Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3330
Title: การสร้างแนวคิดเชิงทฤษฎีที่เกี่ยวกับ ความสามารถในการสื่อสารระดับกลุ่มในองค์กรไทย
Other Titles: The conceptualization of communication competence at the group level in Thai organizations
Authors: วิรยา ขุนพรหม
Advisors: นงลักษณ์ ศรีอัษฎาพร เจริญงาม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Nongluck.C@chula.ac.th
Subjects: การสื่อสารในองค์การ
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (survey research) โดยใช้วิธีสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะลึก (in-depth interview) จำนวน 40 คน และการแจกแบบสอบถาม (questionnaire) จำนวน 100 ชุด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจแนวคิด แนวทางการศึกษา และดรรชนีที่เกี่ยวกับความสามารถในการสื่อสารระดับกลุ่ม ในองค์กรไทยเพื่อนำไปสร้างเป็นเครื่องมือวัดความสามารถ ในการสื่อสารระดับกลุ่มในองค์กรไทยที่มีประสิทธิภาพ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1) กลุ่มที่มีความสามารถในการสื่อสารระดับกลุ่มในองค์กรไทยคือ กลุ่มที่สมาชิกมีความสามารถในการถ่ายทอดสาร และตีความสารได้เข้าใจตรงกัน โดยอาศัยความรู้การสื่อสารเชิงกลยุทธ์ (strategic communication knowledge) อันได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของกลุ่ม ความรู้ในเชิงวัฒนธรรมและความรู้ที่เกิดจากความเข้าใจร่วมกัน รวมถึงทักษะการสื่อสาร (tactical communication skills) อันได้แก่ ทักษะในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ทักษะการจัดการความขัดแย้ง และทักษะการสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มอื่น 2) แนวทางการศึกษาเกี่ยวกับ แนวคิดความสามารถในการสื่อสารระดับกลุ่มในองค์กรไทยที่เหมาะสมที่สุดคือ การใช้แบบสอบถามร่วมกับการสัมภาษณ์และการสังเกตการณ์ 3) ดรรชนีชี้วัดความสามารถในการสื่อสารระดับกลุ่ม ในองค์กรไทยที่สำรวจได้มีทั้งหมด 55 ดรรชนีซึ่งถูกแบ่งออกได้เป็น 11 กลุ่มคือ ลักษณะความสามารถในการสื่อสารระดับกลุ่ม ที่เกี่ยวกับการมอบหมายงาน ลักษณะความสามารถในการสื่อสารระดับกลุ่ม ที่เกี่ยวกับการประชุม ลักษณะความสามารถในการสื่อสารระดับกลุ่ม ที่เกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็น ลักษณะความสามารถในการสื่อสารระดับกลุ่ม ที่เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ลักษณะความสามารถในการสื่อสารระดับกลุ่มที่เกี่ยวกับการนำเสนอ ลักษณะความสามารถในการสื่อสารระดับกลุ่มที่เกี่ยวกับการควบคุมอารมณ์ ลักษณะความสามารถในการสื่อสารระดับกลุ่ม ที่เกี่ยวกับการจัดการความขัดแย้ง ลักษณะความสามารถในการสื่อสารระดับกลุ่ม ที่เกี่ยวกับการติดตามและประเมินผล ลักษณะความสามารถในการสื่อสารระดับกลุ่ม ที่เกี่ยวกับการสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มอื่น ลักษณะความสามารถในการสื่อสารระดับกลุ่ม ที่เกี่ยวกับการสร้างความรู้สึกที่ดีร่วมกัน และลักษณะความสามารถในการสื่อสารระดับกลุ่ม ที่เกี่ยวกับการสร้างความสัมพันธ์ส่วนบุคคล 4) เครื่องมือวัดความสามารถ ในการสื่อสารระดับกลุ่มที่สร้างขึ้น มีความเที่ยงเท่ากับ .9762 หรือร้อยละ 97.62
Other Abstract: This survey study employed multiple research methodologies, 40 in-depth interviews and 100 questionnaires. The purposes of the study were to explore the conceptualization, the research methodology and the components of the communication competence at the group level of analysis in Thai organizations. 55 communication characteristics of the group communication competence were reported by actual organizational members and have been developed to be a 55-item questionnaire which can be used for measuring the group-level Thai communication competence. Results of the research were as follows: 1) The conceptualization of group-level communication competence in Thai organizations is the group that members have encoding and decoding abilities. Both abilities result from strategic communication knowledge -- group history, group culture and group mentality -- and tactical communication skills -- information exchange, conflict management and inter-group communication relationship development. 2) The research method, using questionnaire combined with interview and observation, was found to be the most appropriate means to study communication competence at the group level in Thai organizations. 3) 55 communication characteristics of group competence which were found in this study can be categorized into 11 groups concerning assigning task, meeting, giving opinions, exchanging information, presenting ideas, controlling emotion, managing conflict, following-up and evaluating task performance, developing relationships with other groups, creating good feelings among members within the groups and establishing personal communication relationships. 4) A reliability of the developed 55-item questionnaire for measuring the group-level communication competence in Thai organizations is .9762 or 97.62%
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วาทวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3330
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.342
ISBN: 9741313489
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2000.342
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
viraya.pdf3.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.