Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33043
Title: ผลของการจัดการเรียนการสอนที่มีต่อความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนในวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน : การวิเคราะห์อภิมานข้ามวัฒนธรรม
Other Titles: Effects of instruction on english writng abilities of students in different cultures: a cross-cultural mets-analysis
Authors: อภิชาติ คำบุญเรือง
Advisors: สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Siripaarn.S@Chula.ac.th
Subjects: ภาษาอังกฤษ -- การเขียน
ภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน
การศึกษาข้ามวัฒนธรรม
การวิเคราะห์อภิมาน
English language -- Writing
English language -- Study and teaching
Cross-cultural studies
Meta-analysis
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์สภาพและความสัมพันธ์ของขนาดอิทธิพลการจัดการเรียนการสอนที่มีต่อความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษกับคุณลักษณะงานวิจัย 2) เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบขนาดอิทธิพลการจัดการเรียนการ สอนที่มีต่อความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษระหว่างงานวิจัยที่ศึกษาในวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน 3) เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้ ด้านการจัดการเรียนการสอนการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนของนักเรียน และพัฒนาการจัดการเรียน การสอนของผู้สอนในวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน งานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์ในครั้งนี้ เป็นงานวิจัยเชิงทดลองทั้งหมด 56 เรื่อง ที่ทำขึ้น ในประเทศไทยและตีพิมพ์ในช่วงปี พ.ศ. 2516 ถึง 2552 จำนวน 39 เรื่อง และทำขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ตีพิมพ์ในวารสารช่วง ปี ค.ศ. 1986 ถึง 2010 จำนวน 17 เรื่อง ตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัยมีทั้งหมด 36 ตัวแปร เครื่องมื่อที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบ บันทึกคุณลักษณะงานวิจัย และแบบประเมินคุณภาพงานวิจัย การวิเคราะห์อภิมานใช้วิธีการของ Glass, McGaw และ Smith (1981) จากงานวิจัยทั้งหมด 56 เล่ม ได้ขนาดอิทธิพลจำนวน 67 ค่า การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ความ แปรปรวน และ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณผลการสังเคราะห์งานวิจัยพบว่า 1. งานวิจัยตีพิมพ์มากที่สุดในช่วงปี พ.ศ 2545 ถึง 2549 งานวิจัยของไทยส่วนใหญ่ตีพิมพ์ในช่วงปี พ.ศ 2535 ถึง 2539 และงานวิจัยของสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่ตีพิมพ์ในช่วงปี พ.ศ 2545 ถึง 2549 งานวิจัยส่วนใหญ่ใช้แบบแผน Randomized Control- Group ซึ่งใช้มากในงานวิจัยของสหรัฐอเมริกา ในขณะที่งานวิจัยของไทยใช้แบบแผน The One-Group เป็นส่วนใหญ่ ด้านการ จัดการเรียนการสอนการเขียนภาษาอังกฤษพบว่า ส่วนใหญ่เน้นการให้ผลย้อนกลับ/การประเมินผล ในวัฒนธรรมไทยส่วนใหญ่เน้น การสอนทักษะ/ไวยากรณ์/ความรู้ ในขณะที่วัฒนธรรมสหรัฐอเมริกาจะเน้นไปที่การช่วยเหลือ/เสริมแรง 2. ขนาดอิทธิพลงานวิจัยของไทยมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าขนาดอิทธิพลของงานวิจัยสหรัฐอเมริกาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ตัว แปรกำกับคุณลักษณะงานวิจัยที่ส่งผลต่อความแตกต่างของค่าเฉลี่ยขนาดอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ประเทศที่ผลิต งานวิจัย การใช้ภาษาอังกฤษของผู้สอน แหล่งที่ตีพิมพ์งานวิจัย รูปแบบการตีพิมพ์ สถานภาพของผู้วิจัย การจัดกลุ่มตัวอย่างเข้า กลุ่ม แบบแผนการวิจัยเชิงทดลอง ประเภทความตรงของเครื่องมือวัดตัวแปรตาม การควบคุมตัวแปรแทรกซ้อน และ สถิติที่ใช้ใน การทดสอบสมมุติฐาน นอกจากนี้ ยังไม่พบว่ามีปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรกำกับด้านวัฒนธรรมกับตัวแปรกำกับคุณลักษณะ งานวิจัยอื่น ๆ ตัวแปรทำนายที่มีอิทธิพลทางตรงต่อขนาดอิทธิพลการจัดการเรียนการสอนการเขียนภาษาอังกฤษอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติมีเพียงตัวแปรเดียว คือ การไม่มีการควบคุมตัวแ 3. ด้านการจัดการเรียนการสอนการเขียนภาษาอังกฤษพบว่า การจัดการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการเขียนมีขนาด อิทธิพลสูงที่สุด (3.23) รองลงมา คือ การสอนทักษะ/ไวยากรณ์/ความรู้ (1.80) การให้ผลย้อนกลับ/ประเมินผล (1.04) การสอน กลวิธี (1.00) และการช่วยเหลือ/เสริมแรง (0.81) ในงานวิจัยของไทยพบว่า การจัดการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการเขียนมีขนาด อิทธิพลสูงที่สุด (3.23) รองลงมา คือ การสอนทักษะ/ไวยากรณ์/ความรู้ (2.05) การสอนกลวิธี (1.66) การให้ผลย้อนกลับ/ ประเมินผล (1.17) และการช่วยเหลือ/เสริมแรง (1.17) ส่วนงานวิจัยของสหรัฐอเมริกาพบว่า การสอนกลวิธีมีขนาดอิทธิพลสูงที่สุด (0.67) รองลงมา คือ การสอนทักษะ/ไวยากรณ์/ความรู้ (0.63) การให้ผลย้อนกลับ/ประเมินผล (0.51) และการช่วยเหลือ/เสริมแรง (0.22)
