Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34962
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการเชื่อมสัมพันธ์ มโนทัศน์วิทยาศาสตร์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เขตการศึกษา 6
Other Titles: The relationship between conpetence in science concept structure interrelatedness and science learning achievement of mathayom suksa three students,Educational Region six
Authors: อดิสัย ทุมวงษา
Advisors: จันทร์เพ็ญ เชื้อพานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: มโนภาพทางวิทยาศาสตร์
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการเชื่อมสัมพันธ์มโนทัศน์วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เขตการศึกษา 6 และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการเชื่อมสัมพันธ์มโนทัศน์วิทยาศาสตร์ กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เขตการศึกษา 6 ตัวอย่างประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2531 จำนวน 887 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอนจากโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 6 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ และแบบวัดความสามารถในการเชื่อมสัมพันธ์มโนทัศน์วิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติมัชฌิมเลขคณิต ค่าร้อยละ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เขตการศึกษา 6 ได้คะแนนความสามารถในการเชื่อมสัมพันธ์มโนทัศน์วิทยาศาสตร์โดยเฉลี่ยเท่ากับ 48.86 จากคะแนนเต็ม 56 คะแนน คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 87.25 2. ความสามารถในการเชื่อมสัมพันธ์มโนทัศน์วิทยาศาสตร์ มีความสัมพันธ์กันในทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์รวมพฤติกรรมทุกด้าน และมีความสัมพันธ์กันในทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ด้านความรู้ ความจำ ด้านความเข้าใจ ด้านกระบวนการสืบเสาะหาความรู้วิทยาศาสตร์ และด้านการนำความรู้และวิธีการวิทยาศาสตร์ไปใช้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Other Abstract: The purposes of this study were to investigate the competence in science concept structure interrelatedness of Mathayom Suksa three students in educational region six and to investigate the relationship between competence in science concept structure interrelatedness and science learning achievement of Mathayom Suksa three students in educational region six. The sample were 887 Mathayom Suksa three students in the academic year of 1988 which were multistage-random sampled from secondary schools under the auspices of the department of general educational in educational region six. The instruments were the science learning achievement test and the competence in science concept structure interrelatedness test. The obtained data were analyzed by arithmetic mean, percentage, and Pearson’s product moment correlation. The findings were concluded as follows: 1. Out of 56 total scores, the Mathayom Suksa three students in educational region six could make 48.86 scores on competence in science concept structure interrelatedness. It was 87.25 percent by average. 2. There was positive relationship between competence in science concept structure interrelatedness and science learning achievement, and there were positive relationships between competence in science concept structure interrelatedness and the four aspects of science learning achievement; knowledge and recognition, comprehension, processes of science inquiry, and application of scientific knowledge and methods at the .01 level of significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34962
ISBN: 9745696064
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Adisai_to_front.pdf4.33 MBAdobe PDFView/Open
Adisai_to_ch1.pdf3.9 MBAdobe PDFView/Open
Adisai_to_ch2.pdf27.78 MBAdobe PDFView/Open
Adisai_to_ch3.pdf4.97 MBAdobe PDFView/Open
Adisai_to_ch4.pdf1.28 MBAdobe PDFView/Open
Adisai_to_ch5.pdf3.86 MBAdobe PDFView/Open
Adisai_to_back.pdf16.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.