Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32596
Title: | นโยบายการทิ้งกลุ่มข้อมูลสำหรับเครือข่ายไร้สายแบบแอดฮอกบนยานพาหนะ |
Other Titles: | A packet dropping policy on vehicular ad-hoc networks |
Authors: | วิภาวี วิริยพงษ์สุกิจ |
Advisors: | กุลธิดา โรจน์วิบูลย์ชัย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Kultida.R@Chula.ac.th |
Subjects: | เครือข่ายแอดฮอก ระบบสื่อสารไร้สาย ยานพาหนะ Ad hoc networks (Computer networks) Wireless communication systems Vehicles |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การสื่อสารบนเครือข่ายไร้สายแบบแอดฮอกบนยานพาหนะเป็นการสื่อสารที่ได้รับความสนใจสูง เนื่องจากเป็นการสื่อสารที่มีลักษณะเฉพาะตัว เช่นการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง การเปลี่ยนทิศทาง ซึ่งส่งผลให้การรับ-ส่งข้อมูลนั้นได้รับผลกระทบจากการเชื่อมต่อเป็นช่วงๆ และเกิดความความล่าช้า ดังนั้นโพรโทคอลส่วนใหญ่ได้นำวิธีการทำงานแบบ Store-and-Forward มาใช้ เพื่อช่วยให้การทำงานของโพรโทคอลมีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามงานวิจัยส่วนใหญ่ให้ความสนใจในเรื่องของการหาเส้นทางในการรับ-ส่งข้อมูลเป็นส่วนมาก แต่ปัญหาอีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจนั่นคือ การจัดการบัฟเฟอร์ เนื่องจากมีข้อมูลจำนวนมากที่ถูกรับ-ส่งอยู่บนเครือข่าย และในความเป็นจริงขนาดบัฟเฟอร์ของโหนดย่อมมีอย่างจำกัด หากบัฟเฟอร์ของโหนดเต็ม จะมีวิธีจัดการกับข้อมูลที่อยู่ในบัฟเฟอร์นั้นได้อย่างไร เพื่อให้การรับ-ส่งข้อมูลยังสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิทยานิพนธ์นี้ได้ทำการออกแบบนโยบายการทิ้งกลุ่มข้อมูลที่ใช้ข้อมูลความหนาแน่น (จำนวนโหนดเพื่อนบ้าน) มาประมาณค่าสำเนาของกลุ่มข้อมูลที่เกิดขึ้น ดังนั้นเมื่อเกิดกรณีที่บัฟเฟอร์ของโหนดเต็ม ก็จะพิจารณาทิ้งกลุ่มข้อมูลที่มีค่าสำเนามากที่สุด เนื่องจากสำเนาของกลุ่มข้อมูลที่มีค่ามากที่สุดนั้นสะท้อนถึงจำนวนของกลุ่มข้อมูลที่ถูกแพร่ไปในระบบเป็นจำนวนมาก โอกาสที่ข้อมูลนั้นจะถูกส่งไปถึงโหนดปลายทางแล้ว หรือมีโหนดอื่นที่ยังเก็บกลุ่มข้อมูลนั้นไว้ก็มีสูงเช่นกัน จากผลการทดลองนโยบายการทิ้งกลุ่มข้อมูลที่นำเสนอให้ค่าความเชื่อถือได้สูงกว่านโยบายอื่นๆ อีกทั้งยังมีการกระจายตัวของกลุ่มข้อมูลที่เหลืออยู่ในระบบที่ใกล้เคียงกันในทุกกลุ่มข้อมูล และสามารถนำมาปรับใช้ได้กับโพรโทคอลที่มีพื้นฐานการทำงานแบบ Store-and-Forward สำหรับเครือข่ายไร้สายแบบแอดฮอกบนยานพาหนะ |
Other Abstract: | Vehicular Ad-hoc Network (VANET) is one of the interesting research topics. Because VANET has some special characteristics such as speed of node and intermittent connectivity. Due to an intermittent connectivity or a long-time disconnection many protocols in VANET need a store-and-forward technique to improve their performance. So a node will store its data into its buffer then it can send the data to other nodes in such an intermittent connectivity scenario. However most of the researchers are interested only in a routing improvement. In fact node’s buffer size is limited and node need a solution to manage their buffer so nodes can store the right packets and provide an efficient operation. This thesis proposes a dropping policy for protocols in VANET. The proposed policy use number of packet copies to decide which packet will be dropped. When nodes receive the new packet and its buffer is full, a packet with highest copy value will be removed from nodes buffer. Moreover this thesis proposes the mechanism to estimate copy value based on density information and solutions for updating copy value in each scenario that is flexible for most of store-and-forward protocols for VANET. From the simulation results, all packets are distributed over nodes in scenarios with almost the same amount of packet copies. The policy also provides the highest reliability results among other traditional policies. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32597 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.372 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.372 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
wipawee_vi.pdf | 3.45 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.