Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33935
Title: | ผลกระทบของเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน ต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน |
Other Titles: | The impact of ASEAN-China Free Trade Agreement (ACFTA) on foreign direct investment in ASEAN |
Authors: | มนต์ชัย ลีลาถาวรสุข |
Advisors: | สุทธิพันธ์ จิราธิวัฒน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | Suthiphand.C@Chula.ac.th |
Subjects: | เขตการค้าเสรี การลงทุนของจีน -- เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การลงทุนทางตรงของต่างประเทศ -- เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ -- ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศ -- จีน จีน -- ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศ -- เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Free trade area Investments, Chinese -- Southeast Asia Foreign direct investments -- Southeast Asia Southeast Asia -- Foreign economic relations -- China China -- Foreign economic relations -- Southeast Asia |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ACFTA) ถือเป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่สำคัญ เนื่องจากเขตการค้าเสรีดังกล่าวจะมีขนาดประชากรรวมภายในกลุ่มใหญ่ที่สุดในโลก และมีมูลค่า GDP รวมสูงที่สุดเป็นอันดับที่ 3 ของโลกรองจาก EU และ NAFTA ทำให้ความตกลง ACFTA ได้รับการจับตามองอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังจากที่ข้อตกลงด้านการค้าสินค้าภายใต้กรอบ ACFTA มีผลบังคับใช้อย่างเต็มที่ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 ซึ่งทำให้อัตราภาษีระหว่างประเทศในอาเซียนกับจีนลดลงอย่างมาก จนทำให้มูลค่าการค้าระหว่างกันปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก เช่นเดียวกับการไหลเข้าของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมายังภูมิภาคอาเซียนก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน ผลการศึกษาทั้งเชิงพรรณนาและเชิงปริมาณพบว่าภายหลังการจัดตั้ง ACFTA มีส่วนช่วยดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศให้เข้าสู่ประเทศในอาเซียนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนโดยตรงจากจีนที่เข้าสู่อาเซียนเพิ่มขึ้นอย่างมาก เช่นเดียวกับการค้าระหว่างประเทศอาเซียนกับจีนอันเป็นตัวแปรหนึ่งที่สะท้อนถึงผลกระทบของ ACFTA ก็ส่งผลทางบวกต่อ FDI ที่ไหลเข้าสู่อาเซียนเช่นกัน นอกจากนี้ผลการทดสอบ Panel Cointegration ยังพบว่าตัวแปรที่ใช้ในการศึกษานี้มีความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพในระยะยาว (Cointegration) ทำให้การประมาณการนี้ไม่เกิดปัญหาความสัมพันธ์เชิงมารยาหรือปัญหาตัวแปรมีความสัมพันธ์ที่ไม่แท้จริง ผลการศึกษาครั้งนี้จึงมีความน่าเชื่อถือ ขณะเดียวกัน ผลการศึกษายังพบว่าความตกลง ACFTA ช่วยดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเข้าสู่ 2 อุตสาหกรรมสำคัญของประเทศไทย กล่าวคือ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางไทยที่พบว่าความตกลง ACFTA ช่วยดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากจีนให้เข้าสู่อุตสาหกรรมอย่างชัดเจน ดังจะเห็นได้จากการเข้ามาลงทุนในไทยของกลุ่มทุนจีน โดยเฉพาะในส่วนของโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์ยาง เพื่อใช้สิทธิประโยชน์จากความตกลง ACFTA ในการส่งผลิตภัณฑ์ยางกลับไปจีน ซึ่งมีความต้องการใช้ยางเป็นจำนวนมาก |
Other Abstract: | The ASEAN-China Free Trade Agreement (ACFTA) is the largest FTA in terms of population and the third largest trading block after European Union (EU) and North American Free Trade Agreement (NAFTA) in terms of GDP. The full implementation of Goods Agreement under ACFTA in January 2010 marks an important milestone in their relations. It reduces more tariffs between ASEAN countries and China in goods. This agreement promotes more trade between ASEAN and China alongside intra-regional direct investment and extra-regional FDI. The result shows that ACFTA has increased foreign direct investment (FDI) inflows to ASEAN countries. Especially, Chinese direct investment inflows to ASEAN countries have continued to increase. The same as ACFTA, trade value between ASEAN countries and China has a positive impact on FDI inflows to ASEAN countries. In addition, the result from Panel Cointegration test reveals that all variables have a long-run relationship. So this estimation result is not a spurious regression. The result also shows that ACFTA has increased FDI inflows to two Thailand’s important industries; Electrical and electronic industry, and rubber and rubber products industry. The study also shows clearly that Chinese direct investment inflow to rubber industry is part of the impact from ACFTA to respond to an increasing demand from China. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เศรษฐศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33935 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.449 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.449 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Econ - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
monchai_le.pdf | 2.56 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.