Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32336
Title: | ผลของการยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบกระตุกและแบบกระตุ้นระบบประสาทต่อความสามารถในการกระโดดและความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังของนักกีฬาที่มีภาวะกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังหดสั้น |
Other Titles: | Effect of ballistic and proprioceptive neuromuscular facilitation stretching on vertical jump performance and hamstring flexibility in athlete with hamstring tightness |
Authors: | ศิริขวัญ เฮงธารากูล |
Advisors: | พงศ์ศักดิ์ ยุกตะนันทน์ วสุวัฒน์ กิติสมประยูรกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Pongsak.Y@Chula.ac.th wkitisom@mail.med.cmu.ac.th |
Subjects: | กล้ามเนื้อ ขา -- กล้ามเนื้อ กำลังกล้ามเนื้อ การยืดเหยียด Muscles Leg -- Muscles Stretch (Physiology) |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการยืดกล้ามเนื้อแบบกระตุ้นระบบประสาทและแบบกระตุกต่อความสามารถในการกระโดดและความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง หลังจากได้รับโปรแกรมการยืดกล้ามเนื้อเป็นเวลา 4 สัปดาห์ ในนักกีฬาที่มีภาวะกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังหดสั้น วิธีดำเนินการ: อาสาสมัครเป็นนักกีฬาเพศชายอายุ 18-30 ปี มีภาวะกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังหดสั้น จำนวน 48 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มยืดกล้ามเนื้อแบบกระตุ้นระบบประสาท 16 คน กลุ่มยืดกล้ามเนื้อแบบกระตุก 16 คน และกลุ่มควบคุม(ยืดกล้ามเนื้อแบบคงค้าง) 16 คน ระยะเวลาในการฝึก 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ทั้งสามกลุ่มจะได้รับการวัดค่าพีคทอร์คของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าและกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง แบบ concentric และ eccentric, ความสามารถในการกระโดด, มุมองศาการเหยียดเข่า ก่อนและหลังสิ้นสุดโปรแกรมการฝึก ผลการวิจัย: ผู้เข้าร่วมวิจัยจำนวน 48 คน เข้าร่วมการศึกษาครบ 4 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่า ทั้งสามกลุ่ม กลุ่มยืดกล้ามเนื้อแบบกระตุ้นระบบประสาท ,กลุ่มยืดกล้ามเนื้อแบบกระตุก และกลุ่มควบคุม (ยืดกล้ามเนื้อแบบคงค้าง) มีค่าความสามารถในการกระโดด ค่าพีคทอร์คของกล้ามเนื้อเหยียดเข่าและงอเข่า ค่ามุมองศาการเหยียดเข่า เพิ่มขึ้นทั้งสามกลุ่ม และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม โดยใช้ ANCOVA พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ของความสามารถในการกระโดดเมื่อวัดผลทันทีหลังการยืดกล้ามเนื้อ แต่หลังจากเสร็จสิ้นโปรแกรมการยืดกล้ามเนื้อ 4 สัปดาห์ พบว่าไม่มีความแตกต่างกันของค่าความสามารถในการกระโดด ,มุมองศาการเหยียดเข่า, ค่าพีคทอร์คของกล้ามเนื้อเหยียดเข่าและงอเข่าแบบ eccentric ระหว่างกลุ่มยืดกล้ามเนื้อแบบกระตุ้นระบบประสาท แบบกระตุก และแบบคงค้าง สรุปผลการวิจัย: หลังโปรแกรมการยืดกล้ามเนื้อครบ 4 สัปดาห์ การยืดกล้ามเนื้อแบบกระตุ้นระบบประสาท แบบกระตุก และแบบคงค้าง ไม่แตกต่างกันทั้งสามกลุ่ม ทุกกลุ่มสามารถเพิ่มสมรรถภาพทางกายทั้งในด้านความสามารถในการกระโดด มุมองศาการเหยียดเข่า และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ได้ไม่แตกต่างกัน ดังนั้นนักกีฬาสามารถเลือกเทคนิคการยืดกล้ามเนื้อได้ตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล |
Other Abstract: | Abstract— Introduction: Hamstrings tightness is a common problem in athletes and may cause deterioration of sport performance. Appropriate rehabilitation technique to stretch hamstring may improve flexibility and performance. Purpose: The objective of this study is to compare effects of static stretching, ballistic stretching and proprioceptive neuromuscular facilitation stretching on vertical jump height and hamstring flexibility in athlete with hamstring tightness after 4 weeks training peroid. Methods: Forty-eight healthy Thai male athletes with hamstrings tightness aged between 18-30 years old were recruited and randomized into 3 groups; proprioceptive neuromuscular facilitation stretching group (PNF), ballistic stretching group (BS) and control group (static stretching,SS). Subjects participated in 3 time a week, 4-week hamstrings flexibility training program according to group. Vertical jump height by Vertec system and force plate, range of motion, concentric and eccentric peak torque(PT) of hamstrings and quadriceps were recorded before and after training. Results: Forty-eight volunteers (16 of PNF,16 BS and 16 SS) completed the study. Vertical jump height, range of motion, concentric and eccentric peak torque(PT) of hamstrings and quadriceps were significantly increase in three groups after training (p<0.05). Acute vertical jump in PNF group measured by Vertec system was increased but not statistically significant. There were no between groups difference in all measured outcome (ANCOVA, p>0.05). Conclusions: The 4-weeks rehabilitation program of static, ballistic and proprioceptive neuromuscular facilitation stretching could improve performance in athletes with hamstring tightness. PNF stretching is not recommend for acute performance right after stretching. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เวชศาสตร์การกีฬา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32336 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.359 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.359 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
sirikwan_he.pdf | 2.75 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.