Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32440
Title: โลกทัศน์ประชาธิปไตยของตำรวจ : ศึกษากรณีการปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมอาชญากรรม
Other Titles: Democratic perspectives of police : a case study of crime prevention behavior
Authors: พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์
Advisors: ไชยันต์ ไชยพร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาเรื่องโลกทัศน์ประชาธิปไตยของตำรวจ : ศึกษากรณีการปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมอาชญากรรม เป็นการศึกษาวิจัยเอกสาร (documentary research) และวิจัยภาคสนาม (field research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโลกทัศน์ประชาธิปไตยทางการเมืองต่อการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจในการควบคุมอาชญากรรม ผู้วิจัยได้ใช้กลุ่มตัวอย่างตำรวจนครบาลจำนวน 390 คน โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยมัชฌิมเลขคณิต และค่า Anowa F-test การวิจัยครั้งนี้พบว่าโลกทัศน์ทางการเมืองของตำรวจมีแนวโน้มเป็นแบบประชาธิปไตยมากขึ้น ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานในการศึกษาที่ได้ตั้งไว้ คือตำรวจระดับเดียวกันที่มีชั้นยศต่ำมีโลกทัศน์เป็นประชาธิปไตยมากกว่าตำรวจที่มีชั้นยศสูง มีความสัมพันธ์ที่แตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญที่ .00 ตำรวจที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติหน้าที่ระยะสั้นจะมีโลกทัศน์ที่เป็นประชาธิปไตยมากกว่าตำรวจที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติหน้าที่มายาวนาน มีความสัมพันธ์ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ตำรวจที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมอาชญากรรมโดยตรงจะมีโลกทัศน์ ที่เป็นประชาธิปไตยมากกว่าตำรวจที่ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมอาชญากรรมโดยตรง มีความสัมพันธ์ที่แตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญ .01 และปฏิเสธสมมติฐานที่กล่าวว่าตำรวจที่มีการศึกษาต่ำจะมีโลกทัศน์ที่เป็นประชาธิปไตยมากกว่าตำรวจที่มีการศึกษาสูง เพราะค่าระดับสำคัญที่ได้รับคือค่า .08 ซึ่งสูงกว่าค่าระดับนัยสำคัญที่กำหนด .05
Other Abstract: The democratic perspectives of police men : a case study of crime prevention behavior study was the documentary research and field research that had the purpose to study the democratic perspectives of police men and the crime prevention behavior. The samples were 390 metropolis police men. Percentage, mean, one way analysis of variance and F-test were used for analysis. The research found that the police’s political perspectives tended to be democratic as the given hypothesis :the lower position police had the be democratic as the given hypothesis : the lower position police had the higher democratic perspectives than the higher position police statistically significant at the level of .01 ;the shorter time performance experience police had the higher democratic perspectives than the longer time performance experience police statistically significant at the level of.01; the police who had direct duty of crime prevention had the higher of crime prevention statistically significant at the level of .01. The result rejected the hypothesis that the lower educated police had the higher democratic perspectives than the higher educated police statistically significant at the level of .08 which more than the defined significant level of .05.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32440
ISBN: 9746322435
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pongpat_ch_front.pdf4.77 MBAdobe PDFView/Open
Pongpat_ch_ch1.pdf2.47 MBAdobe PDFView/Open
Pongpat_ch_ch2.pdf8.36 MBAdobe PDFView/Open
Pongpat_ch_ch3.pdf2.51 MBAdobe PDFView/Open
Pongpat_ch_ch4.pdf5.31 MBAdobe PDFView/Open
Pongpat_ch_ch5.pdf2.34 MBAdobe PDFView/Open
Pongpat_ch_back.pdf5.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.