Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32116
Title: การกระทำความผิดโดยอาศัยโอกาสจากการประกอบวิชาชีพ : ศึกษากรณีแพทย์กระทำความผิด
Other Titles: Occuptional crime : a case study in physician misconduct
Authors: ภวิกา รายณะสุข
Advisors: วีระพงษ์ บุญโญภาส
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: vboonyobhas@hotmail.com
Subjects: อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
บุคลากรทางการแพทย์ -- แง่ศีลธรรมจรรยา
แพทย์ -- แง่ศีลธรรมจรรยา
โรงพยาบาล -- ข้าราชการและพนักงาน -- วินัย
จรรยาแพทย์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
บริการทางการแพทย์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
White collar crimes -- Law and legislation
Medical personnel -- Moral and ethical aspects
Physicians -- Moral and ethical aspects
Hospitals -- Officials and employees -- Discipline
Medical ethics -- Law and legislation
Medical care -- Law and legislation
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการกระทำความผิดโดยอาศัยโอกาสจากการประกอบวิชาชีพ โดยเฉพาะวิชาชีพในส่วนของแพทย์หรือวิชาชีพเวชกรรม พร้อมทั้งตัวอย่างกรณีศึกษาที่เกิดขึ้น ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมายต่อความผิดประเภทนี้ โดยศึกษาเปรียบเทียบกับประเทศที่ใช้ระบบกฎหมาย Common Law ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศที่ใช้ระบบกฎหมาย Civil Law ได้แก่ ประเทศเยอรมนี ทั้งในแง่บทบัญญัติกฎหมายและในแง่การพิสูจน์ความผิดซึ่งเน้นที่มาตรการพิเศษในการแสวงหาพยานหลักฐาน วิธีการศึกษาวิจัยของวิทยานิพนธ์นี้ ใช้วิธีการวิจัยจากเอกสาร โดยการค้นคว้าจากตำรากฎหมาย วารสารกฎหมาย บทความ รายงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ บทบัญญัติกฎหมาย ตลอดจนสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดโดยอาศัยโอกาสจากการประกอบวิชาชีพ โดยเฉพาะวิชาชีพในส่วนของแพทย์หรือวิชาชีพเวชกรรม ทั้งของประเทศไทย ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศเยอรมนี และประเทศอื่นๆ เพื่อนำข้อมูลมาจัดรวบรวมอย่างเป็นระบบและทำการวิเคราะห์หาข้อสรุป ผลการศึกษาพบว่า การบังคับใช้กฎหมายกับการกระทำความผิดโดยอาศัยโอกาสจากการประกอบวิชาชีพเวชกรรมในประเทศไทยไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เนื่องจากปัญหาและอุปสรรคในแง่บทบัญญัติกฎหมายและในแง่การพิสูจน์ความผิด เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศเยอรมนี ซึ่งมีการบังคับใช้กฎหมายต่อความผิดประเภทนี้อย่างเหมาะสม เนื่องจากการพิสูจน์ความผิด กล่าวคือ มาตรการพิเศษในการแสวงหาพยานหลักฐานที่มีประสิทธิภาพ ประกอบกับบทบัญญัติกฎหมาย กล่าวคือ บทบัญญัติความผิดซึ่งกำหนดไว้อย่างเหมาะสม รวมทั้งขั้นตอนการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีที่มีความรวดเร็ว ทำให้การกระทำความผิดในลักษณะดังกล่าวมีแนวโน้มลดลง ผู้เขียนเห็นว่าควรปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติกฎหมายบางประการ ตลอดจนนำมาตรการพิเศษในการแสวงหาพยานหลักฐานของต่างประเทศมาปรับใช้ในประเทศไทย เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายต่อความผิดประเภทนี้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Other Abstract: The main purposes of this study were to investigate the occupational crimes especially physician misconducts taken from both domestic and international case studies and to analyze whether the Thai laws concerning such misconducts were appropriate or not by comparing the Thai laws with the Common Law used in the United States, the Civil law used in Germany in terms of specific laws and vindication of these misconducts to obtain evidence. This study was documentary research based on related books, journals, articles, studies and theses, existing laws in Thailand, the United States, Germany and other countries including the electronic media. The data were collected and analyzed systematically. It was found that the Thai laws concerning physician misconduct were not effectively enforced because of the problems about the enforcement of these specific laws and the vindication of these misconducts when compared with those of the United States and of Germany which have effective special measures to prove such offences and their specific laws which have been enacted appropriately. The trial procedure takes a short period of time. As a result, physician misconduct will decrease. It is suggested the Thai laws concerning physician misconducts should be amended in line with those of the aforementioned countries. In addition, their special measures to search for evidence in such offences should be adapted to the Thai context so that the enforcement of these laws in Thailand will be more effective.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32116
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.331
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.331
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pavika_ra.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.