Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3365
Title: | การผลิตเซลลูโลสจาก Acetobacter sp. TISTR 975 โดยใช้ถังหมักทรงกระบอกแบบหมุน |
Other Titles: | Production of cellulose from acetobacter sp. TISTR 975 using rotating drum fermenter |
Authors: | บุญฤทธิ์ ฤทัยคงถาวร, 2519- |
Advisors: | สุเมธ ตันตระเธียร ชิดพงศ์ ประดิษฐสุวรรณ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sumate.T@Chula.ac.th chidph@sc.chula.ac.th |
Subjects: | เซลลูโลส แบคทีเรียอะซิติก การหมัก |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | จากการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างเซลลูโลสของ Acetobacter sp. TISTR 975 ในถังหมักทรงกระบอกแบบหมุนขนาดบรรจุปริมาตร 5.6 ลิตร พบว่า การใช้ความเร็วรอบในการหมุนถังหมักที่ 5 รอบต่อนาที ปริมาณเชื้อเริ่มต้น 10% โดยปริมาตร ค่าอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน 0.25 และปริมาตรอาหารเลี้ยงเชื้อ 1.5 ลิตร ให้ผลผลิตเซลลูโลสสูงสุด และเมื่อความเร็วในการหมุนถังหมัก ปริมาณเชื้อเริ่มต้น และค่าอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนเพิ่มขึ้นส่งผลทำให้ผลผลิตเซลลูโลสลดลง เนื่องจากเชื้อมีพฤติกรรมในการสร้างกรดแทนการสร้างเซลลูโลส เมื่อเปรียบเทียบผลผลิตเซลลูโลสของสภาวะที่ใช้ถังหมักทรงกระบอกแบบหมุน กับสภาวะนิ่งและเขย่าพบว่า สภาวะถังหมักทรงกระบอกแบบหมุน มีผลผลิตเซลลูโลสสูงกว่าสภาวะอื่น โดยมีค่าเท่ากับ 5.69 กรัมต่อลิตร ส่วนสภาวะนิ่งและสภาวะเขย่ามีค่าเท่ากับ 3.90 และ 2.64 กรัมต่อลิตร (p <= 0.05) ตามลำดับ จากการศึกษาพบว่าอัตราการถ่ายโอนออกซิเจนของสภาวะทั้ง 3 แตกต่างกัน และเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีอัตราการผลิตเซลลูโลสที่ต่างกัน โดยสภาวะในถังหมักทรงกระบอกแบบหมุน มีค่าอัตราการถ่ายโอนออกซิเจนเท่ากับ 0.1160 มิลลิกรัมออกซิเจน (ลิตร นาที) -1 ในขณะที่สภาวะนิ่งมีค่าดังกล่าวต่ำสุดเท่ากับ 2.65x10 (-4) มิลลิกรัมออกซิเจน (ลิตร นาที) -1 และสภาวะเขย่ามีค่าดังกล่าวสูงสุดเท่ากับ 0.2526 มิลลิกรัมออกซิเจน (ลิตร นาที) -1 เมื่อค่าอัตราการถ่ายโอนออกซิเจนสูง ทำให้ค่าการละลายออกซิเจนในน้ำหมักมีสูงตามไปด้วย เป็นผลต่อจำนวนเซลล์และการสร้างเซลลูโลส และทำให้ระบบการหมักเกิดกรดกลูโคนิกในปริมาณที่สูง เนื่องจากปฏิกริยากลูโคสออกซิเดชั่น ในขณะที่ค่าการละลายออกซิเจนต่ำส่งผลให้เชื้อมีการเจริญที่ช้า และสารอาหารน้ำตาลถูกใช้ในการปรับสภาพเซลล์ในระยะปรับตัว |
Other Abstract: | To find factors effecting the cellulose production by acetobacter sp. TISTR 975 in a rotating drum fermenter. The result showed that 5 rpm of rotation speed, 10 % inoculums, carbon-nitrogen ratio of 0.25 and 1.5 litres of medium gave the highest cellulose production. When the factors as rotation speed, inoculums and carbon-nitrogen ratio of 0.25 increased, the cellulose production decreased while the acid production was increased. The cellulose production in different condition such as in rotating drum fermentation, still and shake condition was found that the rotating drum fermentation gave the highest cellulose production at 5.69 g/l, while in still and shake condition were 3.90 and 2.64 g/l, respectively. The oxygen trasfer rate of rotating drum fermentation, still and shake condition at 0.1160, 2.65x10(-4) and 0.2526 milligram oxigen (l.min) -1, respectively had effected on cellulose production. The high oxygen transfer rate resulted in the increasing of dissolved oxygen in medium. The excessive oxygenin the medium caused an increasing of bacterial number and gluconic acid producing while low dissolved oxygen in the medium caused longer lag phase. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เทคโนโลยีทางอาหาร |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3365 |
ISBN: | 9741741065 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Boonyarit.pdf | 3.39 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.