Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33133
Title: | แนวทางการสื่อสารที่พึงประสงค์ในการรณรงค์ "โครงการผู้หญิงรุ่นใหม่ไม่สูบบุหรี่" |
Other Titles: | The pro-social communication approach on non-smoking campaign among Thai females |
Authors: | ฉัตรนภา อำพลพีรพันธ์ |
Advisors: | ปาริชาต สถาปิตานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Parichart.S@chula.ac.th |
Subjects: | การสูบบุหรี่ -- การสื่อสาร การสื่อสารสาธารณสุข การสื่อสารความเสี่ยงด้านสุขภาพ โครงการผู้หญิงรุ่นใหม่ไม่สูบบุหรี่ -- การประชาสัมพันธ์ Smoking -- Communication Communication in public health Health risk communication |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการประชาสัมพันธ์ “โครงการผู้หญิงรุ่นใหม่ไม่สูบบุหรี่” และแนวทางการสื่อสารที่พึงประสงค์ในการรณรงค์ไม่ให้ผู้หญิงสูบบุหรี่ ใช้วิธีการวิจัยเชิง คุณภาพ โดยวิธีการศึกษาจากเอกสารและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้รับผิดชอบการ ประชาสัมพันธ์โครงการผู้หญิงรุ่นใหม่ไม่สูบบุหรี่รวมทั้งการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกลุ่มผู้หญิงที่สูบ บุหรี่ในเขตกรุงเทพฯ ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการประชาสัมพันธ์โครงการผู้หญิงรุ่นใหม่ไม่สูบบุหรี่ แบ่ง ออกเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ศึกษาหาข้อมูล จากเว็บไซต์ งานวิจัยและผลสำรวจทั้งในและ ต่างประเทศ (2) พัฒนาแผนงาน ประกอบด้วยการกำหนดวัตถุประสงค์ กำหนดกลุ่มเป้าหมาย และ กำหนดแผนปฏิบัติงาน (3) ดำเนินการผลิตสื่อ เพื่อเผยแพร่ผ่านสื่อสารมวลชนและบุคคลในพื้นที่ เป้าหมาย (4) การจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์อันประกอบด้วยการสัมมนาวิชาการและการจัดกิจกรรม รณรงค์กับกลุ่มเป้าหมาย (5) ประเมินผล ในส่วนของแนวทางการสื่อสารที่พึงประสงค์ ผลการวิจัยพบว่าแนวทางหลัก ได้แก่ การ สื่อสารผ่านบุคคลใกล้ตัว อาทิ พ่อแม่ แฟน และบุคคลไกลตัว อาทิ ดารานักร้อง (2) แนวทางการใช้ เนื้อหาในการรณรงค์ เช่น ประเด็นสุขภาพ ประเด็นความสวยความงาม ประเด็นความรักความห่วงใย ประเด็นความตาย ประเด็นเสน่ห์ทางเพศ และ (3) แนวทางการใช้เครื่องมือสื่อสาร โดยเฉพาะ เครื่องมือสื่อสารสมัยใหม่ อาทิ อินเตอร์เน็ต ในลักษณะของการสื่อสารแบบไวรัล ซึ่งสอดคล้องกับ พฤติกรรมการเปิดรับสื่อของกลุ่มตัวอย่างที่มีการเปิดรับสื่ออินเตอร์เน็ตมากที่สุด |
Other Abstract: | The purposes of this research were to study public relations process of non-nonsmoking campaign focusing on females who smokes and the pro-social communication approach on non-smoking campaign among Thai females. The research methodology included a documentary of non-smoking campaign for females, and in-depth interview with public relation staffs of “Action on Smoking and Health Foundation Thailand” and smoking females who live in Bangkok The result of the research indicates that the public relations process included 5 steps : (1) Study of research and polls , (2) Developing plan includes specifying objective, indicating target group and creating action plan (3)Developing Media both air war media and ground war media (4) Organizing seminar and campaign activities and (5) Evaluating the project. The pro-social communication approach on non-smoking campaign among Thai females, the research indicates that (1) Major senders include parents, lover and celebrity (2) Major messages include health, beauty, love and care, death and sex appeal; and (3) Communication tools are the internet system, especially viral communication on social networking sites. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การประชาสัมพันธ์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33133 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.529 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.529 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chatnapha_am.pdf | 5.82 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.