Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33840
Title: | ภาวะการตลาดของภาชนะบรรจุอาหารประเภท กล่องกระดาษเคลือบพลาสติก |
Other Titles: | Market situation of food packaging plastic laminated paper carton |
Authors: | เธียรชัย ลือชัยประสิทธิ์ |
Advisors: | สุรพัฒน์ วัชรประทีป พงษ์ วนานุวัธ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | ภาชนะบรรจุอาหาร -- การตลาด การตลาด การบรรจุหีบห่อ -- ไทย กล่องกระดาษเคลือบพลาสติก |
Issue Date: | 2530 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | กล่องกระดาษเคลือบพลาสติกชนิดที่สามารถใช้ได้กับระบบการบรรจุแบบปลอดเชื้อแบบ ยู เอช ที (UHT) ขณะนี้ที่มีผู้ขายเพียงรายเดียวและยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ภาชนะบรรจุชนิดนี้เริ่มเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2521 ในอุตสาหกรรมนมพร้อมดื่มยู เอช ที หลังจากนั้นได้ขยายเข้าสู่อุตสาหกรรม น้ำผลไม้ น้ำผัก และนมถั่วเหลืองยู เอช ที ตามลำดับ การศึกษาภาวะการตลาดของภาชนะบรรจุอาหารประเภทกล่องกระดาษเคลือบพลาสติกมีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 4 อย่าง คือ (1) ศึกษาความต้องการกล่องกระดาษเคลือบพลาสติก (2) ศึกษาการยอมรับของผู้ผลิต ร้านค้าปลีก และผู้บริโภค ที่มีต่อภาชนะบรรจุกล่องกระดาษเคลือบพลาสติก (3) ศึกษาปัญหาอันเกิดจากการใช้ภาชนะบรรจุกล่องกระดาษเคลือบพลาสติกที่มีต่อผู้ผลิตสินค้า (4) ศึกษาถึงสาเหตุที่ทำให้ภาชนะบรรจุชนิดนี้ไม่ประสบความสำเร็จทางการตลาดในการบรรจุสินค้าบางชนิด วิธีดำเนินการวิจัยได้แบ่งกลุ่มของผู้ถูกวิจัยเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ผลิต กลุ่มร้านค้าปลีก และ กลุ่มผู้บริโภค ในการวิจัยกลุ่มผู้ผลิต ผู้ทำวิจัยได้ศึกษาข้อมูลจากผู้บริหารระดับสูงของผู้ผลิตทุกรายโดยวิธีการสังเกตการณ์ และ วิธีการสัมภาษณ์ด้วยตัวเอง ส่วนในกลุ่มของร้านค้าปลีก และ กลุ่มผู้บริโภค ได้ทำการสุ่มตัวอย่างโดยอาศัยความสะดวก (Convenience sampling) แบบไม่คำนึงถึงโอกาสแห่งความน่าจะเป็นมากลุ่มละ 300 ตัวอย่าง ส่วนการเก็บข้อมูลได้ใช้นักศึกษาออกสัมภาษณ์โดยมีแบบสอบถามเป็นแนวทางในการสัมภาษณ์ (Structured interview) ผลจากการวิจัยทำให้ทราบว่าความต้องการกล่องกระดาษเคลือบพลาสติกเมื่อ พ.ศ. 2521 เท่ากับ 10 ล้านกล่อง จนกระทั่ง พ.ศ. 2529 พบว่าความต้องการได้เพิ่มขึ้นเป็น 235 ล้านกล่อง และสามารถพยากรณ์ได้ว่าความต้องการกล่องกระดาษเคลือบพลาสติกในอนาคต 11 ปีข้างหน้าจะเพิ่มขึ้นทุกปีโดยคาดว่าใน พ.ศ. 2534 และ พ.ศ. 2540 ความต้องการจะเพิ่มเป็น 407.2 ล้านกล่อง และ 536.8 ล้านกล่อง ตามลำดับ จากการศึกษาการยอมรับของผู้ผลิตพบว่าผู้ผลิตทุกรายให้การยอมรับภาชนะบรรจุชนิดนี้โดยมีเหตุในการยอมรับที่สำคัญคือ สะดวกทั้งในด้านการผลิต และการขนย้ายในโรงงาน อายุการเก็บรักษาของสินค้าสามารถเก็บได้นาน และสะดวกต่อผู้บริโภค เป็นต้น ในแง่การยอมรับของร้านค้าปลีกพบว่า 56% พอใจต่อกำไรที่ได้รับจากการขายสินค้าบรรจุกล่องกระดาษเคลือบพลาสติกและ 90.7% ให้การยอมรับภาชนะบรรจุชนิดนี้โดยมีเหตุผลการยอมรับที่สำคัญคือ เก็บได้นานโดยไม่ต้องแช่ตู้เย็น สะดวกต่อการขาย เป็นต้น ส่วนผู้บริโภคพบว่า 92.7% ให้การยอมรับภาชนะบรรจุชนิดนี้เพราะสะดวกในการพกพา สะดวกใช้ และ เก็บไว้ได้นาน เป็นต้น ทางด้านปัญหาที่ผู้ผลิตสินค้าพบจากการใช้ภาชนะบรรจุชนิดนี้ ผลจากการวิจัยพบว่าผู้ผลิตพบปัญหาต่างๆ เหมือนกัน แต่สามารถเรียงลำดับของปัญหาตามความสำคัญได้คือ (1) ราคากล่องกระดาษเคลือบพลาสติกยังมีราคาแพงเกินไป (2) ปัญหาการฆ่าเชื้อโรคไม่หมด (3) ปัญหาการรั่ว (4) กล่องบุบ นอกจากนี้ผลจากการวิจัยยังทำให้ทราบถึงสาเหตุที่ทำให้ภาชนะบรรจุชนิดนี้ไม่ประสบความสำเร็จในตลาดน้ำผลไม้ และ น้ำผัก สาเหตุที่สำคัญที่สุดคือ นโยบายทางด้านภาษีของรัฐบาลโดยเฉพาะภาษีการนำเข้ากล่องกระดาษ น้ำผลไม้เข้มข้น และภาษีสรรพสามิตเป็นผลทำให้ต้นทุนการผลิตสูง รวมถึงความผิดพลาดของการตั้งราคาขาย คุณภาพของสินค้า ผู้บริโภคนิยมบริโภคผลไม้สดมากกว่า และสินค้าที่ใช้ทดแทนน้ำผลไม้ น้ำผัก มีมากและราคาถูกกว่า เช่น น้ำอัดลม ล้วนเป็นสาเหตุแห่งความล้มเหลว |
