Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/341
Title: การศึกษาการพูดกับตนเองของเด็กวัยอนุบาลในกิจกรรมการเล่นเสรี
Other Titles: A study on preschool children's private speech in freeplay activities
Authors: ธนวรรณ วิศรุตานันท์, 2517-
Advisors: บุษบง ตันติวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Boosbong.T@chula.ac.th
Subjects: นักเรียนอนุบาล
การพูด
พัฒนาการของเด็ก
การศึกษาปฐมวัย
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาการพูดกับตนเองของเด็กอนุบาลในด้านแบบแผนคำพูดกับตนเอง ที่สัมพันธ์กับกระบวนการถ่ายทอดทางสังคม วัฒนธรรมที่สามารถยกระดับจิตสำนึกของเด็ก โดยใช้วิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการเป็นหลัก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ ตีความ เชื่อมโยงทฤษฎีและสร้างบทสรุปจากข้อมูล ด้วยวิธีอุปนัยที่พบในกรณีศึกษา 2 โรงเรียน คือศูนย์เด็กก่อนเกณฑ์อริยสัจจ์และโรงเรียนอนุบาลฟ้าใส ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. คำพูดกับตนเองที่พบในงานวิจัยมี 5 ประเภทจัดอยู่ในความคิด 3 ระดับ ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาจิตสำนึกของเด็กตามลำดับดังนี้ ความคิดระดับที่ 1. ความคิดเชิงสัญลักษณ์ แสดงให้เห็นจากคำพูดกับ ตนเองประเภทที่ (1) กำหนดความหมายให้วัตถุ (2) บรรยายการกระทำของตนเอง (3) วิเคราะห์ วางแผนเพื่อแก้ปัญหา ความคิดระดับที่ 2 ความคิดเชิงจินตนาการ แสดงให้เห็นจากคำพูดกับตนเอง ประเภทที่ (4) ช่วยให้จินตนาการกลายเป็นจริง ความคิดระดับที่ 3. ความคิดเชิงนามธรรม แสดงให้เห็นจากคำพูดกับตนเองประเภทที่ (5) กำกับความตระหนักในความรู้สึกและความคิดของตนเอง 2. พบแบบแผนคำพูดซึ่งประกอบด้วยคำพูดกับตนเองประเภทต่างๆ ที่สะท้อนให้ความคิดสามระดับของเด็กดังนี้ ในศูนย์เด็กก่อนเกณฑ์อริยสัจจ์พบ แบบแผน ก ซึ่งประกอบด้วยคำพูดประเภท 1 และ 2 แสดงให้เห็นการใช้ความคิดเชิงสัญลักษณ์ แบบแผน ข ซึ่งประกอบด้วยคำพูดประเภท 2 และ 4 แสดงให้เห็นการใช้ความคิดเชิงสัญลักษณ์ เชื่อมไปสู่ความคิดเชิงจินตนาการ แบบแผน ค ซึ่งประกอบด้วยคำพูดประเภท 5,5 และ 5 แสดงให้เห็นการใช้ความคิดเชิงนามธรรม ในการกำกับความตระหนักในความคิดและควมรู้สึกของตนเอง ไม่พบแบบแผนคำพูดที่ประกอบด้วยคำพูดกับตนเองประเภท 3 ในโรงเรียนอนุบาลฟ้าใสพบ แบบแผน ง ซึ่งประกอบด้วยคำพูดประเภท 2,2 และ 2 แสดงให้เห็นการใช้ความคิดเชิงสัญลักษณ์ ในการบรรยายการกระทำของตนเองในการเล่นเลียนแบบ แบบแผน จ ซึ่งประกอบด้วยคำพูดประเภท 2,2 และ 3 แสดงให้เห็นการใช้ความคิดเชิงสัญลักษณ์ ในการกำกับความคิดเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาที่ยาก แบบแผน ฉ ซึ่งประกอบด้วยคำพูดประเภท 3,3 และ 3 แสดงให้เห็นการใช้ความคิดเชิงสัญลักษณ์ ในการช่วยวิเคราะห์ วางแผนเพื่อแก้ปัญหาที่ยาก ไม่พบแบบแผนคำพูดที่ประกอบด้วยคำพูดกับตนเองประเภท 1,4 และ/หรือ 5 3 สิ่งแวดล้อมทางสังคมวัฒนธรรม ที่ช่วยยกระดับจิตสำนึกของเด็กมีดังต่อไปนี้ ศูนย์เด็กก่อนเกณฑ์อริยสัจจ์ เป็นชุมชนของผู้ปฏิบัติธรรมซึ่งใช้มรรค 8 เป็นหนทางในการดำเนินชีวิต มีสิ่งแวดล้อมทางสังคมวัฒนธรรมในด้านต่างๆ คือ ด้านการกระทำ ได้แก่ การกินอยู่อย่างไม่เบียดเบียน กตัญญู อยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูล ด้านจิตใจ ได้แก่ การกล่อมเกลาจิตใจไปในทางดีละอกุศล การรักษาจิตใจให้สงบตั้งมั่น การใช้สติในการดำเนินชีวติ ด้านปัญญา ได้แก่ การมองเหตุการณ์ตามความเป็นจริงในธรรมชาติ การตระหนักรู้เท่าทัน ความรู้สึกความคิดของตนเอง โรงเรียนอนุบาลฟ้าใสมีแบบแผนในการดำเนินชีวิตอย่างมั่นคง สุขสงบ มีสิ่งแวดล้อมทางสังคมวัฒนธรรมในด้านต่าง ๆ คือ ด้านการกระทำ ได้แก่ การปฏิบัติกิจวัตรต่าง ๆ อย่างมีระเบียบวินัยและมีความรับผิดชอง ด้านจิตใจ ได้แก่ ความมุ่งมั่นในทางบวก มีสติจดจ่อกบการทำกิจกรรมที่มีแบบแผนอย่างชัดเจน การกล่อมเกลาจิตใจให้อ่อนโยนด้วนสุนทรียศิลป์ 4. การถ่ายทอดสิ่งแวดล้อมทางสังคมวัฒนธรรมสู่จิตสำนึกของเด็กประกอบด้วยกระบวนการสองส่วนคือ 1) การที่เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบตัวด้วยการใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลาง ผู้ใหญ่ที่มีปฏิสัมพันธ์กันอย่างเกื้อกูล การได้ทำงานในชีวิตประจำวันร่วมกับครู และ 2) การที่เด็กได้ถ่ายทอดประสบการณ์ที่ได้รับจากการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมออกมาในการเล่น เพื่อนำประสบการณ์สู่กระบวนการการคิดทั้งสามระดับที่เกิดขึ้นภายในตัวเด็ก จนสามารถพัฒนาจิตสำนึกขึ้น
