Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3245
Title: | การแก้ไขเกินเหตุของ (ล) ในภาษาไทย ของบุคลากรประจำสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 |
Other Titles: | Hypercorrection of (1) in Thai spoken by the personnel of the Television of Thailand Channel 11 |
Authors: | ประภา ภิรมย์ |
Advisors: | อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | Amara.Pr@Chula.ac.th |
Subjects: | ภาษาไทย -- คำควบกล้ำ สื่อมวลชนกับภาษา ภาษาไทย -- การออกเสียง |
Issue Date: | 2542 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้ศึกษาพฤติกรรมการแก้ไขเกินเหตุของ (ล) หรือการออกเสียง (ล) เป็น [r] ในภาษาไทยของบุคลากรประจำสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 โดยเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของอัตราการเกิดของพฤติกรรมดังกล่าวกับตัวแปรทางสังคม 3 ตัวแปรได้แก่ ระดับการศึกษา อาชีพและวัจนลีลา และนำผลที่ได้มาทดสอบนัยสำคัญทางสถิติด้วยค่าไคสแควร์ สมมติฐานของการวิจัยนี้มี 3 ประการ ได้แก่ (1) บุคลากรที่มีการศึกษาระดับปานกลางมีความถี่ของการออกเสียง (ล) เป็น [r] สูงที่สุด (2) ระหว่างบุคลากรที่เป็นผู้ประกาศข่าวกับผู้ที่ทำหน้าที่อื่น บุคลากรที่ทำหน้าที่อื่นมีความถี่ของการออกเสียง (ล) เป็น [r] สูงกว่าผู้ประกาศข่าว (3) ในแง่วัจนลีลาการแก้ไขเกิดเหตุจะพบในการอ่านข่าวมากกว่าในการให้สัมภาษณ์ ในการเปรียบเทียบอัตราการแก้ไขเกินเหตุของ (ล) กับตัวแปรเรื่องระดับการศึกษา ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างที่มีการศึกษาระดับสูง ระดับปานกลางและระดับต่ำกลุ่มละ 15 คน ผลปรากฏว่าบุคลากรที่มีการศึกษาสูงมีอัตราการแก้ไขเกิดเหตุของ (ล) สูงที่สุด รองลงมาคือ บุคลากรที่มีการศึกษาระดับปานกลาง และบุคลากรที่มีการศึกษาระดับต่ำไม่มีอัตราการแก้ไขเกิดเหตุของ (ล) อยู่เลย ในการออกเสียงทั้งสองปริบท ส่วนการศึกษาอัตราการแก้ไขเกินเหตุ (ล) กับตัวแปรเรื่องอาชีพ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ประกาศข่าว และบุคลากรอื่นซึ่งมีการศึกษาระดับเดียวกับผู้ประกาศข่าว คือ ระดับสูง และผลการวิจัยปรากฏว่าบุคลากรอื่นมีอัตราการแก้ไขเกินเหตุของ (ล) สูงกว่าผู้ประกาศข่าวในการออกเสียงทั้งสองปริบทเช่นกัน สำหรับการศึกษาความสัมพันธ์ของอัตราการแก้ไขเกินเหตุของ (ล) กับตัวแปรวัจนลีลา ผู้วิจัยเปรียบเทียบการออกเสียงของผู้ประกาศข่าว ในการให้สัมภาษณ์กับการอ่านออกอากาศจริง ผลการวิจัยปรากฏว่าผู้ประกาศข่าวมีอัตราการแก้ไขเกินเหตุของ (ล) ในวัจนลีลาการให้สัมภาษณ์สูงกว่าในวัจนลีลาการอ่านออกอากาศ ในปริบทที่เป็นพยัญชนะเดี่ยวแต่ในปริบทที่เป็นพยัญชนะควบกล้ำผู้ประกาศข่าวมีอัตราการแก้ไขเกินเหตุของ (ล) เท่ากันในทั้งสองวัจนลีลา |
Other Abstract: | This study investigates the relationdhip between hypercorrection of (l) in Thai spoken by the personnel of the Television Channel 11 and three social variables; namely, education, occupation, and style. The data were quantitatively analyzed and the chi-square test was used to verify the significance of the relationship. The hypotheses of this study are: (1X the group at the middle level of education use hypercorrective variant more frequently than the other groups. (2) Between the news announcers and the other groups, the former use the hypercorrective variant more frequently than the latter. (3) With regards to style, hypercorrection is found more in news reading than interviews. The analysis of the relationship between the pronunciation of (l) and eduction reveals that the more educated group uses [r], which is the hypercorrective variant of 9l), more frequently than the less educated. There is grading patterns of the hypercorrection from the most educated to the least educated group. The second variable,occupation, divides the population into two groups : the news announcers and others. Both are at the same educational level-the highest in this study. It is found that the latter group uses the hypercorrective variant [r] more frequently than the news announcers. As for the relationship between style and hypercorrection, the data collected from interviewing the news announcers and from recording their news announcement on air show that they use [r] in interview style more frequently than in news-reading style, when (l) occurs initially, but equally frequently in both styles when (l) occurs in clusters. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ภาษาศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3245 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.243 |
ISBN: | 9743346988 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.1999.243 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.