Other Abstract: | Plastic laminated paper carton for use in aseptic packaging system with UHT processing technique is currently monopoly business and still has to be imported into Thailand. This packaging material has been launched in Thai market since 1978 in UHT milk products. Afterwards it has been penetrated into fruit juice, vegetable juice and soybean milk products respectively. The purpose of studying market situation of plastic laminated paper carton compose of (1) to study market demand and future trends (2) to study food manufacturers, retailers and consumers’ attitude toward this packaging (3) to study problems which are faced by food manufacturers and (4) to study factors which effect marketing failure of some products packed in plastic laminated paper carton. There are three areas of respondents from this study in which are currently engaged to plastic laminated paper carton. Food manufacturers, retailers and end users are individually subjected to be our interviewees. Response of this survey come from all packers using this type of packaging material and 300 structured interview samples of retailers and consumers by convenience sampling. The outcomes of this research showed that the demand of plastic laminated paper carton had continuously grown from 10 million cartons in 1978 to 235 million cartons in 1986 and expected to reach 407.2 and 536.8 cartons in 1991 and 1997 respectively. For manufacturers’ attitude it was found that all manufacturers accepted this packaging with the following important reasons (1) convenience in manufacturing and handling (2) long product shelf life (3) consumer convenience and etc. For retailers aspect it was found that 56% of retailer enjoyed with profit received from selling products packed in this packaging and 90.7% accepted this packaging in term of long shelf life without refrigeration required and selling convenience, etc. For consumers’ attitude it was found that 92.7% accepted this packaging with the reason of convenience in both carrying and using including long shelf life and etc. Problems facing manufacturers were found to similar which could be categorized as follows: (1) too expensive packaging material (2) unsterile products (3) leakage problem and (4) deformation of the packs. It was also found factors which affected marketing failure of fruit and vegetable juices packed in plastic laminated paper carton as follows. – Government tax policy for both import duties of packaging material and excise tax caused high cost. – Retail pricing mistake. – Inferior product quality. – Many substituted products that are available locally and cheaper price such as fresh fruits and vegetables, relative low priced soft drink products. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530 |
Degree Name: | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | บริหารธุรกิจ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33840 |
ISBN: | 9745678031 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thienchai_lu_front.pdf | 5.38 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Thienchai_lu_ch1.pdf | 4.54 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Thienchai_lu_ch2.pdf | 9.09 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Thienchai_lu_ch3.pdf | 19.53 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Thienchai_lu_ch4.pdf | 12.66 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Thienchai_lu_ch5.pdf | 3.97 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Thienchai_lu_back.pdf | 36.78 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.