Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33339
Title: ผลของการเรียนการสอนโดยใช้วงจรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับแนวคิดของเดรสเซล ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยและความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Other Titles: Effects of instruction using 5E learning cycle with Dressel's approach on Thai language learning achievement and critical thinking ability of ninth grade students
Authors: จตุพร สมดี
Advisors: กมลพร บัณฑิตยานนท์,
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Kamonporn.B@Chula.ac.th
Subjects: ภาษาไทย -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
กิจกรรมการเรียนการสอน
การเรียนรู้
ความคิดอย่างมีวิจารณญาณ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
Thai language -- Study and teaching (Secondary)
Activity programs in education
Learning
Critical thinking
Academic achievement
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยใช้วงจรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับแนวคิดของเดรสเซลก่อนและหลังการทดลอง 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการสอนโดยใช้วงจรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับแนวคิดของเดรสเซล และกลุ่มที่ได้รับการสอนด้วยวิธีปกติ 3) ศึกษาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยใช้วงจรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับแนวคิดของเดรสเซลก่อนและหลังการทดลอง 4) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการสอนโดยใช้วงจรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับแนวคิดของเดรสเซล และกลุ่มที่ได้รับการสอนด้วยวิธีปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนารีนุกูล จังหวัดอุบลราชธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 2 ห้องๆ ละ 50 คน ผู้วิจัยดำเนินการสอนทั้งสองกลุ่มด้วยตนเอง ใช้เวลา 8 สัปดาห์ๆ ละ 2 คาบ รวม 16 คาบ เครื่องมือที่ใช้ทดลองคือ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวงจรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับแนวคิดของเดรสเซล และแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีปกต เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย และแบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่ามัชฌิมเลขคณิต (X-bar) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบอัตราส่วนวิกฤต (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้วงจรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับแนวคิดของเดรสเซล มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยหลังทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้วงจรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับแนวคิดของเดรสเซล มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้วงจรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับแนวคิดของเดรสเซลมีความสามารถใน การคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้วงจรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับแนวคิดของเดรสเซลมีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: To 1) study Thai language learning achievement of ninth grade students before and after they have been taught by 5E learning cycle with Dressel’s approach 2) compare Thai language learning achievement of ninth grade students taught by 5E learning cycle with Dressel’s approach with that of ninth grade students taught by conventional approach 3) study critical thinking ability of ninth grade students before and after they have been taught by 5E learning cycle with Dressel’s approach 4) compare critical thinking ability of ninth grade students taught by 5E learning cycle with Dressel’s approach with that of ninth grade students taught by conventional approach. The subjects were 2 classes of ninth grade students in Narinukul School, Ubon Rachathani Province, in second semester, academic year 2009. The researcher taught each group for 8 weeks, 2 periods a week, 16 periods in total. The experimental instruments were lesson plans of 5E learning cycle with Dressel’s approach and lesson plans of the conventional teaching approach. The collecting instruments were the test of Thai language learning achievement and the test of critical thinking ability. The collected data were analyzed by using arithmetic mean, standard deviation and t-test. The research findings were summarized as follows: 1) Learning achievements of students being taught by 5E learning cycle with Dressel’s approach were higher than before the experiment at the .05 level of significance. 2) Learning achievements of students being taught by 5E learning cycle with Dressel’s approach were higher than those of students being taught by conventional approach at the .05 level of significance. 3) Critical thinking abilities of students being taught by 5E learning cycle with Dressel’s approach were higher than before the experiment at the .05 level of significance. 4) Critical thinking abilities of students being taught by 5E learning cycle with Dressel’s approach were higher than those of students being taught by conventional approach at the .05 level of significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสอนภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33339
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1512
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1512
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jatuporn_so.pdf2.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.