Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34450
Title: กระบวนการทางกฎหมายในการแปรรูปกิจการของรัฐไปเป็นของเอกชน
Other Titles: Legal process of privatisation
Authors: อนวัช มาลาวาลย์
Advisors: นันทวัฒน์ บรมานันท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย
ผลประโยชน์สาธารณะ
พระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐพ.ศ.2535
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จากการศึกษาเห็นได้ว่า เนื่องจากความเจริญเติบโตก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและเศรษฐกิจและความมีประสิทธิภาพในการบริหารเชิงพาณิชย์โดยภาคเอกชน เป็นผลให้รัฐต้องปรับท่าทีนโยบายทางเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ เพื่อพัฒนาให้ทันโลกธุรกิจปัจจุบัน นโยบายการแปรรูปกิจการของรัฐไปเป็นของเอกชน จึงถูกนำมาใช้โดยหวังจะให้เป็นการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับกิจการของรัฐประเภทรัฐวิสาหกิจ และเพื่อให้สินค้าและบริการมีคุณภาพต่อประชาชนมากที่สุดตามหลักบริการสาธารณะและเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการของรัฐ โดยการระดมเงินทุนจากประชาชน ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องมีกฎหมายว่าด้วยการแปรรูปกิจการของรัฐไปเป็นของเอกชนเพื่อกำหนดบทบาทและหน้าที่ของผู้ที่จะทำหน้าที่ตามกระบวนการแปรรูปอย่างชัดเจน ในต่างประเทศมีกระบวนวิธีการทางกฎหมายในการแปรรูปกิจการต่างกันไป คือ 1. โดยกำหนดให้มีกฎหมายเฉพาะเรื่อง ซึ่งกำหนดบทบาท ภาระหน้าที่อย่างครบกระบวนการเรียกว่า กฎหมายการแปรรูปกิจการของรัฐไปเป็นของเอกชน 2. โดยวิธีแก้ไขกฎหมายจัดตั้งของแต่ละกิจการที่เป็นอยู่ สำหรับประเทศไทยนั้น แม้ว่าจะมีนโยบายในการแปรรูปกิจการมานานแล้ว โดยมีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ แต่กระบวนการทางกฎหมายซึ่งจะมารองรับการแปรรูปกิจการ ยังไม่ชัดเจน ยังไม่เหมาะสม คือ ไม่สามารถนำมาปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้ วิทยานิพนธ์นี้จึงได้มุ่งที่จะศึกษาวิจัยถึงกระบวนการทางกฎหมายในการแปรรูปกิจการของรัฐไปเป็นของเอกชนที่เกิดขึ้นในประเทศไทย และต่างประเทศ ซึ่งมีวิวัฒนาการมาก่อน เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องและเหมาะสมสำหรับประเทศไทย
Other Abstract: From the study, it shows that the growth of technology, economic and effigiency of commercial management of private sector trigger the state to change the existing economic policy in order to develop same to catch up with today’s business world, therefore the privatization process has been applied for by expecting that it should solve problems which occur to the State Enterprises and improve the quality of products and services to benefit people according to the principle of public service and allow people to partigipate in managing the State Enterprises by raising from the public. As for the above mentioned reasons, it necessary to have the privatization law in order to clearly determine roles and duties of persons acting according to the privatization process. In other countries, there are different procedures for privatization i.e. l. by specifying a specific law which determines full roles, responsibilities and duties way calling as the privatization law 2. By amending the existing law on the establishment of each enterprises. In Thailand, the privatization policy has developed for some times but the legal process to support the privatization is unclear and inappropriate i.e. the privatization cannot be applied in an efficiency way. Therefore, this thesis is aimed to research in the legal process of privatization in Thailand and other countries which has already been developed before in order to improve same to be suitable for Thailand.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34450
ISBN: 9746368516
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anawat_ma_front.pdf3.13 MBAdobe PDFView/Open
Anawat_ma_ch1.pdf14.92 MBAdobe PDFView/Open
Anawat_ma_ch2.pdf10.89 MBAdobe PDFView/Open
Anawat_ma_ch3.pdf18.92 MBAdobe PDFView/Open
Anawat_ma_ch4.pdf11.29 MBAdobe PDFView/Open
Anawat_ma_ch5.pdf2.18 MBAdobe PDFView/Open
Anawat_ma_back.pdf23.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.