Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33845
Title: | การวิเคราะห์ทางเศรษฐมิติของการกระจายรายได้ ในภาคเกษตรกรรมภายใต้ระบบการเชี่อมโยง ระหว่างจุลภาคกับมหภาค |
Other Titles: | An econometric analysis of income distribution in agriculture under a micro-macro link system |
Authors: | เทียนชัย มักเที่ยงตรง |
Advisors: | ชัยวุฒิ ชัยพันธุ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | การกระจายรายได้ -- ไทย เกษตรกร -- รายได้ เกษตรกร -- ภาวะเศรษฐกิจ |
Issue Date: | 2537 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเชิงมหภาคของการกระจายรายได้ในภาคเกษตรกรรมของไทยโดยการใช้แบบจำลองพึ่งพิง (Simultaneous equations) ในการศึกษาดูผลกระทบของนโยบายที่มีต่อระดับความกินดีอยู่ดีของครัวเรือนเกษตรกรและการกระจายรายได้ในภาคเกษตรกรรม ผลการวิจัยได้แบ่งเป็น 3 ส่วน คือส่วนแรกนำเสนอการวิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำของรายได้ในภาคเกษตรกรรมของไทย ซึ่งผลที่ได้จากการวิเคราะห์พบว่าค่าสัมประสิทธิ์นิจิที่คำนวณมีค่าเท่ากับ 0.572 อันแสดงถึงความไม่เท่าเทียมกันของการกระจายรายได้ในภาคเกษตรกรรมอยู่ในระดับสูง ส่วนที่สองได้นำเสนอการวิเคราะห์ของโครงการแม่บทในเรื่องปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดการกระจายรายได้ โดยแยกการวิเคราะห์ออกเป็นปัจจัยระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งในแบบจำลองที่ศึกษาปัจจัยระยะสั้น ได้กำหนดให้รายได้ของครัวเรือนขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ 4 ประการ ได้แก่ การใช้แรงงาน รายได้สุทธิจากฟาร์ม เงินทุน และประสิทธิภาพของฟาร์ม ผลจากการวิเคราะห์พบว่า การใช้แรงงาน รายได้สุทธิจากฟาร์ม เงินทุน มีอิทธิพลต่อรายได้โดยมีความสัมพันธ์กับรายได้ในทางบวก และมีค่าความยืดหยุ่นของตัวแปรอิสระต่อตัวแปรตามเท่ากับ 0.193 0.144 และ 0.043 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม จากกาศึกษาปรากฏว่าข้อมูลตัวแปรประสิทธิภาพของฟาร์มไม่มีนัยสำคัญพอที่จะนำมาอธิบายได้ สำหรับผลของปัจจัยระยะยาวที่มีต่อการกำหนดรายได้ พบว่าขนาดการถือครองที่ดินและปัจจัยสัดส่วนแรงงานหญิงในครัวเรือนจะมีความสัมพันธ์ทางบวกกับรายได้ สำหรับปัจจัยทางด้านการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือน ปรากฏว่า ครัวเรือนซึ่งหัวหน้าครัวเรือนได้รับการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจะมีผลต่อรายได้ในทิศทางบวกโดยมีค่าความยืดหยุ่นเท่ากับ 0.027 ส่วนกรณีตัวแปรการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาและระดับสูงกว่ามัธยมศึกษาไม่มีนัยสำคัญที่จะทำมาอธิบายได้ สำหรับปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานและบริการจากรัฐพบว่าปัจจัยจากมีกระแสไฟฟ้าใช้เท่านั้นที่มีนัยสำคัญในการอธิบายการกำหนดรายได้ โดยมีความสัมพันธ์ในทางเดียวกัน ในส่วนสุดท้าย นำเสนอผลการวิเคราะห์ผลกระทบของนโยบายที่มีต่อการกระจายรายได้ในภาคเกษตรกรรม โดยเปรียบเทียบผลของนโยบาย 3 ประการ คือการเพิ่มการส่งออกมูลค่า 1,000 ล้านบาท การเพิ่มเงินกู้ทางการเกษตร 1,000 ล้านบาท และการลดลงของค่าจ้างทางการเกษตรร้อยละ 20 ผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่า การลดลงของค่าจ้างทางการเกษตร และการเพิ่มขึ้นของการส่งออกมีผลให้รายได้ครัวเรือนเกษตรเพิ่มขึ้นโดยมีอัตราการเพิ่มร้อยละ 1.88 และ 0.012 ตามลำดับ ในขณะที่นโยบายสินเชื่อทางการเกษตรมีผลให้รายได้ของครัวเรือนลดลงร้อยละ 0.058 อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์จินิ พบว่า การใช้นโยบายเพิ่มเงินกู้ทางการเกษตร และการลดลงของค่าจ้างทางการเกษตรทำให้การกระจายรายได้ดีขึ้น ตรงกันข้าม การขยายตัวของการส่งออกมีผลให้การกระจายรายได้เลวลง |
Other Abstract: | The main objective of this study is to analyze the income distribution in Thailand’s agriculture. Based on CGE model, the effect of alternative policies on economic well-being of farmers (EWF) and income distribution are systematically analyzed. The study is outlined into three parts. First, the empirical analysis of income distribution in the agricultural sector is measured. It is found that Gini Coefficient of 0.572 indicates that income inequality problem is serious. Second, the factors affecting household income are subdivided into short-term and long-term ones. According to the model, the short-term ones are househould labour net farm income, agricultural loan and farm productivity. It is found that household labour, net farm income and agricultural loan significantly influence household income; and positively, the elasticities of the independent variables on income are 0.193, 0.144 and 0.043 respectively. Nonetheless, there is no relationship between farm productivity and income. Econometric study of the factors determining household income in long-run suggests that household incomes obviously depend on the amount of land ownerships and female workers. In the same way, secondary education contributes significantly to the increase of househould income; and the elasticity of income for this factor is 0.027. However, impacts of primary education and higher education on income is statistically insignificant. For the infrastructure variables as studied, household having access to electricity is highly correlated in income; conversely, transport facility is insignificantly related to income. Finally three policy simulations are exercised as follow: 1) the increase in exports of 1,000 million baht, 2) the increase in agricultural credits of 1,000 million baht and 3) the decrease in agricultural wages of 20%. According to the study, by increasing exports of 1,000 million baht, the household incomes are increased by 1.88%; likewise, the decrease in wage to agricultural labour 20% leads to accruing in household income 0.012%. By contrast, increase in agricultural credit and the fall in wage to agricultural labour explicitly lead to a more equal distribution of income; meanwhile, the expansion of exportable production make income distribution worsen. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537 |
Degree Name: | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เศรษฐศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33845 |
ISBN: | 9745843709 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Tienchai_ma_front.pdf | 4.27 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Tienchai_ma_ch1.pdf | 5.75 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Tienchai_ma_ch2.pdf | 4.38 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Tienchai_ma_ch3.pdf | 5.11 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Tienchai_ma_ch4.pdf | 8.26 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Tienchai_ma_ch5.pdf | 6.37 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Tienchai_ma_back.pdf | 15.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.