Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3305
Title: การวิจัยพหุกรณีเพื่อศึกษาการดำเนินงานของโครงการโรงเรียนสองภาษา
Other Titles: A multicase study research for studying the operation of bilingual school
Authors: พริมรส นนทภักดิ์, 2524-
Advisors: ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Duangkamol.t@chula.ac.th
Subjects: โรงเรียนสองภาษา
หลักสูตรสองภาษา
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษา 1) การดำเนินงานของโครงการโรงเรียนสองภาษา 2) ปัจจัยสนับสนุนและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคใการดำเนินงานโครงการโรงเรียนสองภาษา 3) เปรียบเทียบการดำเนินงาน ปัจจัยสนับสนุนและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคของโรงเรียน ที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนสองภาษาในเขตกรุงเทพมหานครและส่วนภูมิภาค ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแบบพหุกรณีศึกษา 2 โรงเรียนคือ โรงเรียนเบญจมราชูทิศและโรงเรียนมัธยมวัดนายโรง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้อง การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา สร้างข้อสรูปแบบอุปนัยและเปรียบเทียบ ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินงานของกรณีศึกษาทั้ง 2 โรงเรียนเป็นดังนี้ 1. การวางแผนงาน ทั้ง 2 โรงเรียนมีการวางแผนงานอย่างเป็นระบบ โรงเรียนเบญจมราชูทิศใช้เวลาในการวางแผนเปิดโครงการ 10 เดือน โรงเรียนมัธยมวัดนายโรงใช้เวลา 4 เดือนและมีโรงเรียนพี่เลี้ยงช่วยดูแล 2. การกำหนดโครงสร้างการทำงาน โรงเรียนเบญจมราชูทิศกำหนดโครงสร้างเป็นฝ่ายต่างๆ โดยโครงการหลักสูตรภาคภาษาอังกฤษมีโครงสร้างการบริหารเป็นของตนเอง ขณะที่โรงเรียนมัธยมวัดนายโรงไม่ได้แยกโครงสร้างบริหารโครงการ จากหลักสูตรปกติเพราะนักเรียนในโครงการเป็นนักเรียนส่วนใหญ่ของโรงเรียน 3. การปฏิบัติงาน โรงเรียนเบญจมราชูทิศสอนเป็นภาษาอังกฤษ 4 สาระการเรียนรู้ อาจารย์ในโครงการมีทั้งชาวไทยและต่างชาติ มีการทำสัญญาปีต่อปี ค่าจ้างมีอัตราเดียว มีสวัสดิการ มีความพร้อมด้านอาคารสถานที่และสื่ออุปกรณ์ มีการจัดสรรงบประมาณอย่างโปร่งใส ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนดีมาก การสอนใช้เฉพาะภาษาอังกฤษ สำหรับโรงเรียนมัธยมวัดนายโรงสอนเป็นภาษาอังกฤษ 6 สาระการเรียนรู้ อาจารย์ในโครงการมีอาจารย์ประจำเป็นชาวต่างชาติและอาจารย์พิเศษเป็นชาวไทย มีการทำสัญญาปีต่อปี ค่าจ้างมีอัตราหลายอัตราขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ ไม่มีสวัสดิการ มีอาคารสถานที่ค่อนข้างพร้อมแต่สื่อและอุปกรณ์ยังไม่พร้อมเท่าที่ควร มีการจัดสรรงบประมาณอย่างโปร่งใส ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในระยะเริ่มต้นของโครงการยังไม่มี แต่ต่อมามีการพัฒนาดีขึ้น การสอนใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักและใช้ภาษาไทยเสริม 4. การประเมินผลโครงการ ทั้ง 2 โรงเรียน มีการประเมินผลโครงการจากนักเรียนและผู้ปกครองทุกปีการศึกษา 5. ปัจจัยสนับสนุนที่เหมือนกันทั้ง 2 โรงเรียน ประกอบด้วย ขนาดชั้นเรียนที่เหมาะสม การจัดการด้่านการเงินอย่างเป็นระบบ พื้นฐานครอบครัวของนักเรียนและการเข้ามามีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ปัจจัยสนับสนุนที่ต่างกัน สำหรับโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ได้แก่ ชื่อเสียงโรงเรียน ความพร้อมด้านสื่ออุปกรณ์ ผลสอบศึกษาต่อ การพัฒนาคุณภาพอาจารย์ คุณภาพของนักเรียน ส่วนโรงเรียนมัธยมวัดนายโรง ได้แก่ ระบบจัดการของโรงเรียน การประชาสัมพันธ์โครงการ ความเชี่ยวชาญของอาจารย์พิเศษ 6. ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคที่เหมือนกันทั้ง 2 โรงเรียน ประกอบด้วย การไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้างของอาจารย์ อาจารย์ไม่ได้จบทางการศึกษา ความไม่พร้อมด้านภาษาของนักเรียนและความคาดหวังของผู้ปกครอง ปัจจัยอุปสรรคที่ต่างกัน สำหรับโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ได้แก่ เวลาที่เสียไประหว่างเปลียนคาบเรียน ความยากลำบากในการสรรหาอาจารย์ ส่วนโรงเรียนมัธยมวัดนายโรงได้แก่ เวลาของอาจารย์พิเศษที่มีให้กับนักเรียนค่อนข้างน้อย
