Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34736
Title: | ผลกระทบของข้อตกลงรอบอุรุกวัยที่มีต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอไทย : ศึกษาเฉพาะกรณีการลดภาษีศุลกากรของประเทศไทย |
Other Titles: | The Impact of Uruguay Round on Thai textile industry : a case study of tariff reductions of Thailand |
Authors: | พิภพ ภู่เพ็ง |
Advisors: | นวลน้อย ตรีรัตน์ ชโยดม สรรพศรี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2539 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ มุ่งเน้นศึกษาถึงผลกระทบของการปฏิบัติตามข้อตกลงรอบอุรุกวัยในเรื่องการลดอัตราภาษีศุลกากรของประเทศไทย โดยจะศึกษาเฉพาะเจาะจงที่ผลกระทบที่จะมีต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอของประเทศไทย ในด้านต่างๆ เช่น การผลิต การจ้างงาน การลงทุน การนำเข้าและการส่งออก เป็นต้น นอกจากนั้น ยังศึกษาพื้นฐานทางโครงสร้างของอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยทั้งในด้านการผลิต การจ้างงานและการค้า ตลอดจนนโยบายและมาตรการของรัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้ทราบถึงลักษณะของสภาพและปัญหาในการพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่อไปในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการศึกษาพบว่า การลดการกีดกันทางการค้าก่อให้เกิดการลดลงของต้นทุนการผลิต ทำให้ระดับราคาภายในประเทศลดลง และทำให้การส่งออกเพิ่มสูงขึ้น ก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ สำหรับผลกระทบที่เกิดขึ้นต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอไทย พบว่า การลดอัตราภาษีศุลกากรลงทำให้อุตสาหรรมสิ่งทอไทยได้รับผลประโยชน์เพิ่มสูงขึ้นมากน้อยแตกต่างกันไปในแต่ละอุตสาหกรรม กล่าวคือ อุตสาหกรรมสิ่งทอในขั้นต้น ซึ่งได้แก่ อุตสาหกรรมปั่นด้าย เป็นอุตสาหกรรมที่พึ่งพาการนำเข้าปัจจัยการผลิตจากต่างประเทศสูง ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจึงมาจากการที่ต้นทุนการผลิตของอุตสาหกรรมลดลง ส่วนอุตสาหกรรมสิ่งทอในขั้นกลางและขั้นปลายก็จะได้รับประโยชน์นี้เช่นเดียวกัน อีกทั้งประกอบกับการที่อุปสงค์ของอุตสาหกรรมที่ขยายตัวขึ้นก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ช่วยเสริมให้อุตสาหกรรมสิ่งทอไทยขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การลดอัตราภาษีศุลกากรดังกล่าวก็มีแนวโน้มที่จะทำให้อุตสาหกรรมการผลิตสิ่งทอภายในประเทศต้องเผชิญกับการแข่งขันจากต่างประเทศ ดังนั้น หากอุตสาหกรรมการผลิตสิ่งทอภายในประเทศไม่สามารถพัฒนาประสิทธิภาพให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ ก็อาจจะเกิดผลเสียหายต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศได้ สำหรับผลกระทบที่มีต่ออุตสาหกรรมไทยโดยรวม พบว่าภาคอุตสาหกรรมที่มีส่วนเกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมอื่นมากในการสร้างทุนในระบบเศรษฐกิจ ได้แก่ อุตสาหกรรมในกลุ่มการผลิตอุปกรณ์และเครื่องจักร หรือภาคอุตสาหกรรมที่มีฐานของการนำเข้าสูง และมีอัตราภาษีศุลกากรสูง ซึ่งได้แก่ อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ และอุตสาหกรรมผลิตวัสดุสังเคราะห์ต่างๆ เป็นต้น เมื่อมีการลดภาษีศุลกากรลงจะมีผลให้อุตสาหกรรมที่มีลักษณะดังกล่าวขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นนี้จะมีผลเชื่อมโยงไปสู่การขยายตัวของระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยในระดับมหภาค ทำให้ประเทศไทยมีอัตราการขยายของเศรษฐกิจเพิ่มสูงขึ้น แม้ว่ารายได้ของรัฐบาลจากภาษีศุลกากรลดลงก็ตาม |
Other Abstract: | The objective of the study is to assess the impact of Uruguay Round agreement in case of tariff reduction of Thailand on Thai textile industry in various aspects, for example, production, employment, investment, export and import etc. Moreover, this study analyzes the structure of Thai textile industry, the related government policy and measurement concerned with background of Thai textile industry in order to be aware of the problems in developing Thai textile industry, and to solve such problems effectively. The study results indicate that the reduction in tariff would lower the cost of production and domestic price, increase the export volume, thus enhancing the country’s economic growth. As for the impact on Thai textile industry, it would reduce the production cost in the upstream industry which is spinning industry. This, in turns, would transfer the benefit to the downstream industry as well. Besides, the growth of textile industry comes from the expansion of other industries. However, the reduction in tariff would lead to fierce overseas competition. As a result, the efficiency improvement are the requirement to survive in this arena. As for the impact on Thai industry in general, the industries which will benefit from the tariff reductions are the capital-created industry such as machinery and equipment, and the import-oriented such as chemical and synthetic rasin etc. Moreover, these impacts would link to macroeconomic growth, causing the economic growth to grow, despite the reduction in tariff revenue of government. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2539 |
Degree Name: | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เศรษฐศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34736 |
ISBN: | 9746341936 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Phiphop_ph_front.pdf | 4.25 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Phiphop_ph_ch1.pdf | 7.17 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Phiphop_ph_ch2.pdf | 24.63 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Phiphop_ph_ch3.pdf | 8.69 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Phiphop_ph_ch4.pdf | 13.07 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Phiphop_ph_ch5.pdf | 3.95 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Phiphop_ph_back.pdf | 10.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.