Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33598
Title: | ผลของจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาตามหลักไตรสิกขาที่มีต่อผลสัมฤทธิทางการเรียน ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการใช้ชีวิตแบบพอเพียง ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 |
Other Titles: | Effects of social studies instruction based on Trisikkha principle on learning achievement, critical thinking ability, and sufficiency lifestyles of eighth grade students |
Authors: | พิชาติ แก้วพวง |
Advisors: | วลัย อิศรางกูร ณ อยุธยา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | สังคมศึกษา สังคมศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคิดอย่างมีวิจารณญาณ Social sciences -- Study and teaching (Secondary) Academic achievement Critical thinking |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการใช้ชีวิตแบบพอเพียง ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาตามหลักไตรสิกขา ตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนปากเกร็ด จำนวน 103 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง จำนวน 52 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 51 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาตามหลักไตรสิกขา และ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาแบบปกติ ใช้เวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 คาบ คาบละ 50 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน แบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และแบบประเมินการใช้ชีวิตแบบพอเพียง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาตามหลักไตรสิกขามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2.นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาตามหลักไตรสิกขามีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่าก่อนเรียน และสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3.นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาตามหลักไตรสิกขามีการใช้ชีวิต แบบพอเพียงสูงกว่าก่อนเรียน และสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
Other Abstract: | The purpose of this research was to study the learning achievement, critical thinking, and sufficiency lifestyles of eighth grade students who learned social studies instruction based on trisikkha principle. The subjects were one hundred and three students of eighth grade from Prakret Secondary School. They were divided into two groups: an experimental group composed of fifty two students and a control group compose of fifty one students. The experimental instruments consisted of two sets of lesson plans: daily lesson plans based on trisikkha principle activities and daily lesson plans based on conventional method activities. Duration of experiment was eight weeks which consisted of two periods per week and fifty minutes per period. The data collecting instruments consisted of learning achievement test, critical thinking test, and sufficiency lifestyles evaluation form. The data were analyzed by arithmetic mean ( ), standard deviation (S.D.) and compare the data by t-test. The results of this research were as follows: 1. The students who learned social studies instruction based on trisikkha principle activities had higher learning achievement than students who learned social studies instruction based on conventional method activities at 0.05 level of significance. 2. The students who learned social studies instruction based on trisikkha principle activities had higher critical thinking ability than pre-experiment and had higher critical thinking ability than students who learned social studies instruction based on conventional method activities at 0.05 level of significance. 3. The students who learned social studies instruction based on trisikkha principle activities had higher sufficiency lifestyles than pre-experiment and had higher sufficiency lifestyles than students who learned social studies instruction conventional method activities at 0.05 level of significance. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การสอนสังคมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33598 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.429 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.429 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
pichart_ka.pdf | 3.42 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.