Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34175
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกิติ อินทรานนท์-
dc.contributor.authorนิวิท เจริญใจ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2013-08-07T09:44:05Z-
dc.date.available2013-08-07T09:44:05Z-
dc.date.issued2534-
dc.identifier.isbn9745796409-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34175-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะศึกษาสภาพปัญหาในการทำงานในท่านั่งเชื่อมโลหะ ซึ่งพนักงานจะต้องทำงานในภาระงานสถิติเป็นระยะเวลานาน ในการศึกษาจะทำการรวบรวมและวิเคราะห์สัดส่วนร่างกายของพนักงาน วัดการลดลงของกำลังสถิตของกล้ามเนื้อจากการทำงาน รวบรวมและวิเคราะห์น้ำหนักชิ้นส่วนของร่างกาย คำนวณภาระทางชีวกลศาสตร์จำลองแบบท่านั่งทำงานและวัดคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ เพื่อทำการออกแบบทำการทำงานใหม่ที่เหมาะสม และศึกษาระดับภาวะไม่สบายที่เกิดขึ้นและการเปลี่ยนแปลงไปตลอดช่วงเวลาการทำงาน การศึกษาวิจัยกระทำในพนักงานเชื่อมโลหะจำนวน 4 คน ผลจากการวิจัยพบว่า การทำงานตลอดสัปดาห์ทำให้กำลังสถิตของกล้ามเนื้อ หลัง แขน ไหล่ และมือ ของพนักงานลดลงในช่วง 1.3 ถึง 18.8 เปอร์เซ็นต์ และสามารถกลับคืนสู่สภาพปกติได้เมื่อมีการพักงานในวันอาทิตย์ จากการจำลองแบบท่าการทำงานเพื่อวัดคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ พบว่า ค่าคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อที่วัดจากกล้ามเนื้อ deltoid, trapezius และ erector spinae ให้ค่าออกมาในช่วง 1-3 เปอร์เซ็นต์ของค่าคลื่นไฟฟ้าจากการหดตัวเต็มที่ของกล้ามเนื้อ (MVC) นอกจากในผู้ถูกทดสอบหมายเลข 2 ที่ให้ค่าคลื่นไฟฟ้าจากกล้ามเนื้อ deltoid (left) 18% MVC เนื่องจากมีท่าการทำงานแตกต่างจากคนอื่น จากการคำนวณภาระทางชีวกลศาสตร์พบว่าค่าแรงกดที่กระดูกสันหลัง lumbar ท่อนที่ 3 มีค่าระหว่าง 51 ถึง 72 กิโลกรัม เป็นเพราะท่าการทำงานที่มีการก้มโค้งตัวไปข้างหน้ามากเกินไป ทำให้โมเมนต์จากน้ำหนักตัวส่วนเหนือ lumbar เกิดขึ้นมาก ในการวิจัยได้ทำการออกแบบท่าการทำงานใหม่เพื่อลดค่าโมเมนต์และการทำงานของกล้ามเนื้อดังกล่าว และจากการศึกษาการเกิดขึ้นและการเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกไม่สบายพบว่า ระดับความไม่สบายเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาการทำงาน ผู้ถูกทดสอบแต่ละคนให้ค่าความรู้สึกต่อระดับความไม่สบายแตกต่างกัน แต่ความรู้สึกต่อการเพิ่มขึ้นของระดับไม่สบายใกล้เคียงกัน ยกเว้นในผู้ถูกทดสอบหมายเลขที่ให้ค่าระดับของความไม่สบายเพิ่มขึ้นมากเมื่อระยะเวลาการทำงานมากขึ้น
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this thesis were 1) to measure, collect and analyze the anthropometric data of the pipe welding workers, 2) to study working conditions and problems of the pipe welding workers who work under static load, 3) to study biomechanical load of the workers during work and design a new work station and appropriate sitting posture and 4) to study the discomfort of the workers from working in the existing work station and compare with the proposed design. Four subjects were used in this study. It was found that the deterioration of static strength of back, arm, shoulder and grips were in the range of 1.3 to 18.8% of MVC (Maximum Voluntary Contraction) for working 6 days a week and the subjects were fully recovered after a Sunday rest. From the simulation of sitting postures of the pipe welding workers, the electromyography of trapezius, deltoid and erector spinae muscle were in the range of 1 to 3% of MVC. For subject number 2, the electromyography of deltoid muscle reached 18% of MVC due to the different sitting posture. From the biomechanical analysis, it was found that the compressive force acting on lumbar 3 intervertebral disk were in the range of 51 to 72 kg. In this study, a new sitting posture for pipe welding was designed to reduce lumbar load. It was also found that the discomfort level increased throughout the working day. Though the discomfort levels of each subject were different, the increases in the feeling of discomfort were approximately the same.
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการออกแบบเชิงการยศาสตร์ของท่านั่งสำหรับการเชื่อมท่อen_US
dc.title.alternativeErgonomic design of sitting posture for pipe weldingen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nivit_ch_front.pdf4.24 MBAdobe PDFView/Open
Nivit_ch_ch1.pdf2.56 MBAdobe PDFView/Open
Nivit_ch_ch2.pdf10.61 MBAdobe PDFView/Open
Nivit_ch_ch3.pdf4.28 MBAdobe PDFView/Open
Nivit_ch_ch4.pdf5.78 MBAdobe PDFView/Open
Nivit_ch_ch5.pdf2.17 MBAdobe PDFView/Open
Nivit_ch_back.pdf58.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.