Other Abstract: To 1) study the operation of bilingual schools, 2) study supportive and obstacle factors in operating of bilingual school, 3) compare the operation of supportive factors and the obstacle factors' of bilingual schools in Bangkok metropolitan and up country area. Employing qualitative research as a multicase study research for two schools consisted of Benjamarachutit and Wat Nairong School. The research data were collected by analyzing related documents, employing participatory and non- participatory observations as well as interview and focus group technique. The research data were analyzed by employing content analysis, inductive conclusion and comparison. The research results were as follows 1) The operation planning were found that both of two cases study had a systematic operation planning. Benjamarachutit School used 10 months for planning the opening of the program, while it took Wat Nairong School 4 months under the surveillance of the assistant school. 2) The structure organizing were found that Benjamarachutit School organized the structure into 4 sections. Mean while the English program had its own organized structure. Wat Nairong School didn't separate its structure form the regular program (the main school) because students in the program were the majority of the school. 3) Executing were found that Benjamarachutit School offered the English program in four group of subjects which were taught by Thai and English teachers who worked for annual contract. There were only payment rate that depended on races, the welfares were provided, the buildings and media were available, the allocation of fiscal was impartially. Strong relationship existed between schools and communities. English is compulsory used in class. However, Wat Nairong school offered English program in six group of subjects. There were foreigner boarding teachers and Thai special teachers who worked for annual contract. Payment rate depended on races and no welfares provided. Buildings and classrooms were quite convenient and ready unlikemedias. School budgets were systematic organized. The relationship between school and community was poor when international program was firstly started but it had been developing in positive ways later. The main language used in class is English but with Thai translation sometime. 4) Evaluating result of two cases study were found that there were project evaluation from students and guardians every years. 5) The similar supportive factors in both of two schools consisted of appropriate class size, systematic fiscal management, students' family background and participation of guardians. The different supportive factors of Benjamarachutit School consisted of school reputation, medias and instruments availability, furthering study result, development of teacher quality, student quality and Wat Nairong School consisted of systematic school management, project's public relations and the proficiency of special teachers. 6) The similar obstacle factors in both of two schools consisted of giving up teachers' contract, the teachers who were not graduated in education, non readiness on language of students and the guardians' expectation. The different obstacle factors of Benjamarachutit School were the time for period changing and the difficulty in finding teachers and Wat Nairong School consisted of the special teachers' time for students was less.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3305
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.748
ISBN: 9745322571
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.748
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Primrose.pdf3.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.