Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32357
Title: การวิเคราะห์ระดับการดูแลตนเองของผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกระยะพักฟื้น ในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: An analysis the level of self-care during convalexent pertod of orthopaedic surgical patients in Bangkok Metropolis
Authors: อารีรัตน์ ขำอยู่
Advisors: จินตนา ยูนิพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบระดับการดูแลตนเองของผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกระยะพักฟื้น ในกรุงเทพมหานครที่มีภูมิหลังและการสนับสนุนจากครอบครัวแตกต่างกัน ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกในระยะพักฟื้นโดยส่วนรวม มีระดับการดูแลตนเองด้านความรู้ในการดูแลตนเองและด้านทักษะในการดูแลตนเองในระดับปานกลาง แต่ให้ความสำคัญต่อการดูแลตนเองในระดับสูง 2. ผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกเพศชายและเพศหญิง มีค่าเฉลี่ยระดับการดูแลตนเองทั้ง 3 ด้านไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกที่มีอายุ 20 -40 ปี มีทักษะในการดูแลตนเองสูงกว่าผู้ป่วยที่มีอายุ 41 – 60 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และ ผู้ป่วยที่มีอายุ 41 – 60 ปี มีความรู้ในการดูแลตนเองสูงกว่าผู้ป่วยที่มีอายุ 20 – 40 ปี อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ส่วนค่าเฉลี่ยระดับการดูแลตนเองด้านการให้ความสำคัญต่อการดูแลตนเอง ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4. ผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกที่มีการศึกษาระดับอุดมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา มีทักษะในการดูแลตนเองสูงกว่าผู้ป่วยที่มีการศึกษาระดับประถมศึกษา อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และ .05 ตามลำดับ ส่วนค่าเฉลี่ยความรู้ในการดูแลตนเอง และการให้ความสำคัญต่อการดูแลตนเอง ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 5.ผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกที่มีระดับการสนับสนุนจากครอบครัวต่างกันมีค่าเฉลี่ยระดับการดูแลตนเองทั้ง 3 ด้าน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract: The purposes of this research were to analyse and compare the level of self – care during convalescent period of orthopaedic surgical patients with different background and level of family support. Major findings were as follows: 1.The orthopaedic surgical patients possessed the medium level of knowledge and skill in self – care, and high level self – care value. 2. There was no significant difference between mean scores of the self – care level in all three aspects of male and female patients. 3. Skill in self – care of 20 – 40 year old orthopaedic patients was higher at the .01 level than that of 41 – 60 year old patients. Whereas knowledge in self – care of 41 – 60 year old patients was higher at the .05 level than that of the other group. In addition, there was no significant difference between the mean scores of self – care value of patients with different age level. 4. Skill in self – care of patients with higher education and secondary education were higher at the .01 and .05 level, consequently, than that of the patients with primary education. However, there were no significant difference between the mean scores of the knowledge of self – care and self – care value of patients with different education background. 5. There was no significant difference between mean scores of the self – care level in all three aspects of patients with different level of family support.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32357
ISBN: 9745774979
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Areerut_kh_front.pdf3.83 MBAdobe PDFView/Open
Areerut_kh_ch1.pdf5.03 MBAdobe PDFView/Open
Areerut_kh_ch2.pdf14.44 MBAdobe PDFView/Open
Areerut_kh_ch3.pdf6.67 MBAdobe PDFView/Open
Areerut_kh_ch4.pdf6.62 MBAdobe PDFView/Open
Areerut_kh_ch5.pdf5.92 MBAdobe PDFView/Open
Areerut_kh_back.pdf16.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.