Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/326
Title: รูปแบบและกลยุทธ์การจัดตั้งมหาวิทยาลัยบรรษัทในประเทศไทย
Other Titles: Models and strategies for establishing corporate university in Thailand
Authors: ทิพยรัตน์ สีเพชรเหลือง
Advisors: พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์
ชินภัทร ภูมิรัตน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Pansak.P@chula.ac.th
Subjects: สถาบันอุดมศึกษา--ไทย--การบริหาร
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
การศึกษาขั้นอุดมศึกษา--ไทย
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาวิวัฒนาการของมหาวิทยาลัยบรรษัทต่างประเทศ นำเสนอรูปแบบมหาวิทยาลัยบรรษัทในประเทศไทย และกลยุทธ์การจัดตั้งมหาวิทยาลัยบรรษัทในประเทศไทย การศึกษาวิวัฒนาการมหาวิทยาลัยบรรษัทต่างประเทศ ดำเนินโดยการวิเคราะห์สาระและใช้วิธีการวิจัย EDFR ในการพัฒนารูปแบบมหาวิทยาลัยบรรษัทในประเทศไทยกับกลุ่มตัวอย่าง 25 คน ตรวจสอบรูปแบบและกำหนดกลยุทธ์โดยการประชุมผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 20 คน ผลการวิจัยพบว่า มหาวิทยาลัยบรรษัทต่างประเทศมีวิวัฒนาการจากสาเหตุหลายประการ ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของมหาวิทยาลัยบรรษัทได้แก่ 1) การเป็นหน่วยศึกษาอบรมแบบรวมศูนย์เชิงนโยบาย และมีโปรแกรมการศึกษาเฉพาะทาง 2) การรองรับการขยายตัวและเติบโตขององค์กร 3) การสนับสนุนการปรับเปลี่ยนโครงสร้างและวิธีดำเนินงานขององค์กร 4) การส่งเสริมองค์กรให้เป็นผู้นำทางธุรกิจและได้เปรียบด้านการแข่งขัน 5) การเป็นแหล่งผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง 6) การส่งเสริมองค์กรแห่งการเรียนรู้และการเรียนรู้ตลอดชีวิต 7) การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลากรตรงตามความต้องการและกลยุทธ์ของบรรษัท 8) การนำปรัชญา หลักการ แนวคิด ค่านิยม และวัฒนธรรมของบรรษัทมาเป็นหลักในการจัดการศึกษา รูปแบบของมหาวิทยาลัยบรรษัทในประเทศไทย ประกอบด้วยโครงสร้างการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยบรรษัท 12 ด้านได้แก่ การบริหารจัดการ วิสัยทัศน์ การเงิน องค์กร การมีส่วนร่วม ผู้เรียน หลักสูตรและการเรียนการสอน เทคโนโลยีการศึกษา การวัดและประเมินผล การสื่อสารและประชาสัมพันธ์ การจัดตั้งและเปิดดำเนินการ และการรับรองมาตรฐานการศึกษา โดยที่แต่ละด้านส่วนใหญ่มีความเหมาะสม และเป็นไปได้ในระดับมากและมากที่สุด ยกเว้นการดำเนินงานในรูปสภามหาวิทยาลัย คล้ายกับสถาบันอุดมศึกษาทั่วไปและการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ อยู่ในระดับปานกลางและการแบ่งศาสตร์การศึกษา เป็นคณะวิชาคล้ายมหาวิทยาลัยทั่วไปอยู่ในระดับน้อย กลยุทธ์การจัดตั้งมหาวิทยลัยบรรษัทประกอบด้วยกลยุทธ์หลัก 3 ด้านคือ ด้านบริหารจัดการทั่วไป ด้านบริหารจัดการวิชาการ และด้านกลไกการอุดมศึกษาของรัฐ มีกลวิธีที่สำคัญคือ 1) จัดตั้งโดยไม่ต้องรอการปรับกฎหมายประเภทสถาบันคู่สัญญา สถาบันสมทบ สถาบันอุดมศึกษาทั่วไป ศูนย์เฉพาะทางในมหาวิทยาลัย และสถาบันการศึกษาเฉพาะทาง 2) จัดตั้งเป็นสถาบันอิสระซึ่งมีความเหมาะสมมากที่สุด แต่ต้องรอการปรับกฎหมาย 3) นำระบบคุณวุฒิทางวิชาชีพ (Thai Vocational Qualification: TVQ) มาใช้ในการรับรองมาตรฐานการศึกษา การกำหนดหลักสูตร การเรียนการสอน และการวัดประเมินผล 4) รัฐให้การสนับสนุนและจูงใจให้ดำเนินการ 5) สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถานประกอบการและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ข้อเสนอแนะจากงานวิจัย คือ องค์กรและสถานประกอบการ น่าจะได้นำรูปแบบและกลยุทธ์การจัดตั้งมหาวิทยาลัยบรรษัทไปใช้เป็นกลยุทธ์หนึ่งในการพัฒนาองค์กร และสร้างความเชื่อมโยงการดำเนินการระหว่างหน่วยงานรัฐด้านการศึกษา สถานประกอบการ และสถาบันอุดมศึกษาทั่วไป โดยเฉพาะด้านการจัดตั้งและการรับรองมาตรฐานการศึกษาให้บังเกิดผลเชิงรูปธรรม
Other Abstract: To study the evolution of coporate universities, to investigate corporate university models in Thailand and to set strategies for establishing corporate universities in Thailand. The research methodology were: content analysis for studying evolution of corporate universities, EDFR with 25 experts for investigate corporate university models in Thailand. And meeting of 20 experts for verification of model and setting strategies for establishing corporate universities in Thailand. It was found that corporate universities were developed for many reasons. Which are core characteristics of corporate universities included: 1) being policy-centralized educational and training units with a professional program, 2) reinforcing organization growth and expansion, 3) being the support basis organizational restructure, 4) providing business leadership and competitive advantage, 5) being a change agent, 6) being a learning organization and promoting lifelong learning, 7) developing the human resources of the organization to meet business and organizational needs, and 8) using an organization philosophy, 9) promoting and promulgating values and corporate culture as the principle of the organization's education. The components of the corporate university model in Thailand consist of: governance, vision, funding, organization, students, curriculum and instruction, partnership, evaluation, communication, educational technology, establishment, accreditation and recognition. The study shows that mostly components are fairly feasible and most likely achievable. Excepting, managing governance body like traditional university and mobilizing fund from the stock market were moderately feasible. And the least feasible was dividing department of faculty as traditional university. The results of the research showed that the main strategic areas for establishing corporate universities in Thailand were: 1) general management 2) academic management and 3) government mechanisms for higher education management. The important tactics were: 1) establishment with the present law in contractual partnership institutions, affiliation institutions, traditional universities, specific centers in traditional universities and specialized institutions for public organization, 2) establishing stand alone institutions which wait for new laws, 3) using Thai Vocational Qualification (TVQ) as a tool for accreditation, evaluation and curriculum development 4) motivating and supporting from the government and 5) setting up the network from corporate and related organizations. This study recommend that corporate and organization ought to use this model and strategies as a tool for organizational development. Particularly, creating the connection of educational organization, corporation and traditional universities in establishment and educational recognition.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/326
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.679
ISBN: 9741713428
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.679
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tippayarat.pdf5.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.