Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3242
Title: | การเปลี่ยนแปลงทางพยาธิวิทยาและการขับออกทางอุจจาระของอะฟลาท็อกซินบี 1 ภายหลังให้ลูกไก่กระทงกินครั้งเดียว |
Other Titles: | The pathological changes and excretion in feces of aflatoxin B1 after a single dose orally in broiler chicks |
Authors: | คณารัตน์ หรินทรานนท์, 2504- |
Advisors: | อัจฉริยา ไศละสูต อนงค์ บิณฑวิหค จิโรจ ศศิปรียจันทร์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Achariya.Sa@Chula.ac.th Anong.B@Chula.ac.th Jiroj.S@Chula.ac.th |
Subjects: | อะฟลาท็อกซิน ไก่กระทง พยาธิวิทยา |
Issue Date: | 2542 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางคลินิก พยาธิวิทยา โลหิตวิทยา เคมีเลือดและศึกษาปริมาณการขับออกของอะฟลาท็อกซินบี 1 ทางอุจจาระเป็นระยะเวลา 10 วัน ในลูกไก่กระทงที่ป้อนอะฟลาท็อกซินบี 1 ขนาด 5 มิลลิกรัม ต่อ 1 กิโลกรัม เพียงครั้งเดียว โดยแบ่งลูกไก่ทดลองออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ป้อนน้ำกลั่น กลุ่มที่ 2 ป้อนน้ำมันมะกอก เป็นกลุ่มควบคุม และกลุ่มที่ 3 ป้อนอะฟลาท็อกซินบี 1 ผลการวิจัยพบว่า ลูกไก่กลุ่มที่ป้อนอะฟลาท็อกซินบี 1 ในวันที่ 2 มีอาการซึม กินอาหารลดลง ค่าโลหิตวิทยาประกอบด้วยค่าฮีมาโตคริต ค่าฮีโมโกลบิน ค่าจำนวนเม็ดเลือดแดงทั้งหมด ค่าจำนวนเม็ดเลือดขาวทั้งหมด ค่าลิมโฟซัยต์ ค่าเฮตเทอโรฟิล ค่าโมโนซัยต์ ค่าอีโอซิโนฟิล และค่าเบโซฟิล มีค่าเปลี่ยนแปลงบ้างในแต่ละกลุ่ม แต่ยังอยู่ในระดับปกติ เช่นเดียวกับค่าเคมีเลือด โดยเฉพาะค่า BUN ซึ่งมีค่าแตกต่างในแต่ละกลุ่ม แต่ยังคงอยู่ในระดับปกติ ผลการศึกษาทางพยาธิวิทยาจากการดูด้วยตาเปล่า ในวันที่ 2 ตับมีจุดเลือดออก (87.5%) และในวันที่ 3-9 ตับมีสีเหลืองซีด (62.5%-87.5%) ในวันที่ 2 และ 3 น้ำหนักตับสัมพัทธ์ไม่เพิ่มขึ้น (P>0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ 1 และ 2 ในวันที่ 2 และ 3 ไตมีลักษณะบวมและสีเหลืองซีด (75%-87.5%) และในวันที่ 2-8 กระเพาะบดมีแผลหลุมลอกหลุด (62.5%-87.5%) ในวันที่ 1-4 เซลล์ตับเริ่มมีการเสื่อมแบบมีไขมันแทรกรอบเส้นเลือดดำกลางแล้วแผ่กระจายแบบมีไขมันแทรกทั่วไปในระดับปานกลางถึงรุนแรง เซลล์ตับตาย ร่วมกับมีการเพิ่มจำนวนของเซลล์เยื่อบุน้ำดี ในวันที่ 5-6 เซลล์ตับเริ่มมีการเรียงตัวกลับสู่สภาพเดิม แต่ยังคงพบการเสื่อมแบบมีไขมันแทรกในระดับอ่อน ในวันที่ 7-8 เซลล์ตับเรียงตัวเป็นกลุ่มและเบียดเซลล์เยื่อบุท่อน้ำดีให้เล็กลงและพบเซลล์ไฟโบรบลาสท์เจริญล้อมเซลล์ตับ ในวันที่ 9-10 เซลล์ตับมีการเรียงตัวเป็นแถวคู่คล้ายสภาพปกติ ส่วนไตในวันที่ 2-3 พบการเสื่อมของเซลล์เยื่อบุท่อไตในระดับอ่อนถึงปานกลาง การขับถ่ายของอะฟลาท็อกซินบี 1 ทางอุจจาระพบว่าในวันที่ 1 มีการขับถ่ายสูงสุด ลดลงอย่งรวดเร็วในวันที่ 3 และลดลงตามลำดับจนสิ้นสุดการทดลอง |
Other Abstract: | The objectives of this research are to study the effect of aflatoxin B1 (5 mg/kg) after a single dose orally in broiler chicks on clinical signs, pathology, hematology, blood chemistry and excretion in feces for 10 days. The experimental broiler chicks were divided into 3 groups as giving sterile water, olive oil and aflatoxin B 1 in group 1, 2 and 3 respectively. The results were : In group 3 showed depression and decreasing of feed consumption. Hematology included hemaocrit, hemoglobin, total red blood cells, total white blood cells, lymphocytes, heterophils, monocytes, eosinophils and basophils were difference between three groups but still in normal range. As well as blood chemistry especially BUN were difference between three groups but still in normal range. Gross pathology, liver showed petechial hemorrhage on day 2 (87.5%), pale yellowish-color on day 3-9 (62.5%-87.5%). The relative weight of liver in group 3 were not significantly increased (P>0.05) in comparison to gtoup 1 and 2. Kidneys were swelling and pale yellowish-color day 2-3 (75%-87.5%). Erosion and ulceration of gizzard mucosa was demonstrated on day 2-8 (62.5%-87.5%). Histopathology showed centrilobular fatty degeneration to panlobular fatty degeneration in moderate to severe degree, hepatic cells necrosis with bile duct proliferation on day 1-4. Hepatic cells showed regenerative changes with mild degree panlobular fatty degeneration on day 5-6. Hepatic cell cords were distorted arrangement rendering atrophy of bile duct epithelium cells with fibroblastic scarring in hepatic tissue on day 7-8. Hepatic cells were completely regenerated on day 9-10. Kidneys showed tubulonephrosis in mild to moderate degree on day 2-3. The excretion of aflatoxin B1 in feces was the highest on day 1, then were remarkedly decreased from day 3 and gradually decreased till the end of observation. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พยาธิชีววิทยาทางสัตวแพทย์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3242 |
ISBN: | 9743343431 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Vet - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
kanarat.pdf | 4.91 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.