Other Abstract: To investigate preschool childten's patterns of private speech in relation to sociocultural transformation which could raise children's consciousness. the data cllection methods were prolonged engagement of participation observation, and informal individual and/or group interviews in two case study schools, namely, Fa Sai Kindergarten and Ariyasai Daycare. the analysis was done by inductive interpretation. The findings were as follows: 1. There were five types of private speech related to three levels of thought leading to children's consciousness; level 1: metaphoric-symbolic thought consisting of the types of private speech that (1) gave meanings to objects (2) described one's own actions (3) analyzed and planed problem solving; level 2: inner image thought demonstrated in the type of private speech that (4) made imagination become real; level 3 : abstract-image thought demonstrated in the type of private speech that (5) regulated awareness of one's own feeling and thought. 2. The patterns of private speech were combinations of different types of speech relating to the childten's different levels of thought. At Ariyasai Daycare, their three patterns were: pattern A consisting of private speech types 1 and 2 which reflected metaphoric-symbolic thought; pattern B consisting of private speech types 2 and 4 which reflected metaphoric-symbolic thought related to inner image thought; pattern C consisting of private speech types 5, 5 and 5 reflecting abstract image thought which regulated awareness of one's own feeling and thought. there was no pattern of private speech consisting of types 3. At Fa-sai kindergarten, their three patterns were; pattern D consisting of private speech type 2,2 and 2 which reflected metaphoric-symbolic thought that helped describe one's own actions; pattern E consisting of private speech types 2,2 and 3 reflecting metaphoric-symboric thought which regulated thought for more difficult problem solving; pattern F consisting of private speech type 3,3 and 3 which reflecting metaphoric-symbolic thought which was tool for problem solving analysis and plan. There was no pattern of private speech consisting of types 1,4 and/or 5. 3. Sociocultural enviroment which supported the children's elevation of consciousness was as follow: At Ariyasaj Daycare, the community followed the Buddhist Noble Eight-Fold Path as their ways of life, their school cultural life demonstrated the following aspects: action: living gratefully without exploitation of others, helping each other; mentality: cultivating positive mind keeping mind peaceful and clean, living in self-awareness; intuitive intelligence: insight into the natural truth, being conscious of one's own feeling and thought. At Fa Sai Kingdergarten, the school community lived in regular habits that made them feel secure and peaceful. Their cultural ways of life demonstrated the following aspects; action: living in discipline and responsibility in daily chores; mentality: strong positive will, concentration with precise pattern of activities, cultivating gentle and sensitive mind with aesthetic arts. 4. Socio-cultural transformation of consciousness of preschool children consisted of two processes which were 1) interpersonal functioning by living among teachers who considerately interacted with them and spending time doing daily chores together. 2)Intrapersonal functioning by playing that freely allowed interpersonal experiences to be transformed into inner process of the three levels of thought necessary for reaching higher consciousness.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษาปฐมวัย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/341
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.673
ISBN: 9741733801
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.673
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tanawan.pdf2.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.