Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33286
Title: เปรียบเทียบผลของกรดโอลิอิค และกรดไลโนลิอิคต่อการหลั่งคอร์ติซอลจากต่อมหมวกไตที่หั่นเป็นชิ้น ในแฮมสเตอร์ ที่ถูกทำให้เป็นเบาหวาน
Other Titles: Comparative effects of oleic acid and linoleic acid on cortisol released from adrenal slices in diabetic induced hamster
Authors: นวลน้อง วงศ์ทองคำ
Advisors: พัชนี สิงห์อาษา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาผลยับยั้งการหลั่งคอร์ติซอลของกรดโอลิอิคและกรดไลโนลิอิคจากต่อมหมวกไตของแฮมสเตอร์ที่หั่นเป็นชิ้นในภาวะปกติและภาวะที่ให้เป็นเบาหวาน พร้อมกับดูลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาฮีสโต ความเข้มข้นที่เหมาะสมของทั้งกรดโอลิอิคและกรดไลโนลิอิคที่สามารถยับยั้งการหลั่งคอร์ติซอล คือ 10-6 โมล่าร์ ในน้ำยาเพาะเลี้ยงที่เติม เอ ซี ที เอช ความเข้มข้น 10-6 โมล่าร์ แฮมสเตอร์ถูกทำให้เป็นเบาหวานด้วยการฉีดสเตร็บโตโซโตซินเข้าทางช่องท้อง ปริมาณ 50 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เป็นเวลา 3 วันติดต่อกัน พบว่าระดับน้ำตาลในเลือด 4 วันหลังการฉีด ในกลุ่มที่เป็นเบาหวานมีค่าเท่ากับ 326±21,07 ซึ่งกลุ่มควบคุม มีค่า 70.70±19.30 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ในเวลา 2 ชั่วโมงหลังการเพาะเลี้ยง วัดปริมาณคอร์ติซอลที่หลังออกมาในกลุ่มควบคุมและกลุ่มที่เป็นเบาหวานเมื่อเติมตัวกระตุ้น เอ ซี ที เอช 10-6 โมล่าร์ มีค่าเท่ากับ 125.07±25.23 และ 308.81±47.45 พิโคโมลต่อ 100 มิลลิกรัม นอกจากนี้ยังพบว่ากรดโอลิอิคและกรดไลโนลิอิคในกลุ่มควบคุมสามารถยับยั้งการหลังคอร์ติซอลจาก 125.07±25.23 เป็น 23.79±9.22 และ 11.38±3.72 พิโคโมลต่อ 100 มิลลิกรัม ในขณะที่กลุ่มเบาหวานจาก 308.81±47.45 เป็น 50.99±13.13 และ 32.38±9.52 พิโคโมลต่อ 100 มิลลิกรัม ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบอีกว่า เซลล์ชั้นโซนาฟาสสิคูลาตา จากกลุ่มเบาหวานเพิ่มขนาดขึ้น มีหยดไขมันและหลอดเลือดมาหล่อเลี้ยงมากขึ้นด้วย จึงอาสรุปได้ว่า กรดทั้งสองชนิดสามารถยับยั้งการหลั่งคอร์ติซอลได้ อย่างไรก็ตามกรดไลโนลิอิค ยับยั้งได้ดีกว่ากรดโอลิอิคทั้งสองกลุ่ม
Other Abstract: The inhibitory effects of oleic acid and linoleic acid on cortisol released from adrenal slices of normal and diabetic hamsters including histological changes were studied. The appropriate concentration of both oleic acid and linoleic acid which could inhibit the release of cortisol from adrenal slices incubated in medium with 10-6 M ACTH was 10-6 M. Hamster were made diabetic by intraperitoneal injection of 50 mg/kg bw streptozotocin administered for 3 consecutive days. It was found that 4 days after injection the fasting blood sugar concentrations of diabetic hamster was 326.90±21.07, while the control group was 70.70±19.30 mg/dl. 2 Hours after incubation with ACTH 10-6 M the released cortisol was 125.07±25.23 pmol/100 mg in control group and 308.81±47.45 pmol/100 mg in diabetic group. Besides, it showed that oleic acid and linoleic acid in control group could potentially inhibit the cortisol released from 125.07±25.23 to 23.79±9.22 and 11.38±3.72 pmol/100 mg, whereas, in diabetic group was 308.81±47.45 to 50.99±13.13 and 32.38±9.52 pmol/100 mg, respectively. In addition, it was found that zona fasiculata cells from diabetic group showed the increase in size with more lipid droplets and blood vessels around them. In may conclude that both oleic acid and linoleic acid can inhibit the release of cortisol. However, the linoleic acid is more powerful than oleic acid in both groups.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สรีรวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33286
ISBN: 9746332724
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nualnong_wo_front.pdf3.22 MBAdobe PDFView/Open
Nualnong_wo_ch1.pdf8.26 MBAdobe PDFView/Open
Nualnong_wo_ch2.pdf6.8 MBAdobe PDFView/Open
Nualnong_wo_ch3.pdf7.13 MBAdobe PDFView/Open
Nualnong_wo_ch4.pdf1.92 MBAdobe PDFView/Open
Nualnong_wo_back.pdf3.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.