Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33258
Title: การวิเคราะห์แบบ SWOT เกี่ยวกับทัศนคติต่อพุทธศาสนาและการรักษาทางจิตเวชของจิตแพทย์ไทย
Other Titles: SWOT analysis from attitude in Buddhism and psychiatric treatment of Thai psychiatrists
Authors: วิลาสินี ภู่เจริญยศ
Advisors: ภุชงค์ เหล่ารุจิสวัสดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Puchong.L@Chula.ac.th
Subjects: การแพทย์ -- แง่ศาสนา -- พุทธศาสนา
จิตแพทย์ -- ทัศนคติ
Medicine -- Religious aspects -- Buddhism
Psychiatrists -- Attitudes
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของจิตแพทย์เกี่ยวกับจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ของการนำพุทธศาสนาเข้ามาประยุกต์เป็นส่วนหนึ่งของการรักษาทางจิตเวช ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ประชากรที่ทำการศึกษา คือ จิตแพทย์ในประเทศไทย จำนวน 22 คน ที่ปฏิบัติงานในสถานพยาบาลทั้งในกรุงเทพฯ และ ต่างจังหวัด เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการถอดเทปจากเครื่องบันทึกเสียงแบบคำต่อคำ และนำความคิดเห็นจากการสัมภาษณ์ทั้งหมดมาวิเคราะห์ในรูปแบบของการบรรยาย อิงทฤษฎี SWOT Analysis (จุดแข็ง-จุดอ่อน-โอกาส-อุปสรรค) ผลการวิจัยพบว่า จิตแพทย์ส่วนมากเห็นว่าจุดแข็งของการนำพุทธศาสนาเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาทางจิตเวช คือ เป็นสิ่งที่คนไทยศรัทธา ง่ายต่อการพูดคุย ทำความเข้าใจ ในด้านจุดอ่อน จิตแพทย์ส่วนมากเห็นว่ามาจากการที่ผู้นำไปใช้ยังไม่มีความรู้ในเรื่องพุทธศาสนาละเอียด ลึกซึ้งพอ อาจทำให้เป็นปัญหาในการนำไปปรับใช้รักษา ในด้านโอกาส จิตแพทย์ส่วนมากเห็นว่า สิ่งที่จะเป็นโอกาสในการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมคือ การนำมาพัฒนาตัวจิตแพทย์และมีการเปิดอบรม จัดตั้งจิตบำบัดแนวพุทธ ในด้านสุดท้ายคือ ด้านอุปสรรค จิตแพทย์ส่วนมากเห็นว่า อุปสรรคที่เกี่ยวข้องคือ รูปแบบภาษา(บาลี) ที่ยากต่อการสื่อสาร และศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมของผู้ที่สนใจ ทั้งยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในการนำจิตบำบัดแนวพุทธมาใช้อย่างเป็นมาตรฐาน และ เป็นสากล สรุปผลพบว่า การนำพุทธศาสนาเข้ามาประยุกต์ใช้เป็นส่วนหนึ่งของการรักษาทางจิตเวช เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ เหมาะแก่การนำไปผสมผสานกับวิธีทางการแพทย์ในการรักษาคนไข้ และยังสามารถประยุกต์หลักธรรมมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต และ พัฒนาจิตผู้บำบัดให้สูงและละเอียดขึ้น จึงเป็นวิธีการรักษาที่ควรส่งเสริมให้มีการพัฒนาต่อไป
Other Abstract: The purpose was to study attitude of Thai psychiatrists about using Buddhism in psychiatric treatment by SWOT analysis technique. A qualitative research with purposive sampling (snowball technique) was used to select 22 Thai psychiatrists, who use Buddhism in clinical practice both in Bangkok and in other provinces. Data were collected by using in-depth interview. Then analyzed by using SWOT analysis method. The result of this study were found that most psychiatrists found that the strength of using Buddhism with psychiatric treatment is the former of faith in Thai people toward Buddhism, which enable the psychiatrists to connect with the patients and make them understand easier. In term of weakness, most psychiatrists agreed that if one who treat the patients doesn’t have truly understanding of Buddhism will able to cause the problem when adapt in the actual treatment. For the opportunity, Most of them think that concept of Buddhism can be developed to Buddhism psychotherapy in academic level. Nevertheless, the language of this religion (Pali) is the main threatening for people to understand and study more about the topic. Moreover, there is no clear direction and standard in bringing Buddhism Psychotherapy to use worldwide. The concept of Buddhism in psychiatric treatment benefits the patients. The concept can be used with treating the patients, and also benefit in selfdevelopment therapists.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33258
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1497
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1497
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
vilasinee_ph.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.