Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33504
Title: | แนวทางการใช้แสงธรรมชาติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพแสงสว่างภายในอาคารห้องสมุด กรณีศึกษาอาคารห้องสมุดโรงเรียนพูลเจริญวิทยาคม |
Other Titles: | Guideline of day lighting utilization in library building case study Poolcharoen Witayakom School Library |
Authors: | พัชราภรณ์ เหมือนศาสตร์ |
Advisors: | สุนทร บุญญาธิการ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | soontorn@asia.com, Soontorn.B@Chula.ac.th |
Subjects: | อาคารห้องสมุด -- แสงสว่าง ห้องสมุดโรงเรียน -- แสงสว่าง การให้แสงธรรมชาติ Library buildings -- Lighting School libraries -- Lighting Daylighting |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาแนวทางการใช้แสงธรรมชาติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพแสงสว่างภายในอาคารห้องสมุด กรณีศึกษาอาคารห้องสมุดโรงเรียนพูลเจริญวิทยาคม เริ่มจากการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนที่มาใช้บริการภายในอาคารห้องสมุด พบว่ามีปัญหาด้านต่างๆ ดังนี้ ปริมาณแสงสว่างไม่เพียงพอในการอ่านหนังสือและทำกิจกรรมต่าง ๆ ความร้อนภายในอาคารห้องสมุด และเสียงที่มีลักษณะก้องกังวาน เป็นต้น เมื่อผู้วิจัยเก็บข้อมูลและสำรวจภายในอาคารห้องสมุดพบว่า มีช่องเปิดบริเวณหลังคาของอาคารแห่งนี้แต่ในปัจจุบันไม่มีการใช้ประโยชน์ใดๆ ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาแนวทางการใช้แสงธรรมชาติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพแสงสว่างภายในอาคารขึ้น จึงเกิดวัตถุประสงค์ของการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้แสงธรรมชาติภายในอาคารห้องสมุด ดังนี้ ศึกษาทฤษฏีและสำรวจลักษณะทางกายภาพในการใช้ประโยชน์จากแสงธรรมชาติ วิเคราะห์จากตัวแปรในการศึกษา ดังนี้ ตัวแปรที่ 1 ขนาดของช่องเปิดด้านบนต่อพื้นที่ใช้สอย ตัวแปรที่ 2 ผิวและสีของวัสดุที่ใช้ในการสะท้อนแสง และตัวแปรที่ 3 ลักษณะการสะท้อนแสงและการกระจายของแสงภายในอาคาร โดยประเมินผลข้อมูลจากการเก็บข้อมูลปริมาณแสงสว่างภายในและภายนอกอาคาร นำมาหาค่า Daylight Factor เพื่อมาใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงอาคารห้องสมุดปัจจุบันให้มีการใช้แสงธรรมชาติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพแสงสว่าง ขั้นตอนในการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน 1) สำรวจและเกิดข้อมูลปริมาณแสงสว่างภายในอาคารเพื่อพิจารณาตำแหน่งหรือบริเวณที่มีปัญหามากที่สุดเพื่อหาแนวทางในการแก้ไข 2) สร้างหุ่นจำลองอาคารห้องสมุดขนาด 1:20 เพื่อใช้เป็นในการทดลองดังนี้ เพื่อพิจารณาปริมาณแสงที่เกิดขึ้นจาก ขนาดของช่องเปิดบริเวณด้านบนของอาคารทั้ง 3 สัดส่วน คือ 4% 8% และ 12% ต่อพื้นที่ใช้สอย ศึกษาลักษณะผิวและสีของวัสดุ และลักษณะการสะท้อน ผลการศึกษาพบว่า 1) ขนาดของช่องเปิดด้านบนสัดส่วนขนาด 4% ของพื้นที่ใช้สอยที่มีความแตกต่างของค่า Daylight Factor น้อยที่สุดทำให้แสงที่เข้ามามีความสม่ำเสมอมากกว่าและมีปริมาณความร้อนที่เข้ามาภายในอาคารน้อยกว่าสัดส่วนขนาด 12%ของพื้นที่ใช้สอย 2) การปรับปรุงผิวและสีวัสดุบริเวณพื้นที่ที่แสงตกกระทบเช่นบริเวณผิวหลังคาภายนอกเป็นผิวสีขาว ติดฝ้าสีขาวผิวขรุขระสม่ำเสมอบริเวณใต้หลังคานั้นจะทำให้ปริมาณของแสงภายในอาคารเพิ่มขึ้น 3) ลักษณะการสะท้อนแสง โดยทดสอบแสงตกกระทบโดยเปลี่ยนลักษณะของหิ้งสะท้อนให้เอียง 70 องศาจะทำให้แสงสะท้อนไปได้ลึกเพิ่มยิ่งขึ้น ผลการศึกษาจึงสรุปได้ว่าการเลือกสัดส่วนขนาดช่องเปิดด้านบนของอาคารห้องสมุดอย่างเหมาะสมผิวและสีของวัสดุในการสะท้อนแสงที่มีค่าการสะท้อนแสงเพิ่มขึ้น ร่วมกับลักษณะการสะท้อนแสงกับหิ้งสะท้อนแสงที่เหมาะสม ทำให้สามารถนำแสงธรรมชาติที่มีลักษณะของแสงสม่ำเสมอมาใช้ภายในอาคาร มีปริมาณแสงธรรมชาติที่เพียงพอเหมาะแก่การศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้ของนักเรียนภายในอาคารห้องสมุดได้อย่างคุ้มค่า ประหยัดพลังงาน และมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น |
Other Abstract: | Lighting system in building consumes about 20 percent of total energy consumption. Day lighting is an alternative to reduce electrical use. Top lighting in Poolcharoen Wittayakom School library is the case study in this study. The research started with observation survey and light intensity measurement. It is found that it is only 100-200 lux on working plane. Therefore, it requires lots of artificial light. Moreover, the lighting system was installed on the wall which causes glare. The 1:20 scale model was used to conduct top lighting alternatives. It is found that it has 2 impact factors as 1) area of top lighting, and 2) interior reflective surfaces. Daylight factor of every meter was measured throughout North-South and East-West. With central top lighting as 4%, 8%, and 12% ratio to usable area were experimented. The 4% ratio of top day lighting provides the appropriate light intensity on working plane. Then, the 80-90 % diffuse surface of interior ceiling and balcony finishing enhance uniform lighting intensity on the first floor as well as the corner area which has no side fenestration. If balcony tilts about 70 degree from horizontal plane, it helps to reflect day light in deeper area. So, using 4% top daylight area is an appropriate size for the standard library building. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สถาปัตยกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33504 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1448 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.1448 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
patcharaporn_me.pdf | 5.99 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.