Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32701
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การ ความรู้สึกว้าเหว่ ความทนทาน กับความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย |
Other Titles: | Relationships between organizational climate, loneliness, hardiness, and job performance of staff nurses in the hospitals under the jurisdiction of the ministry of university affairs |
Authors: | อัมเรศน์ ชาวสวนกล้วย |
Advisors: | จินตนา ยูนิพันธุ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2534 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย เพื่อศึกษาความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการ บรรยากาศองค์การ ความรู้สึกว้าเหว่ และความทนทาน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทำนาย กับความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการ และสร้างสมการพยากรณ์ ความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการ โดยใช้ตัวอย่างประชากรเป็นพยาบาลประจำการ จำนวน 324 คน และหัวหน้าหอผู้ป่วยจำนวน 218 คน ซึ่งใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดความสามารถในการปฏิบัติงาน บรรยากาศองค์การ ความรู้สึกว้าเหว่ และความทนทาน ผลการวิจัยที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้ 1.ความสามารถในการปฏิบัติงานและความทนทานของพยาบาลประจำการ อยู่ในระดับสูง แต่ความรู้สึกว้าเหว่อยู่ในระดับปานกลาง พิจาณาความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการในทักษะย่อย 6 ทักษะคือ การเป็นผู้นำ การวางแผนและประเมินผล การสื่อสาร และการสร้างสัมพันธภาพ การดูแลในระยะวิกฤต และการพัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ อยู่ในระดับสูงแต่การสอนผู้ป่วย ญาติ และการให้ความร่วมมือ อยู่ในระดับปานกลาง 2. บรรยากาศองค์การของพยาบาลประจำการ มีแนวโน้มเป็นแบบผสม อันดับรองมีแนวโน้มเป็นแบบปิดและแบบเปิดตามลำดับ 3. บรรยากาศองค์การ มิติมิตรสัมพันธ์ มิติเป็นแบบอย่าง มิติกรุณาปรานี และความสามารถควบคุมตนเอง มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำกับความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนบรรยากาศองค์การ มิติขาดความสามัคคี มิติอุปสรรค มิติขวัญ มิติห่างเหิน มิติมุ่งผลงาน ความว้าเหว่จากวิชาชีพ ความว้าเหว่ส่วนบุคคล ความยึดมั่น ความท้าทาย ไม่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการ 4. บรรยากาศองค์การมิติกรุณาปรานี (CON) เป็นตัวแปรเดียวที่สามารถพยากรณ์ความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และมีสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ร้อยละ 3.73 (R² = .0373) และสามารถเขียนสมการพยากรณ์ของความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการในรูปคะแนนมาตรฐานคือ Z’ = .1931CON |
Other Abstract: | This descriptive research was designed to study job performance organizational climate, loneliness and hardiness and to search for variables that would be correlated and able to predict the job performance of professional nurses. Research subjects consisted of 324 staff nurses and 218 head nurses selected by simple random sampling technique. Data collected by using job performance scale, organizational climate, loneliness and hardiness questionnaires. The followings were the major findings of the study: 1. Job performance and hardiness of staff nurses were in the high level but loneliness was at the medium level. Regarding the level of job performance of staff nurses in each skills, leadership skill, planning and evaluation skill, interpersonal relationship and communication skill, critical care, and professional development skill were in the high level, but that of teaching and collaboration skill was in the medium level. 2. Staff nurses perception of organizational climate tended to be the mixed climate. Other patterns found from the data analysis included closed and opened climates. 3. Organizational climate in the dimension of intimacy, thrust, consideration and control were significantly and positively related at the low level to job performance of staff nurses. Whereas, organizational climate in the dimensions of disengagement, hindrance, esprit, aloofness, production emphasis, professional loneliness, personal loneliness, commitment and challenge were not correlated to job performance. 4. The consideration (CON) dimension of organizational climate was the only one predictor of job performance of professional nurses. The predictability was accounted for 3, 73 (R² = .0373) of variance. The predicted equation in standard score was Z’ = .1931CON. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พลศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32701 |
ISBN: | 9745787337 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Ammarate_ch_front.pdf | 7.87 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ammarate_ch_ch1.pdf | 11.23 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ammarate_ch_ch2.pdf | 30.34 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ammarate_ch_ch3.pdf | 7.9 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ammarate_ch_ch4.pdf | 20.71 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ammarate_ch_ch5.pdf | 14.84 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ammarate_ch_back.pdf | 14.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.