Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32549
Title: ผลของการจัดการเรียนการสอนวิชาสุขศึกษา ด้วยรูปแบบบทบาทสมมติที่มีต่อผลลัพธ์การเรียนรู้และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3
Other Titles: Effects of health education instruction using role playing model on learning outcomes and problem solving ability of ninth grade students
Authors: วรกมล สุนทรานนท์
Advisors: จินตนา สรายุทธพิทักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: สุขศึกษา (มัธยมศึกษา) -- การศึกษาและการสอน -- กิจกรรมการเรียนการสอน
การแก้ปัญหาในวัยรุ่น
การเรียนรู้
การแสดงบทบาท
กิจกรรมการเรียนการสอน
Health education (Secondary) -- Study and teaching -- Activity programs
Problem solving in adolescence
Learning
Role playing
Activity programs in education
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติและความสามารถในการแก้ปัญหา ในวิชาสุขศึกษาก่อนและหลังการทดลอง ระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนด้วยรูปแบบบทบาทสมมติกับนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบปกติ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติและความสามารถในการแก้ปัญหา ในวิชาสุขศึกษาหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนด้วยรูปแบบบทบาทสมมติกับนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553จำนวน 64 คน ของโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม แบ่งเป็นนักเรียนกลุ่มทดลองที่เรียนด้วยรูปแบบบทบาทสมมติจำนวน 32 คน และนักเรียนกลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนแบบปกติจำนวน 32 คน ดำเนินการสอนนักเรียนกลุ่มทดลองโดยผู้วิจัย ส่วนกลุ่มควบคุมครูประจำวิชาเป็นผู้สอนตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนการสอนวิชาสุขศึกษาด้วยรูปแบบบทบาทสมมติ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติและการปฏิบัติ แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.84 ค่าความยากง่ายระหว่าง 0.30 - 0.85 และค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.27- 0.71 แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านเจตคติมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.83 แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการปฏิบัติมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.84 และแบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหามีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.687 ค่าความยากง่ายระหว่าง 0.231- 0.885และค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.20 - 0.769 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างด้วยค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนด้วยรูปแบบบทบาทสมมติหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ส่วนค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านเจตคติและการปฏิบัติ ของนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนด้วยรูปแบบบทบาทปกติ หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 แต่ด้านความรู้และความสามารถในการแก้ปัญหาไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 2. ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนด้วยรูปแบบบทบาทสมมติสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
Other Abstract: This study was a quasi-experimental research. The purposes were: 1) to compare knowledge, attitude, practice achievements and problem solving ability of health education subject before and after experiment between the experimental group who studied by using the role-playing method and the control group who studied by using the conventional method and 2) to compare knowledge, attitude, practice achievements and problem solving ability of health education between the experimental group and the control group. The sample was 64 students from the ninth grade of Chulalongkorn University Demonstration School, the second semester of academic year 2010. The thirty two students in the experimental group were assigned to study by using the role playing method which was taught by the researcher while the other thirty-two students in the control group were assigned to study with the conventional teaching method which was taught by regular heath education teacher. The research tools were composed of the learning activity lesson plans using the role playing-method. The quality of the tests of the academic achievement tests on knowledge, attitude, practice, and problem solving ability were: knowledge test had reliability 0.84, the difficulty levels were 0.30-0.80 ,the discriminative levels were 0.27-0.71 ;attitude test had reliability 0.83 ;practice test had reliability 0.84 ;and problem solving ability test had reliability 0.68. The obtained data were then analyzed interms of the means, standard deviations, and t-test. The research findings were as follows: 1. The academic achievement on knowledge, attitude, practice and problem solving ability of health education subject of the experimental group after learning through the role-playing method had significantly better than before experiment at.05 level. The academic achievement of the control group after experiment by using the conventional method had significantly better than before experiment at.05 level in the area of attitude and practice. Moreover, the area of knowledge and problem solving ability were found not significantly at.05 level. 2. The academic achievement on knowledge, attitude, practice and problem solving ability of health education subject of the experimental group after experiment by using the role-playing method had significantly higher than the control group by using the conventional method at.05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32549
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1705
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1705
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Worakamol_su.pdf2.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.