Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32385
Title: การพัฒนามัลติเพล็กเรียลไทม์พีซีอาร์เพื่อการตรวจหาไวรัสชิคุนกุนยาและไวรัสเดงกี
Other Titles: Development of multiplex real-time PCR for detecting chikungunya virus and dengue virus
Authors: ปิยธิดา พงษ์ศิริ
Advisors: ยง ภู่วรวรรณ
สัญชัย พยุงภร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Yong.P@Chula.ac.th
Sunchai.P@Chula.ac.th
Subjects: ไวรัสเดงกี
ไวรัสเดงกี
ไวรัสชิคุนกุนยา
จีโนม
การตรวจคัดโรค
Dengue viruses
Chikungunya viruses
Genomes
Medical screening
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ไวรัสชิคุนกุนยาและไวรัสเดงกีเป็นไวรัสที่มียุงเป็นพาหะนำโรค ซึ่งไวรัสทั้งสองชนิดนี้เป็นไวรัสที่มีความสำคัญเนื่องจากเป็นสาเหตุของโรคไข้เลือดออก นำไปสู่การเสียชีวิตได้ โดยมีรายงานว่าในปี 2552 สำหรับเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาที่ระบาดในไทยมีประมาณ 40,000 รายและ สำหรับสถิติทั่วโลกของไวรัสเดงกีมีผู้ติดเชื้อประมาณ 50 ล้านคนต่อปี และมีผู้เสียชีวิตประมาณ 25,000 คน นอกจากนี้ อาการโดยทั่วไปของการติดเชื้อไวรัสทั้งสองชนิดยังมีอาการใกล้เคียงกันและยังใกล้เคียงกับการติดเชื้อไวรัสตัวอื่นๆ หรืออาการหวัดทั่วๆไป นอกจากนี้ไวรัสชิคุนกุนยาสามารถทำให้เกิดอาการเรื้อรังได้ ดังนั้นวิธีการตรวจที่มีประสิทธิภาพและมีความน่าเชื่อถือจึงสำคัญ เพื่อประโยชน์ต่อการเฝ้าระวังและการรักษาโรคที่ถูกต้อง การศึกษานี้จึงได้ศึกษา complete genome ของไวรัสชิคุนกุนยา เพื่อศึกษาทางด้านลักษณะพันธุกรรมเพื่อดูว่ามีความใกล้เคียงกับสายพันธุ์ใดที่ระบาดและใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการพัฒนาวิธีการตรวจต่อไป โดยผลการศึกษาพบว่าไวรัสชิคุนกุนยาที่พบในประเทศไทยจัดอยู่ในสายพันธุ์ ECSA ซึ่งต่างจากการระบาดในอดีตที่ระบาดโดยสายพันธุ์ Asian จากนั้นจึงพัฒนาวิธีการตรวจไวรัสชิคุนกุนยาและไวรัสเดงกีโดยวิธีมัลติเพล็กเรียลไทม์ฑีซีอาร์ เพื่อความน่าเชื่อถือ รวดเร็ว และจำเพาะต่อไวรัสทั้งสองชนิดโดยผลการพัฒนาวิธีการนี้พบว่า มีประสิทธิภาพสูง มีความจำเพาะ น่าเชื่อถือ สามารถทำซ้ำได้ และไม่มีปฏิกิริยาข้ามต่อไวรัสทั้งสองชนิด และไวรัสชนิดอื่นๆ เช่นไวรัสตับอักเสบ ชนิด เอ, ซี, อี (Hepatitis A, C and E) หรือ ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคไข้สมองอักเสบ (Japanese encephalitis virus, JEV) โดยเมื่อนำวิธีมัลติเพล็กเรียลไทม์ฑีซีอาร์ของทั้งไวรัสชิคุนกุนยาและไวรัสเดงกี ทดสอบกับตัวอย่างจำนวน 290 ตัวอย่าง ที่เป็นตัวอย่างทางคลินิกพบว่าวิธีการนี้มีความจำเพาะ 92.59%, ความไว 97.65% และความแม่นยำถึง 95.82% เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการพีซีอาร์ปกติ
Other Abstract: Chikungunya Virus (CHIKV) and Dengue Virus (DENV) are both Arthopod-borne viruses (Arboviruses) which raise public health concern. In Thailand, there was a report of CHIKV infection about 40,000 cases in 2009 and this virus could cause long term symptoms. DENV cause Dengue Fever and Dengue Hemorrhagic Fever (DF/DHF) with an estimated more than 50 million people per year and 25,000 deaths. Both viruses also share common clinical signs such as the febril of onset and rash. Detecting CHIKV and DENV is crucial role for the doctor and the doctor can give the appropriate treatment to the patients and monitor the patient closely. Our study has focused on characterizing complete genome of CHIKV and found that the virus spreading in Thailand were categorized into ECSA strain which were different than the strain spreading in the past which were Asian strain. Then we study the development of multiplex real-time PCR for detecting CHIKV and DENV which is rapid, reliable, and specific to both viruses. Our result showed that this assay has high efficiency, sensitivity and specificity. Moreover, when our method was tested against other virus such as Hepatitis A, Hepatitis C, Hepatitis E and Japanese encephalitis virus, it showed no cross-reaction. Total of 290 clinical samples were tested and showed that our method has 92.59%
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32385
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1537
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1537
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
piyathida_po.pdf4.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.