Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32387
Title: สภาวะการทำงานและความเครียดของบุคลากรฝ่ายโภชนวิทยาและโภชนบำบัด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Other Titles: The working condition and stress among staffs of the department of dietetics and diet therapy, King Chulalongkorn Memorial Hospital
Authors: พรประภา ม่วงเจริญ
Advisors: อรรถพล สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Atapol.S@Chula.ac.th
Subjects: บุคลากรโรงพยาบาล -- ความเครียดในการทำงาน
ความเครียดในการทำงาน
Hospitals -- Staff-- Job stress
Job stress
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของสภาวะการทำงานและความเครียดของบุคลากรฝ่ายโภชนวิทยาและโภชนบำบัดโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ทั้งหมด จำนวน 190 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามข้อมูลการทำงาน และแบบสอบถามวัดระดับความเครียดและภาวะเบื่องานจากการทำงานแปลโดย ศ.พญ.นันทิกา ทวิชาชาติ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การทดสอบไคสแควร์ ละการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า บุคลากรเป็นเพศหญิง (ร้อยละ 73.7) อายุเฉลี่ย 39.7 ปี การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ร้อยละ 33.2) มีรายได้ (n=171) เฉลี่ย11,213.63 บาท อายุงาน(n=184) เฉลี่ย 13.10 ปี และส่วนใหญ่ปฏิบัติงานอยู่ในตำแหน่ง ลูกจ้าง (ร้อยละ 68.4) บุคลากรมีความเครียดจากการทำงาน ร้อยละ 12.1 และมีภาวะเบื่องาน ร้อยละ 4.7 ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์แบบแปรผันตามกับความเครียดจากการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.001 พบว่า ระดับการศึกษาและรายได้สูงจะมีความเครียดสูง การดื่มกาแฟมีความสัมพันธ์กับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.01 การดื่มแอลกอฮอล์ การมีภาระความรับผิดชอบต่อครอบครัว การมีโรคประจำตัว การได้รับบาดเจ็บหรือป่วย มีความสัมพันธ์กับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p< 0.05 การออกกำลังกาย มีความสัมพันธ์แบบแปรผกผันกับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.05 ปัจจัยด้านการทำงาน พบว่า อายุงาน ตำแหน่งงาน อุณหภูมิ มีความสัมพันธ์แบบแปรผันตามกับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.01 การเข้าเวร งานที่มีความยุ่งยากต้องใช้ความสามารถเฉพาะวิชาชีพ มีความสัมพันธ์กับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.05 สถานที่ทำงานที่มีความอับ มีความอึดอัดคับแคบ มีเสียงดัง มากจะทำให้บุคลากรเกิดความเครียดสูง โดยมีความสัมพันธ์กับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.001 การนอนหลับมีความสัมพันธ์แบบแปรผกผันกับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.01 การที่ผู้บังคับบัญชายอมรับความสามารถ มอบหมายงานตรงกับความรู้ความสามารถ และสนใจความเป็นอยู่ของบุคลากร ทิศทางการดำเนินงานชัดเจน การเข้าใจบทบาทและหน้าที่ จะมีความสัมพันธ์กับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.01 ผู้บังคับบัญชาให้การช่วยเหลือและสนับสนุน บุคลากรสามารถพูดคุยแสดงความคิดเห็นกับผู้บังคับบัญชาได้อย่างอิสระ การขอความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมงาน บุคลากรมีโอกาสในการก้าวหน้าน้อย จะมีความสัมพันธ์กับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.05 ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานที่ยุติธรรม สวัสดิการค่ารักษาพยาบาลที่เพียงพอ ค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลาที่เหมาะสม พอใจกับการพิจารณาขึ้นเงินเดือน เงินเดือนเหมาะสมกับตำแหน่งและภาระงาน และ ผู้บังคับบัญชาระดับสูงรับฟังปัญหาและแก้ไขตามข้อเสนอแนะ พอใจกับการบริหารจัดการบุคคล การเห็นด้วยกับนโยบายต่างๆขององค์กร การสื่อสารข้อมูลข่าวสารที่ชัดเจน การปรับเลื่อนตำแหน่งที่ยุติธรรม มีความสัมพันธ์กับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.001 ปัจจัยทำนายภาวะความเครียดจากการทำงาน ได้แก่ ผู้บังคับบัญชายอมรับความสามารถของบุคลากร เคยขอความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมงาน การสื่อสารข้อมูลข่าวสาร การออกกำลังกาย ค่าตอบแทนจากการทำงานล่วงเวลาเหมาะสม การปรับเลื่อนตำแหน่งยุติธรรม การนอนหลับพักผ่อน ระดับการศึกษา
Other Abstract: The purpose of this Cross-sectional Descriptive Study was to find out the relationship between the working condition and work related stress among staffs of the Department of Dietetics and Diet therapy, King Chulalongkorn Memorial Hospital. Population sample were one hundred ninety we study all of the department. The research instruments were demographic questionnaire, work factors questionnaire, and occupational stress and burnout questionnaire, translated by Professor Nantika Thavichachart. Data were analyzed by descriptive statistics, chi-square test and multiple regression analysis. The results of the study showed that the majority of staffs were female (73.7%), the mean age was 39.7 years, high school of education (33.2%), the mean monthly income was 11,213.63 baht (n = 171), the mean time on the job was 13.10 years (n = 184), the majority of position were employees (68.4%). the prevalence of stress at work and burnout were 12.1% and 4.7 % respectively. Stress at work was significantly associated with demographic factors includes educational level, monthly income (p<0.001), caffeine consumption (p < 0.01), alcohol consumption, family burden, check up, diseases, Injury or illness, and exercise (p < 0.05). Stress at work were variably associated with work factors includes time on the job, position job, temperature (p<0.01), shift work, difficult task (work itself and role) were significantly associated with stress (p<0.05), stuffiness, inconvenience and sound were significantly associated with stress (p<0.001), sleep were inversely associated with stress (p<0.01). Stress at work was significantly associated with confidence of supervisor in my work, Job match skills and being interested (supervisor relationships), strategic direction, understand of role and function (work itself and role) (p < 0.01), supervisor’s support, freedom to express to supervisor (supervisor relationships) , helpful co-worker (co-worker relationship) , possibility of growth(advancement and job security) (p < 0.05), performance appraisal (advancement and job security), medical expenses, overtime pay, salary increase appropriate, salary for the position and workload (welfare and Reward), high-level supervisors listen and solve, human resource management, policies company, communication, and promotion (policy and administration) (p<0.001). eight predictive variables of occupational stress were confidence of supervisor in my work, helpful co-worker, communication, exercise, overtime work payment, promotion, sleep, and educational level.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32387
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1539
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1539
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pornprapa_mu.pdf1.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.