secret in Thailand by comparatively examining the protection of such in the United Kingdom and the United States of America, both of which provide protection for trade secret more seriously than any other country. The study is aimed to bring about the precise understanding of the nature of trade secret, general characteristics of trade secret and the nature of right in trade secret, whether it is different from or similar to other types of intellectual property, and what legal principles are applied in other countries in providing such protection. The result is compared to the provisions in the Thai relevant law. The findings of the research are that the trade secret is a type of confidential information which is recognized as proprietary right in the British and American legal systems. However, it is found that there are still various legal principles which are applied to the matter. In Thailand the provisions which provide protection to trade secret are only sections 323 and 324 of the criminal code. Therefore, there are much restriction to the protection both in respect of the type of confidential information to be protected and in respect of the persons to be criminally liable. Further, this also has an impact of the civil liability for the persons who disclosed or use others trade secret without authorization. However, the procedural laws have sufficient provisions to provide protection for trial and the maintenance of confidentiality which is required to be disclosed during the trial. This research proposes the following alternatives to substantiate the protection of trade secret in Thailand: 1. Amend the criminal code and the civil and commercial code by adding the provisions which explicitly recognized the right in trade secret: 2. Let the court apply the existing laws to establish precedents; 3. Enact legislation to protect trade secret exclusively or including others type of protectable secret; 4. Add the provisions concerning trade secret as part of the law governing unfair trade practices.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32047
ISBN: 9745827533
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Peeraphol_sr_front.pdf3.02 MBAdobe PDFView/Open
Peeraphol_sr_ch1.pdf9.02 MBAdobe PDFView/Open
Peeraphol_sr_ch2.pdf17.55 MBAdobe PDFView/Open
Peeraphol_sr_ch3.pdf19.91 MBAdobe PDFView/Open
Peeraphol_sr_ch4.pdf15.72 MBAdobe PDFView/Open
Peeraphol_sr_ch5.pdf10.82 MBAdobe PDFView/Open
Peeraphol_sr_ch6.pdf4.92 MBAdobe PDFView/Open
Peeraphol_sr_back.pdf28.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.