Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34469
Title: การวิเคราะห์คุณค่าของรายการโทรทัศน์ "ท้าพิสูจน์"
Other Titles: The value analysis of the television program "Tha Phi Sud"
Authors: อนันต์ จันทร์วาววาม
Advisors: ปนัดดา ธนสถิตย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ท้าพิสูจน์ (รายการโทรทัศน์)
รายการโทรทัศน์ -- การวิเคราะห์คุณค่า
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงคุณค่าของรายการโทรทัศน์ที่ผลิตขึ้นในประเทศไทย โดยยกกรณีของรายการท้าพิสูจน์ที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 มาเป็นกรณีศึกษา ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2531-2534 จากการศึกษาวิจัยพบว่า 1. คุณค่าของรายการโทรทัศน์ “ท้าพิสูจน์” เกิดขึ้นได้จากหลายองค์กร อันได้แก่ สถานีโทรทัศน์, ฝ่ายขายเวลาโฆษณาและผู้ซื้อเวลาในการออกอากาศ, ฝ่ายผลิตรายการ ทั้งนี้คุณค่าที่เกิดขึ้นในแต่ละองค์กรก็มีความแตกต่างกันออกไป แต่โดยที่คุณค่าหลักของรายการยังคงอยู่ที่หน้าที่หรือประโยชน์ใช้สอยของรายการที่มีต่อองค์กรนั้นๆ ทั้งนี้หน้าที่นั้นๆ จะสร้างผลกำไรเชิงธุรกิจให้กับผู้ผลิตหน่วยต่างๆ 2. การวิเคราะห์คุณค่าของรายการโทรทัศน์ “ท้าพิสูจน์” ได้ทดลองนำทฤษฎีในวิชาวิศวกรรมคุณค่า (value engineering) มาประยุกต์ใช้ เพื่อวิเคราะห์คุณค่าของรายการโทรทัศน์ ซึ่งถือว่าเป็นสินค้าที่ต้องทำกำไรในเชิงธุรกิจให้กับผู้ผลิตเช่นเดียวกับสินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ 3. ผู้วิจัยพบว่าคุณค่าที่เกิดขึ้นกับผู้ผลิตรายการท้าพิสูจน์นั้น เกิดขึ้นเพราะผู้ผลิตในหน่วยต่างๆ ได้พยายามเพิ่มหน้าที่หรือประโยชน์ใช้สอย (function) ของรายการให้มากขึ้นตลอดเวลา โดยที่การเพิ่มหน้าที่หรือประโยชน์ใช้สอยดังกล่าวจะต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายให้สูงขึ้นในการผลิต ซึ่งแตกต่างจากทฤษฎีวิศวกรรมคุณค่าที่นำมาใช้ 4. ผู้วิจัยได้เสนอความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตหน่วยต่างๆ ออกมาในรูปของความสัมพันธ์ในเชิงคณิตศาสตร์ ทั้งนี้โดยไม่ได้สรุปออกมาในลักษณะตัวเลขแต่เสนอเพื่อเป็นแนวคิดในการวิเคราะห์คุณค่าของรายการโทรทัศน์ต่อไป
Other Abstract: The purpose of this research was to examine the value of television programs produced in Thailand, based on a case study of the program “Tha Phisud” which was broadcasted on the Army TV. Station Channel 7 from 1988 to 1990. Results were as follows : 1. The total value of the television program (Tha Phisud) was determined by the value incurred by several individual parties such as the TV. station, the marketing department, the time buyer, and the production department. The incurred value varied from one party to another. Nevertheless, the main value was still determined by function or the utility of the program, which was its ability to make profits for the parties involved in the production. 2. The researcher applied the value engineering theory in his value analysis of the TV. program which was supposed to make profits for its producers like other manufactures. 3. The researcher found that the total value of “Tha Phisud” was the outcome of several parties’ attempt to continuously increase the function or the utility of the program. Such an attempt, inconsistent with the value engineering theory, did result in a higher production cost. 4. The researcher presented the relationship among different parties in the form of mathematical formula. Though the numbers were omitted, the concept was presented in such a way that it can be used in further value analysis of the TV. program.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2535
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34469
ISBN: 9745816906
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anan_ja_front.pdf2.55 MBAdobe PDFView/Open
Anan_ja_ch1.pdf3.25 MBAdobe PDFView/Open
Anan_ja_ch2.pdf5.33 MBAdobe PDFView/Open
Anan_ja_ch3.pdf3.6 MBAdobe PDFView/Open
Anan_ja_ch4.pdf11.47 MBAdobe PDFView/Open
Anan_ja_ch5.pdf9.91 MBAdobe PDFView/Open
Anan_ja_ch6.pdf2.34 MBAdobe PDFView/Open
Anan_ja_back.pdf30.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.