Other Abstract: The purposes of the present study were: 1) to analyze the overall picture and the relation between the effect sizes of English writing instruction and study features, 2) to comparatively analyze the effect sizes of English writing instruction research conducted in different cultures, and 3) to synthesize the body of knowledge about English writing instruction in order to enhance students’ English writing abilities and to advance teachers’ English writing instruction in different cultures. Fifty-six experimental studies were gleaned for this cross-cultural meta-analysis. Between all the research studies were 39 which were conducted and published in Thailand from B.E. 2516 to B.E. 2552, and 17 which were carried out and published in the United States during 1989-2010. Thirty-six study features were coded using the coding form and the studies were evaluated using the evaluation form. This meta-analytical procedure followed the method developed by Glass, MacGaw and Smith (1981). By employing this method, 67 effect sizes were found from 56 studies. The data was statistically analyzed usng descriptive statistics, analysis of variance (ANOVA), and multiple regression anaysis. The results of the research synthesis were as follows: 1. The majority of the studies on English writing instruction were published between B.E. 2545 and B.E. 2549. In Thailand, the studies were mostly published between B.E. 2535 and B.E. 2539, while most of the studies in the U.S. were published between B.E. 2545 and B.E. 2549. The experimental design mostly adopted in the research was Randomized Control Group Design, which was used in virtually all the U.S. studies, whereas the One Group Design was mostly employed in the Thai research. On the instruction front, most of the research investigated the effects of feedback/evaluation. In Thai culture, teaching skills/grammar/knowledge was rese culture, the majority of the studies focused primarily on strategy instruction. 2. The average effect size of the Thai research was significantly greater than that of the US research. Ten moderators showed statistically significant differences in effect size: country, instructors’ English use, source, publication, researcher status, subject assignment, experimental design, instrument validity, control of nuisance, and statistical test. In addition, no interaction was found between a country moderator and others. nly a no-control-of-nuisance variable proved a significant predictor of the effect size. 3. The average effect sizes of the five treatments, ranked in descending order, were as follows: writing process approach (3.23), teaching skills/grammar/knowledge (1.80), feedback/evaluation (1.04), strategy instruction (1.00), and scaffolding/reinforcement (0.81). In Thai culture, the average effect sizes of the treatments, ranked in descending order, were the following: writing process approach (3.23), teaching skills/grammar/knowledge (2.05), strategy instruction (1.66), feedback/evaluation (1.17), and scaffolding/reinforcement (1.17). With respect to American culture, the average effect sizes of the treatments were arranged in descending order as follows: strategy instruction (0.67) teaching skills/grammar/knowledge (0.63), feedback/evaluation (0.51) and scaffolding/reinforcement (0.22).
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33043
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.570
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.570
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
apichat_kh.pdf19.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.